สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ 3 (73P/Schwassmann-Wachmann 3)

ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ 3 (73P/Schwassmann-Wachmann 3)

4 พฤษภาคม 2549
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 17 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)

ดังที่ได้เกริ่นไว้ใน "วารสารทางช้างเผือกฉบับคู่มือดูดาว 2549 (ธันวาคม 2548) ว่าปีนี้จะมีดาวหางดวงหนึ่งที่มีโอกาสสังเกตเห็นได้ด้วยกล้องสองตาในช่วงเดือนพฤษภาคม นั่นคือ ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ (73P/Schwassmann-Wachmann 3) แต่ต้องขอเตือนไว้ในเบื้องต้นว่าอย่าเพิ่งตื่นเต้นจนเกินไปเพราะดาวหางดวงนี้สังเกตเห็นได้ยากหรือแทบไม่มีโอกาสเห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถส่องดูได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์เมื่อทราบตำแหน่งที่อยู่ที่แน่นอน ว่าไปแล้วจะเรียกมันว่าเป็นดาวหางดวงหนึ่งก็คงจะไม่ค่อยถนัดปาก เพราะมันได้แตกออกเป็นหลายชิ้นส่วนตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ปัจจุบันมีชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่พบแล้วไม่น้อยกว่า 59 ชิ้น และอาจค้นพบมากกว่านี้ในช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้โลกมากที่สุดในกลางเดือนพฤษภาคม

ดาวหางคืออะไร?

ดาวหางเป็นวัตถุขนาดเล็กที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ดาวหางมี "นิวเคลียส" หรือใจกลางที่มีขนาดราว 1-10 กิโลเมตรเท่านั้น มักเรียกดาวหางกันว่าเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" เนื่องจากดาวหางมีองค์ประกอบของน้ำแข็ง ฝุ่น และหิน ดาวหางมีปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อยขณะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ แต่เมื่อมันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น รังสีจากดวงอาทิตย์ทำให้ดาวหางอุ่นขึ้น น้ำแข็งที่ปกคลุมดาวหางจะระเหิดนำพาฝุ่น แก๊ส และโมเลกุลต่าง ๆ พุ่งออกมาโดยรอบ เกิดเป็นหัวดาวหางหรือโคม่า (coma) ห่อหุ้มรอบนิวเคลียสไว้ นอกจากนี้แรงดันและกระแสอนุภาคมีประจุไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ เป็นตัวผลักดันให้แก๊สและฝุ่นพุ่งทอดยาวออกไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เกิดเป็นหางของดาวหาง

ภาพถ่ายชิ้นส่วน (ซ้ายบน) และ (ขวาบน) ของดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2549 แสดงให้เห็นว่าทั้งสองชิ้นมีการแตกตัวออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ จำนวนมาก ภาพล่างเป็นภาพถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกเมื่อวันที่ เม.ย. เห็นชิ้นส่วน B, G, และ เรียงตัวกันเป็นเส้นตรงโดยมีดาวฤกษ์เป็นฉากหลัง
 


ในอดีตจนถึงเมื่อไม่กี่สิบปีก่อน ผู้คนค่อนข้างหวาดกลัวการปรากฏตัวของดาวหางกันมาก เพราะมันดูจะเป็นสิ่งแปลกประหลาดที่จู่ ๆ ก็โผล่ขึ้นมาบนท้องฟ้า ความรู้สมัยใหม่บอกเราว่าแท้จริงดาวหางเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มีดาวหางอยู่มากมายในอวกาศเพียงแต่แทบทั้งหมดอยู่ห่างจากโลกและไม่สว่างนัก จะสว่างขึ้นจนสังเกตพบได้เมื่อมันโคจรเข้ามาใกล้โลกและดวงอาทิตย์

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ (เฉพาะชิ้นส่วน และ C) ระหว่างวันที่ 1-23 พฤษภาคม 2549 เวลา 3.00 น. ดาวหางจะปรากฏเป็นดวงฝ้าขมุกขมัวไม่ชัดเจน แตกต่างจากดาวฤกษ์  

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ แบบละเอียด (PDF) 

ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ ในอดีต

ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในภาพถ่ายโดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน คน เมื่อวันที่ พฤษภาคม พ.ศ. 2473 (ที่มีเลข ต่อท้าย เพราะเป็นดาวหางดวงที่ ที่เขาค้นพบร่วมกัน) ณ หอดูดาวฮัมบูร์ก เยอรมนี ขณะนั้นดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2473 ด้วยระยะห่างเพียง 9.2 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบในเวลา ปีครึ่ง และสังเกตการณ์ได้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2473

หลังจากนั้นนักดาราศาสตร์สังเกตพบดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ อีกในปี พ.ศ. 2521, 2533 และ 2538 เดือนตุลาคม 2538 ดาวหางสว่างขึ้นมากอย่างผิดวิสัย ก่อนจะค่อย ๆ ลดความสว่างลง วันที่ 23 ธันวาคม 2538 หอดูดาวหลายแห่งเริ่มรายงานว่าดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ มิได้มีเพียงดวงเดียว แต่มันได้แตกออกเป็น ชิ้น เรียกชิ้นส่วนแต่ละชิ้นว่าชิ้น A, B, และ ภายหลังสังเกตไม่พบชิ้น ต่อมาพบว่าชิ้น ที่จริงแล้วประกอบขึ้นจากดาวหาง ชิ้น ทำให้รวมแล้วมีทั้งหมด ชิ้น คือ A, B, C, และ ที่สว่างที่สุดและน่าจะเป็นชิ้นหลักที่ใหญ่ที่สุดคือชิ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์อีกครั้ง ปีนั้นนักดาราศาสตร์สังเกตพบชิ้น และ นอกนั้นจางมาก

ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ ในปัจจุบัน

ปลายเดือนตุลาคม 2548 ชิ้น ของดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ เริ่มปรากฏจาง ๆ ในภาพถ่าย จากนั้นจึงเริ่มสังเกตพบชิ้น ในเดือนมกราคม 2549 ต่อมานักดาราศาสตร์จึงเริ่มพบชิ้นส่วนอื่น ๆ ผลการสังเกตการณ์จากต่างประเทศเท่าที่รวบรวมได้ถึงขณะนี้ ปรากฏว่ามีชิ้นส่วนดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ ที่พบแล้วในคราวนี้อย่างเป็นทางการ คือ ชิ้น B, C, G, H, J, K, L, M, N, P, Q, R, S, T, U, V, W, X, Y, Z, AA, AB, AC, AD, AE, AF, AG, AH, AI, AJ, AK, AL, AM, AN, AO, AP, AQ, AR, AS, AT, AU, AV, AW, AX, AY, AZ, BA, BB, BC, BD, BE, BF, BG, BH, BI, BJ, BK, BL และ BM (ตัวอักษร และ ถูกข้ามไป เข้าใจว่าเพื่อป้องกันไม่ให้สับสนกับตัวเลข) รวมทั้งหมด 59 ชิ้น

ชิ้นส่วนที่สว่างที่สุดของดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ คือ และ มีโอกาสสว่างพอที่จะส่องดูได้ด้วยกล้องสองตา และอาจสังเกตเห็นชิ้น ได้จาง ๆ ด้วยตาเปล่าจากสถานที่ที่ท้องฟ้าแจ่มใส มืดสนิท และไม่มีแสงไฟรบกวน ซึ่งหมายความว่าดาวหางดวงนี้ไม่ค่อยสว่างนัก จำเป็นต้องใช้แผนที่ดาวสำหรับระบุตำแหน่ง

ดาวหางชวาสมานน์-วัคมานน์ มีกำหนดเข้าใกล้โลกมากที่สุดในกลางเดือนพฤษภาคม ด้วยระยะห่างประมาณ 8-12 ล้านกิโลเมตร (ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมีวงโคจรต่างกัน) และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในต้นเดือนมิถุนายนด้วยระยะห่างประมาณ 104 ล้านกิโลเมตร ใกล้กว่าวงโคจรของดาวศุกร์เล็กน้อย

ตลอดเดือนพฤษภาคมดาวหางเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วบนท้องฟ้าผ่านกลุ่มดาวมงกุฎเหนือ เฮอร์คิวลีส พิณ หงส์ หมาจิ้งจอก ม้าบิน ปลา และซีตัส ขณะใกล้โลกมากที่สุดและสว่างที่สุดตรงกับช่วงที่มีแสงจันทร์รบกวน ดังนั้นวันที่สังเกตการณ์ได้ดีที่สุดน่าจะเป็นหลังตี ถึงก่อนเช้ามืดในครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคมซึ่งดาวหางเคลื่อนไหวอยู่ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส พิณ และหงส์ หลังวันที่ 24 พฤษภาคม แสงจันทร์ไม่รบกวนแล้ว ดาวหางจะเข้าสู่กลุ่มดาวปลาและกลุ่มดาวซีตัส คาดว่าอาจยังพอสังเกตได้ด้วยกล้องสองตาในช่วงก่อนฟ้าสางไม่นาน

ปัจจุบันมีแนวโน้มไม่ค่อยดีเพราะดูเหมือนว่าชิ้น และ ซึ่งเป็นสองชิ้นที่สว่างที่สุดจะจางกว่าที่คาดหมายไว้ อย่างไรก็ตามดาวหางเป็นวัตถุที่ทำนายการเปลี่ยนแปลงได้ยาก มันอาจสว่างขึ้นมาเฉย ๆ หรือจางลงจนสังเกตไม่เห็นเลยก็ได้ ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงยังคอยติดตามเฝ้าดูดาวหางดวงนี้อย่างใกล้ชิด