สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2565

ดาวเคราะห์ในปี 2565

25 ธันวาคม 2564 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ส่วนดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์

 (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2565 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี

ดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์วงใน อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดในระบบสุริยะ ด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด คนบนโลกจึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาที่ท้องฟ้าไม่มืดสนิท ประเทศไทยเห็นดาวพุธได้เฉพาะในเวลาหัวค่ำหรือเช้ามืดเท่านั้น

ปี 2565 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ช่วง ช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์อีก ดวง ได้แก่ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ บนท้องฟ้าทิศตะวันออก ช่วงที่ อยู่ในเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่ดาวเคราะห์ทุกดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน อยู่บนท้องฟ้าให้สังเกตได้พร้อมกัน ช่วงสุดท้ายอยู่ในครึ่งแรกของเดือนตุลาคม

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำของปีนี้มี ช่วง ช่วงแรกอยู่ในครึ่งแรกของเดือนมกราคม โดยมีดาวเสาร์อยู่เหนือดาวพุธ และดาวพฤหัสบดีอยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ช่วงที่ อยู่ในกลางเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ดาวพุธผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่ ช่วงที่ อยู่ในเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน และช่วงสุดท้ายอยู่ในเดือนธันวาคม โดยมีดาวศุกร์ผ่านมาอยู่ใกล้ดาวพุธ

ดาวศุกร์


วันแรก ๆ ของปี 2565 ดาวศุกร์ยังอยู่ใกล้ขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ อาจมีโอกาสสังเกตได้หากไม่มีเมฆหมอกมาบดบังและขอบฟ้าด้านนี้เปิดโล่ง โดยมีดาวพุธอยู่สูงขึ้นไปทางซ้าย หลังจากนั้นดาวศุกร์เข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้ วันที่ มกราคม ดาวศุกร์ผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงใน เป็นช่วงที่ดาวศุกร์อยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์

กลางเดือนมกราคม ดาวศุกร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าด้านทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดบริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู โดยมีตำแหน่งค่อนไปทางด้านทิศเหนือของกลุ่มดาว ดาวศุกร์จะทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนห่างที่สุดในวันที่ 20 มีนาคม ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม จะเห็นดาวอังคารอยู่ทางขวามือของดาวศุกร์ ดาวเคราะห์สองดวงนี้อยู่ใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ 16 มีนาคม ที่ระยะห่าง 4° ขณะอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ เกาะกลุ่มอยู่ใกล้กัน หลังจากนั้นดาวศุกร์เคลื่อนห่างออกไปและเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

ปลายเดือนเมษายน ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวปลา ผ่านใกล้ดาวเนปจูนในเช้ามืดวันที่ 28 เมษายน ที่ระยะห่างเพียง 0.1° ช่วงที่ใกล้กันที่สุดเกิดขึ้นเวลา น. ซึ่งดาวศุกร์ยังไม่ขึ้นสำหรับประเทศไทย เวลานั้นดาวศุกร์เกือบจะบังดาวเนปจูนโดยอยู่ห่างกัน 0.4 ลิปดา สังเกตได้จากออสเตรเลียและเกาะทางด้านตะวันออกของอินโดนีเซีย แต่คาดว่าสังเกตได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากความสว่างที่ต่างกันมากระหว่างดาวศุกร์กับดาวเนปจูน เช้ามืดวันที่ พฤษภาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีที่ระยะห่างเพียง 0.3°

ต้นเดือนมิถุนายน ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวแกะ ผ่านใกล้ดาวยูเรนัสในเช้ามืดวันที่ 12 มิถุนายน ที่ระยะ 1.5° กลางเดือนดาวศุกร์ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาววัว มองเห็นดาวพุธอยู่ต่ำลงไปใกล้ขอบฟ้า วันที่ 23 มิถุนายน จะเห็นกระจุกดาวลูกไก่อยู่ทางซ้ายมือของดาวศุกร์ที่ระยะ 6° จากนั้นวันที่ 26 มิถุนายน จันทร์เสี้ยวบาง ๆ ผ่านมาอยู่ใกล้วัตถุทั้งสอง

กลางเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ กลางเดือนสิงหาคมย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวปู เช้ามืดวันที่ 18 สิงหาคม ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์ในกระจุกดาวรังผึ้ง ปลายเดือนดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในวันที่ กันยายน หลังจากนี้เริ่มสังเกตได้ยากขึ้นเนื่องจากเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอกในวันที่ 23 ตุลาคม

ต้นเดือนธันวาคม ดาวศุกร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำพร้อมกับดาวพุธ ช่วงแรกมีตำแหน่งอยู่ต่ำกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นทุกวัน อยู่ทางซ้ายมือของดาวพุธในช่วงใกล้สิ้นปี แต่ยังคงอยู่ไม่สูงจากขอบฟ้ามากนัก

ภาพวาดแสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ดาวอังคาร


ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลก ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ที่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเฉลี่ยทุกประมาณ ปีเศษ วงโคจรของดาวอังคารที่เป็นวงรี ทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง หากวันที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับวันที่ผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะมีขนาดใหญ่และสว่างมากเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่ดาวอังคารที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ มีเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ดาวอังคารจะใกล้โลกจนใหญ่พอสำหรับการสังเกตรายละเอียดบนพื้นผิว

พ.ศ. 2565 ดาวอังคารจะผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในต้นเดือนธันวาคม ทำให้มีความสว่างมากพอสมควร และมีขนาดใหญ่ให้พอจะสังเกตพื้นผิวได้เมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลอดช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงมกราคม 2566

ช่วงแรกของปี ดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าให้สังเกตได้ในเวลาเช้ามืด โดยเช้าวันปีใหม่สามารถมองเห็นจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้ดาวอังคารที่ระยะ 3° ดาวอังคารจะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนสิงหาคม และอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในเดือนธันวาคม 2565

ช่วงแรกดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู วันที่ 20 มกราคม ดาวอังคารย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนูตามการแบ่งขอบเขตของกลุ่มดาวสากล และเข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเลในวันที่ มีนาคม ขณะที่ดาวศุกร์ผ่านมาอยู่ใกล้กันที่ระยะไม่ห่างกันมากนัก
เช้ามืดวันที่ เมษายน จะเห็นดาวอังคารผ่านใกล้ดาวเสาร์ที่ระยะห่าง 18 ลิปดา หรือ 0.3° เป็นระยะเทียบได้กับราวครึ่งหนึ่งของขนาดปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวง และเป็นการปรากฏใกล้กันที่สุดระหว่างดาวเคราะห์สองดวงนี้นับตั้งแต่วันที่ มิถุนายน พ.ศ. 2521 ครั้งนั้นอยู่ใกล้กันเพียง ลิปดา

กลางเดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ดาวอังคารผ่านพื้นที่ของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ก่อนท้องฟ้าสว่างในเช้ามืดวันที่ 18-19 พฤษภาคม ดาวอังคารจะอยู่ใกล้ดาวเนปจูนที่ระยะห่าง 0.6°-0.7° สังเกตได้ดีในกล้องโทรทรรศน์ โดยดาวเนปจูนอยู่ทางทิศเหนือของดาวอังคาร หลังจากนั้น ดาวอังคารจะเข้าสู่กลุ่มดาวปลา ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในปลายเดือนพฤษภาคมโดยอยู่ใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ 29 และ 30 พฤษภาคม ที่ระยะ 0.7°

ต้นเดือนมิถุนายน ดาวอังคารผ่านเข้าไปในเขตของกลุ่มดาวซีตัส ก่อนจะผ่านกลุ่มดาวปลา และเข้าสู่กลุ่มดาวแกะในต้นเดือนกรกฎาคม เช้ามืดวันที่ สิงหาคม ดาวอังคารผ่านดาวยูเรนัสที่ระยะใกล้ที่สุดเป็นระยะทางเชิงมุม 1.3° โดยดาวยูเรนัสอยู่ทางทิศเหนือของดาวอังคาร สังเกตได้ดีด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์

วันที่ 10 สิงหาคม ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาววัว เริ่มเคลื่อนช้าลงในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น และหยุดนิ่งในปลายเดือนตุลาคม ก่อนจะเริ่มเคลื่อนที่ถอยหลัง เป็นสัญญาณบอกว่าดาวอังคารกำลังจะผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า การเคลื่อนที่ถอยหลังของดาวเคราะห์วงนอกอย่างเช่นกรณีนี้เกิดจากโลกซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า เคลื่อนที่เร็วกว่า และกำลังจะแซงไปข้างหน้า ทำให้ดาวเคราะห์วงนอกปรากฏถอยหลังเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์

ดาวอังคารผ่านจุดใกล้โลกที่สุดในวันที่ ธันวาคม และผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ ธันวาคม 2565 เป็นช่วงที่ดาวอังคารสว่างที่สุด ดาวอังคารจะมีโชติมาตร -1.9 ส่องสว่างเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มดาววัว สีส้มอมชมพูของดาวอังคารใกล้เคียงกับสีของดาวอัลเดบารัน

วันที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ตรงกับวันเพ็ญพอดี จึงเห็นดวงจันทร์เต็มดวงอยู่ใกล้ดาวอังคารที่ระยะประมาณ ° หลังจากผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ความสว่างของดาวอังคารจะค่อย ๆ ลดลง ตามระยะห่างที่ไกลขึ้น แต่ยังคงเห็นเป็นดาวสว่างเด่นดวงหนึ่งบนท้องฟ้าต่อไปถึงต้นปี 2566

ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งมักไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ดาวพฤหัสบดี


เดือนมกราคม 2565 ดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ สามารถสังเกตดาวพฤหัสบดีในเวลานี้ได้จนถึงราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นดาวพฤหัสบดีจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้ ดาวพฤหัสบดีอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ มีนาคม ราวต้นเดือนเมษายน ดาวพฤหัสบดีจะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้เริ่มสังเกตได้ในเวลาเช้ามืด โดยอยู่ทางทิศตะวันออกบริเวณเส้นคั่นระหว่างกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำกับกลุ่มดาวปลา

เช้ามืดวันพุธที่ 13 เมษายน ดาวพฤหัสบดีผ่านใกล้ดาวเนปจูนที่ระยะห่าง ลิปดา หรือ 0.1° โดยดาวเนปจูนอยู่ทางทิศใต้ของดาวพฤหัสบดี (ประเทศไทยไม่สามารถสังเกตในช่วงที่ใกล้กันที่สุดที่ระยะ ลิปดา เนื่องจากดาวพฤหัสบดียังไม่ขึ้นเหนือขอบฟ้า) แต่การสังเกตต้องใช้กล้องโทรทรรศน์และอาจมีอุปสรรคจากการที่ดาวเคราะห์ทั้งสองมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ 29° ทำให้ยังอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าในเวลาที่ท้องฟ้าเริ่มสว่าง

ดาวเคราะห์ทั้งสองผ่านใกล้กันโดยเฉลี่ยทุก 12-13 ปี แต่ละครั้งมีระยะห่างไม่เท่ากัน ครั้งล่าสุดที่ใกล้กันที่ระยะต่ำกว่า 10 ลิปดา เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1932 ห่างกัน ลิปดา และหลังจากปีนี้ ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2098 ห่างกัน ลิปดา

การเข้าใกล้กันระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดาวเนปจูนเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ เมื่อนักดาราศาสตร์พบว่าบันทึกของกาลิเลโอ กาลิเลอี แสดงให้เห็นว่าเขาสังเกตเห็นดาวเนปจูนขณะอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี ก่อนการค้นพบดาวเนปจูนอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1846

เช้ามืดวันที่ พฤษภาคม ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้กันที่ระยะห่างเพียง 0.2° วันที่ 29-30 พฤษภาคม ดาวอังคารผ่านมาใกล้ดาวพฤหัสบดีที่ระยะ 0.7° ปลายเดือนมิถุนายน ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° โดยอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาเช้ามืด พร้อมกับขยับเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของกลุ่มดาวซีตัส

ปลายเดือนกรกฎาคม ดาวพฤหัสบดีเริ่มหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ถอยหลังในมุมมองจากโลก ต้นเดือนกันยายน ดาวพฤหัสบดีถอยกลับมาอยู่ในกลุ่มดาวปลา วันที่ 27 กันยายน 2565 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร –2.9 เป็นช่วงที่สามารถสังเกตได้ตลอดทั้งคืน ปลายเดือนพฤศจิกายน ดาวพฤหัสบดีเริ่มหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่เดินหน้าในมุมมองจากโลก ปลายเดือนธันวาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° โดยห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาหัวค่ำ

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีแบ่งได้เป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้ 

วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2565
ดาวเคราะห์ วันที่ โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวเสาร์ 15 สิงหาคม+0.3
ดาวเนปจูน 17 กันยายน+7.8
ดาวพฤหัสบดี 27 กันยายน-2.9
ดาวยูเรนัส พฤศจิกายน+5.6
ดาวอังคาร ธันวาคม-1.9


ดาวเสาร์


ตลอดปี 2565 ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล เดือนมกราคมปรากฏอยู่บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตก ปลายเดือนเริ่มเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนสังเกตได้ยาก ดาวเสาร์ผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ กุมภาพันธ์ ปลายเดือนดาวเสาร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ผ่านใกล้ดาวพุธในวันที่ มีนาคม โดยอยู่สูงจากขอบฟ้าไม่มากนัก

ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน เป็นช่วงที่ดาวอังคาร ดาวศุกร์ และดาวเสาร์ เกาะกลุ่มอยู่ใกล้กัน โดยดาวเสาร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ในวันที่ 29 มีนาคม ที่ระยะ 2.1° และอยู่ใกล้ดาวอังคารในวันที่ เมษายน ที่ระยะ 0.3° กลางเดือนพฤษภาคม ดาวเสาร์ทำมุม 90° โดยอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาฟ้าสาง

วันที่ 15 สิงหาคม 2565 ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร +0.3 กลางเดือนพฤศจิกายน ดาวเสาร์ทำมุมตั้งฉากโดยห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาพลบค่ำ จากนี้ไปจนถึงสิ้นปี เรายังคงสังเกตดาวเสาร์ในเวลาหัวค่ำได้ทุกวัน

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวง (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ดาวยูเรนัส


ตลอดปีนี้ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวแกะ สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตลอดช่วง เดือนแรกของปี ดาวยูเรนัสห่างดวงอาทิตย์เป็นมุม 90° ในปลายเดือนมกราคม เมื่อถึงต้นเดือนเมษายน ดาวยูเรนัสเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนเริ่มสังเกตได้ยาก โดยอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ พฤษภาคม

ต้นเดือนมิถุนายน ดาวยูเรนัสเริ่มมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ดาวศุกร์ผ่านมาอยู่ใกล้ในวันที่ 12 มิถุนายน ที่ระยะ 1.5° และดาวอังคารมาอยู่ใกล้ในวันที่ สิงหาคม ที่ระยะ 1.3° ดาวยูเรนัสมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจนกระทั่งตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนสิงหาคม และอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ พฤศจิกายน 2565 สว่างที่โชติมาตร +5.6 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.8 พิลิปดา

ดาวเนปจูน


ดาวเนปจูนยังคงอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ใกล้กับแนวเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำกับกลุ่มดาวปลา ดาวเนปจูนมีความสว่างน้อย จึงจำเป็นต้องสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ เดือนมกราคม 2565 ดาวเนปจูนอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนเริ่มสังเกตได้ยาก

หลังจากดาวเนปจูนอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 13 มีนาคม จะเริ่มสังเกตได้อีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในราวต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนมาอยู่ใกล้ ดาวเคราะห์ทั้งสองอยู่ใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ 13 เมษายน ที่ระยะห่างเพียง 0.1° สังเกตได้ในช่วงก่อนท้องฟ้าสว่าง ซึ่งทั้งคู่อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าที่มุมเงยประมาณ 10°

เช้ามืดวันที่ 28 เมษายน ดาวศุกร์มาอยู่ใกล้ดาวเนปจูนที่ระยะ 0.1° แต่อาจสังเกตได้ยากเนื่องจากความความสว่างที่ต่างกันมาก ความจริงดาวเคราะห์ทั้งสองเข้าใกล้กันที่สุดในเวลาประมาณ น. ที่ระยะห่างเพียง 0.4 ลิปดา เกือบจะบังกัน แต่ช่วงที่ใกล้กันที่สุดไม่สามารถสังเกตได้จากประเทศไทย เนื่องจากดาวศุกร์และดาวเนปจูนยังไม่ขึ้นเหนือขอบฟ้า

ดาวเนปจูนมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจนตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนมิถุนายน โดยช่วงเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนสิงหาคม ดาวเนปจูนจะเข้าไปอยู่พื้นที่ของกลุ่มดาวปลา ดาวเนปจูนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 17 กันยายน 2565 ขณะอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ โดยสว่างที่โชติมาตร +7.8 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.4 พิลิปดา หลังจากนั้นเริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ 90° ในกลางเดือนธันวาคม

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยมีเส้นบอกตำแหน่งทุกวันแรกของเดือน (1 มกราคม 2565, กุมภาพันธ์ 2565, ..., 13 มกราคม 2566, 14 กุมภาพันธ์ 2566) ขนาดของดาวในภาพสอดคล้องกับความสว่าง ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่สำหรับดาวเนปจูนมีโชติมาตร (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)