สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์เรียงลำดับใน พ.ศ. 2565

ดาวเคราะห์เรียงลำดับใน พ.ศ. 2565

18 มิถุนายน 2565 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ช่วงเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น นับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ดาวเคราะห์ทุกดวงปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ไม่เพียงแค่นั้น ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวง จะเรียงลำดับกันตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ โดยดาวพุธอยู่ใกล้ขอบฟ้ามากที่สุด ถัดไปเป็นดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ หากท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีเมฆบดบัง สามารถสังเกตเห็นดาวเคราะห์ทั้งห้าด้วยตาเปล่าได้ในเวลาเดียวกัน

19 มิถุนายน 2565 เวลา 05:00 น. (จาก Stellarium)

ปรากฏการณ์ที่ดาวเคราะห์ ดวงนี้ เรียงกันตามลำดับในรูปแบบที่กล่าวมา ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ผู้เขียนได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ค้นหาช่วงวันที่ดาวเคราะห์สว่างทั้งห้าเรียงลำดับกันบนท้องฟ้าทั้งในอดีตและอนาคต โดยคำนวณตำแหน่งดาวเคราะห์ทุก วัน กำหนดเงื่อนไขให้ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่า 10°  ระหว่าง ค.ศ. 1801-2200 และตรวจสอบอีกครั้งด้วยโปรแกรม Stellarium พบปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันตามตารางดังต่อไปนี้

วันที่ดาวเคราะห์สว่าง ดวง เรียงลำดับกันบนท้องฟ้า ระหว่าง ค.ศ. 1801-2200
ช่วงวันเวลา
มีนาคม 1801 (พ.ศ. 2343-2344)หัวค่ำ
ปลายตุลาคม-กลางพฤศจิกายน 1823 (พ.ศ. 2366)เช้ามืด
กลางตุลาคม 1825 (พ.ศ. 2368)เช้ามืด
ต้น-กลางกรกฎาคม 1839 (พ.ศ. 2382)
หัวค่ำ
ต้นกุมภาพันธ์-ปลายมีนาคม 1864 (พ.ศ. 2406)
เช้ามืด
ปลายกรกฎาคม-ปลายสิงหาคม 1881 (พ.ศ. 2424)
เช้ามืด
กลางกันยายน-ต้นตุลาคม 1901 (พ.ศ. 2444)
หัวค่ำ
ปลายพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม 1921 (พ.ศ. 2464)
เช้ามืด
ปลายเมษายน-ปลายพฤษภาคม 1926 (พ.ศ. 2469)
เช้ามืด
กลางพฤศจิกายน 1939 (พ.ศ. 2482)
หัวค่ำ
กลาง-ปลายสิงหาคม 1966 (พ.ศ. 2509)
เช้ามืด
กลาง-ปลายธันวาคม 2004 (พ.ศ. 2547)
เช้ามืด
ต้นมิถุนายน-ต้นกรกฎาคม 2022 (พ.ศ. 2565)
เช้ามืด
ปลายมีนาคม-ต้นเมษายน 2041 (พ.ศ. 2584)
เช้ามืด
ปลายตุลาคม-ปลายพฤศจิกายน 2060 (พ.ศ. 2603)
เช้ามืด
ปลายเมษายน-ต้นพฤษภาคม 2100 (พ.ศ. 2643)
หัวค่ำ
กลางมกราคม 2123 (พ.ศ. 2666)
เช้ามืด
ต้นสิงหาคม 2136 (พ.ศ. 2679)
หัวค่ำ
ต้นกันยายน 2138 (พ.ศ. 2681)
หัวค่ำ
ปลายกุมภาพันธ์-ต้นมีนาคม 2161 (พ.ศ. 2704)
เช้ามืด
กลางเมษายน 2163 (พ.ศ. 2706)
เช้ามืด
ปลายพฤษภาคม 2163 (พ.ศ. 2706)
เช้ามืด
พฤศจิกายน 2176 (พ.ศ. 2719)
หัวค่ำ
กลางกรกฎาคม 2199 (พ.ศ. 2742)
เช้ามืด


ผลการคำนวณแสดงว่าปรากฏการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเวลาหัวค่ำและเช้ามืด มีความหลากหลายของช่วงเวลา บางช่วงมีวันที่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ได้เพียงไม่กี่วัน บางช่วงสามารถมองเห็นได้หลายวันต่อเนื่องกัน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดาวพุธและดาวศุกร์ซึ่งเคลื่อนที่เร็วที่สุด บางกรณีเกี่ยวพันกับตำแหน่งของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีที่ผ่านใกล้กันในช่วงนั้น ทำให้สลับลำดับกัน บางช่วงพบว่ามีปรากฏการณ์อื่นที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทยเกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นด้วย เช่น ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ (18 มีนาคม ค.ศ. 1801) และดวงจันทร์บังกระจุกดาวลูกไก่ (19 มีนาคม ค.ศ. 1801)

เรามีโอกาสเห็นดาวเคราะห์สว่าง ดวง เรียงลำดับกันในเวลาหัวค่ำครั้งสุดท้ายเมื่อ ค.ศ. 1939 และจะไม่ได้เห็นในเวลานี้อีกจนถึง ค.ศ. 2100

นอกจากดาวเคราะห์แล้ว เวลาเช้ามืดระหว่างวันที่ 19-27 มิถุนายน 2565 ก็จะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนผ่านมาอยู่ใกล้ดาวเคราะห์ทุกดวงอีกด้วย โดยเริ่มจากดาวเสาร์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุด ไปจนถึงดาวพุธที่อยู่ทางทิศตะวันออก

หลังจากปีนี้ เราจะมีโอกาสเห็นดาวเคราะห์สว่าง ดวงอยู่บนท้องฟ้าในเวลาเดียวกัน และเรียงลำดับกันบนท้องฟ้าตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ได้อีกครั้งใน พ.ศ. 2584