สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางลีเนียร์ เอ 2 (C/2001 LINEAR A2)

ดาวหางลีเนียร์ เอ 2 (C/2001 LINEAR A2)

18 กรกฎาคม 2544
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 29 กันยายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ท่ามกลางข่าวคราวของดาวอังคารที่ดูเหมือนจะเป็นพระเอก ส่องแสงสุกสว่างใกล้โลกอยู่ในขณะนี้ มีดาวหางดวงหนึ่งที่กำลังสว่างจนพอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าตั้งแต่ก่อนเที่ยงคืน ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า "ลีเนียร์" เช่นเดียวกับดาวหางดวงอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก ความพิเศษของดาวหางดวงนี้อยู่ตรงที่ ดาวหางลีเนียร์ไม่ควรจะสว่างถึงกับมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หัวดาวหางได้แตกออกเป็น ชิ้นส่วนใหญ่ ๆ ทำให้มีความสว่างเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่คาดคิด

63351e6949618641697291
แผนที่ตำแหน่งดาวหาง 20 มิ.ย.- 18 ก.ค. (PDF)
 


ความเคลื่อนไหวล่าสุด

รายงานความสว่างของดาวหางล่าสุดชี้ว่า ลีเนียร์สว่างเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และสามารถมองเห็นได้ไม่ยากด้วยกล้องสองตา หากดูจากสถานที่ที่ห่างจากเมืองใหญ่และไม่มีเมฆมาบัง โดยเฉพาะในขณะนี้ที่แสงจากดวงจันทร์ไม่รบกวน ดาวหางปรากฏอยู่ระหว่างกลุ่มดาวม้าบินกับกลุ่มดาวหงส์ กล้องสองตาอาจช่วยให้เห็นหางที่สว่างสลัว ๆ ได้ แต่ค่อนข้างยากเนื่องจากลีเนียร์มีหางที่ไม่สว่างเท่าใดนัก ในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม ดาวหางจะมีความสว่างลดลง ขึ้นเหนือขอบฟ้าเร็วกว่าเดือนก่อนมาก โดยจะสามารถดูดาวหางลีเนียร์ได้ตั้งแต่เที่ยงคืนเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวหางอยู่สูงบนท้องฟ้า โดยให้เทียบตำแหน่งกับแผนที่ดาวข้างล่าง หากมีแผนที่ฟ้าแบบหมุนจะช่วยได้มากครับ

แผนที่ตำแหน่งดาวหาง 19 ก.ค.- ส.ค. 
แผนที่ตำแหน่งดาวหาง 19 ก.ค.- ส.ค. (PDF) 

ภาพถ่ายดาวหางลีเนียร์เมื่อ 16 พ.ค. 2544 มองเห็นนิวเคลียสแตกออกเป็น ชิ้น (ภาพจาก ESO)
 


ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อ ลีเนียร์ (C/2001 A2 LINEAR)
ค้นพบโดยโครงการลีเนียร์ LINEAR (Lincoln Near Earth Asteroid Research) ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการค้นหาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก
ค้นพบเมื่อ มกราคม 2544
วงโคจร ดาวหางลีเนียร์เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 ด้วยระยะห่าง 0.779 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 116.5 ล้านกิโลเมตร เข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 ด้วยระยะห่าง 0.244 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 36.5 ล้านกิโลเมตร

ความสว่างที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ

เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2544 ดาวหางลีเนียร์มีความสว่างเพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งต่อมาค้นพบว่าดาวหางลีเนียร์ได้แตกออกเป็นชิ้นส่วนใหญ่ ๆ ชิ้น ซึ่งน่าจะเป็นต้นเหตุของความสว่างที่เพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดภาพจากกล้องโทรทรรศน์วีแอลที ขนาด 8.2 เมตร ของหอสังเกตการณ์ยุโรปใต้ (European Southern Observatory) พบว่าขณะนี้มีชิ้นส่วนแตกออกเป็น ชิ้น เว็บไซต์ของนิตยสาร Sky Telescope รายงานว่าเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ไมค์ เบกบี จากเมืองฮาแร ประเทศซิมบับเว มองเห็นดาวหางลีเนียร์มีอันดับความสว่าง 5.4 และมองเห็นหางยาว 1.2 องศา ด้วยกล้องสองตาขนาด 7×50

ความสว่างของดาวหาง



กราฟแสดงอันดับความสว่างของดาวหางลีเนียร์ 2001 เอ ตั้งแต่มีการค้นพบ และแนวโน้มความสว่างในอนาคต จะเห็นว่าดาวหางมีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในกลางเดือนมิถุนายน แต่ขณะนี้ความสว่างลดลงค่อนข้างเร็ว คาดว่าจะสว่างกว่าโชติมาตร 5.5 คือ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต่อไปถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2544 (กราฟโดย เซอิชิ โยชิดะ)

ที่มา

 C/2001 A2 (LINEAR) Seiichi Yoshida
Third Nucleus Observed with the VLT - European Southern Observatory