สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2550

อุปราคาในปี 2550

24 กุมภาพันธ์ 2549
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 17 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2550 มีอุปราคาเกิดขึ้นทั้งหมด ครั้ง เป็นสุริยุปราคาและจันทรุปราคาอย่างละสองครั้งซึ่งประเทศไทยมีโอกาสสังเกตจันทรุปราคาได้ทั้งสองครั้งกับสุริยุปราคาอีกหนึ่งครั้ง รายละเอียดโดยสังเขปมีดังนี้

จันทรุปราคาเต็มดวง มีนาคม 2550

จันทรุปราคาครั้งนี้เกิดในเวลาหลังเที่ยงคืนของคืนวันมาฆบูชาซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ มีนาคม ย่างเข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ มีนาคม 2550 ดวงจันทร์เริ่มแหว่งในเวลาประมาณ 4.30 น. จากนั้นดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลกหมดทั้งดวงในเวลา 5.44 น. และอยู่ในเงามืดจนกระทั่งฟ้าสาง

นอกจากประเทศไทยแล้วบางส่วนของทุกทวีปในโลกมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นขณะเริ่มเกิดปรากฏการณ์ในค่ำวันที่ มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เห็นได้ในค่ำวันเดียวกันแต่เป็นช่วงท้ายของปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ขึ้น ส่วนประเทศในเอเชียตะวันออก ตอนกลางของจีน และตะวันตกของออสเตรเลียเห็นได้ในเช้ามืดวันที่ มีนาคมขณะดวงจันทร์ใกล้จะตก

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ระหว่างเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง มีนาคม 2550 (ภาพดัดแปลงจาก Fred Espenak/NASA) 

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง มีนาคม 2550
เหตุการณ์เวลามุมเงยของดวงจันทร์ (ที่กรุงเทพฯ)
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)3.18 น.47°
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)4.30 น.29°
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)5.44 น.12°
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)6.21 น.
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด)6.58 น.-6°
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ออกจากเงามืดทั้งดวง)8.11 น.-23°
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก9.24 น.-40°


สุริยุปราคาบางส่วน 19 มีนาคม 2550

เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าบังบางส่วนของดวงอาทิตย์ มองเห็นได้ในประเทศไทย เอเชียใต้ บางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก รวมทั้งบางส่วนของอะแลสกาในอเมริกาเหนือ ประเทศไทยมองเห็นได้เกือบทั่วประเทศยกเว้นจังหวัดชายแดนภาคใต้ บริเวณที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดคือด้านตะวันตกเฉียงเหนือของภาคเหนือ ส่วนเวลาที่เกิดจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ เห็นตั้งแต่เวลา 7.47 8.57 น. ดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดในเวลา 8.21 น. ด้วยสัดส่วน 16% เชียงใหม่เห็นตั้งแต่เวลา 7.45 9.15 น. ดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดในเวลา 8.29 น. ด้วยสัดส่วน 28%

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน 19 มีนาคม 2550 (ภาพจาก US Naval Observatory) 

ภาพจำลองดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้จากกรุงเทพฯ ในเวลา 8.21 น. ของวันที่ 19 มีนาคม 2550 ขณะเกิดสุริยุปราคาบางส่วน 

จันทรุปราคาเต็มดวง 28 สิงหาคม 2550

บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ คือ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

สำหรับประเทศไทย จันทรุปราคาครั้งนี้เราจะเห็นในช่วงท้ายของปรากฏการณ์ หากสังเกตจากกรุงเทพฯ เมื่อดวงจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออก (ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ดวงอาทิตย์ตก) ดวงจันทร์จะถูกเงามืดของโลกบังไปประมาณ 80% จากนั้นจึงค่อย ๆ กลับมาเต็มดวง แต่หากไปสังเกตที่จังหวัดอุบลราชธานี ดวงจันทร์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าในจังหวะที่ดวงจันทร์ทั้งดวงยังอยู่ในเงามืดของโลก จันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดในเวลา 18.22 น. จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดในเวลา 19.24 น.

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ระหว่างเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 28 สิงหาคม 2550 (ภาพดัดแปลงจาก Fred Espenak/NASA) 

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 28 สิงหาคม 2550
เหตุการณ์เวลามุมเงยของดวงจันทร์ (ที่กรุงเทพฯ)
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)14.54 น.-52°
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)15.51 น.-38°
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)16.52 น.-24°
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)17.37 น.-14°
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด)18.22 น.-3°
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ออกจากเงามืดทั้งดวง)19.24 น.11°
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก20.21 น.25°


สุริยุปราคาบางส่วน 11 กันยายน 2550

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาครั้งนี้ คือ บางส่วนทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน 11 กันยายน 2550 (ภาพจาก US Naval Observatory)