สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2551

อุปราคาในปี 2551

30 ธันวาคม 2550
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 21 พฤษภาคม 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ตลอดปี พ.ศ. 2551 มีอุปราคาเกิดขึ้น ครั้ง เป็นสุริยุปราคาสองครั้งและจันทรุปราคาสองครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคากับสุริยุปราคาอย่างละครั้งซึ่งเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ต่อไปนี้เป็นข้อมูลโดยสังเขป

สุริยุปราคาวงแหวน กุมภาพันธ์ 2551

สุริยุปราคาครั้งนี้เกิดในเช้าวันที่ กุมภาพันธ์ ตามเวลาประเทศไทยซึ่งตรงกับวันตรุษจีน แต่ประเทศไทยไม่สามารถมองเห็นได้ ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ พื้นที่ที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนเป็นพื้นที่แคบ ๆ ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกา มหาสมุทรใต้ และตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนซึ่งจะเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง ได้แก่ ตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น นิวแคลิโดเนียของฝรั่งเศส ประเทศวานูอาตูและฟิจิ เป็นต้น

จันทรุปราคาเต็มดวง 21 กุมภาพันธ์ 2551

เช้าวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงโดยดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบังระหว่างเวลา 8.43 12.09 น. ตามเวลาประเทศไทย เรามองไม่เห็นปรากฏการณ์ในวันนี้เพราะดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว พื้นที่ที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ได้แก่บรรดาประเทศในทวีปที่อยู่รอบมหาสมุทรแอตแลนติก ประกอบด้วยทวีปยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้รวมไปถึงเขตอาร์กติก คนในยุโรปกับแอฟริกาเห็นจันทรุปราคาก่อนดวงจันทร์ตกในเช้ามืดของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ตามเวลาท้องถิ่น แต่ในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เห็นในคืนวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ขณะดวงจันทร์ขึ้นในเวลาหัวค่ำไปจนถึงเที่ยงคืน ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวงกินระยะเวลานาน 51 นาที

สุริยุปราคาเต็มดวง สิงหาคม 2551

สุริยุปราคาครั้งนี้เกิดในช่วงบ่ายถึงเย็นวันศุกร์ที่ สิงหาคม 2551 เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เข้าบังดวงอาทิตย์มิดหมดดวง แนวคราสเต็มดวงซึ่งเป็นเส้นทางแคบ ๆ บนพื้นผิวโลกเริ่มต้นที่แคนาดา ลากผ่านตอนเหนือของกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติก รัสเซีย มองโกเลีย และไปสิ้นสุดในประเทศจีน

สุริยุปราคาเต็มดวง สิงหาคม 2551 (ภาพ F. Espenak J. Anderson) 

เงามืดของดวงจันทร์เริ่มแตะพื้นผิวโลกเมื่อเวลาประมาณ 16.21 น. ตามเวลาประเทศไทยในบริเวณอ่าวควีนมอดซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะวิกตอเรีย ดินแดนนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ของประเทศแคนาดา ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นระยะเวลานาน นาที 30 วินาที จากนั้นเงามืดเคลื่อนไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว ผ่านพื้นดินทางใต้ของเกาะวิกตอเรีย เกาะปรินซ์ออฟเวลส์ เกาะซัมเมอร์เซต เกาะเดวอน ทางใต้ของเกาะเอลสเมียร์ ลงสู่มหาสมุทรอาร์กติก ผ่านตอนเหนือของกรีนแลนด์และมุ่งหน้าไปยังตอนเหนือของทวีปเอเชีย

เงามืดผ่านเกาะโนวายาซิมลียาในเวลา 17.00 น. กึ่งกลางแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 23 วินาที และเคลื่อนลงสู่ทะเลคารา แตะชายฝั่งคาบสมุทรยามาลในประเทศรัสเซียในอีก 10 นาทีต่อมา จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดของวันนี้ (2 นาที 27 วินาที) เกิดขึ้นในเวลา 17.21 น. ใกล้เมืองนาดีมของรัสเซีย จากนั้นเส้นทางเงามืดตัดเฉียงลงมาทางใต้ ออกจากรัสเซียแล้วผ่านพรมแดนทางตะวันตกระหว่างมองโกเลียกับจีนตามแนวเทือกเขาอัลไต คราสเต็มดวงสิ้นสุดในประเทศจีนเมื่อเวลา 18.21 น. ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน นาที 28 วินาที บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมตอนเหนือของยุโรปและแคนาดา เกือบทั้งหมดของทวีปเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่นและประเทศอาเซียนที่อยู่ในทะเลจีนใต้

ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้ได้โดยต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือการสังเกตการณ์ทางอ้อม เช่นดูภาพสะท้อนบนผนังผ่านกระจก ดวงจันทร์เข้าบังบางส่วนของดวงอาทิตย์ในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าจนกระทั่งตกลับขอบฟ้า (ขณะหายไปที่ขอบฟ้าก็ยังเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่) บริเวณที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดคือภาคเหนือและภาคอีสาน ส่วนเวลาที่เกิดปรากฏการณ์แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ เริ่มเวลา 18.02 น. ดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดขณะดวงอาทิตย์ตกด้วยสัดส่วน 54%

จันทรุปราคาบางส่วน 17 สิงหาคม 2551

จันทรุปราคาครั้งนี้สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย เกิดขึ้นในช่วงหลังเที่ยงคืนของคืนวันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2551 เข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ได้แก่ทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย และตะวันตกของออสเตรเลีย ทวีปเอเชียและออสเตรเลียเห็นปรากฏการณ์ก่อนดวงจันทร์ตกในเช้ามืดของวันที่ 17 สิงหาคม ขณะที่ยุโรปและแอฟริกาเห็นในคืนวันที่ 16 สิงหาคม ขณะที่ดวงจันทร์ขึ้นในเวลาหัวค่ำถึงช่วงเที่ยงคืน

จันทรุปราคาบางส่วนในเช้ามืดวันที่ 17 สิงหาคม 2551 

ประเทศไทยเริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่งในเวลา 2.36 น. ขณะดวงจันทร์มีมุมเงยประมาณ 60 องศา หรือ ใน ของระยะทางระหว่างขอบฟ้ากับจุดเหนือศีรษะ เงามืดของโลกเข้าบังดวงจันทร์ลึกที่สุดในเวลา 4.10 น. ด้วยสัดส่วน 81% วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงประมาณ 30 องศาจากขอบฟ้า ดวงจันทร์เคลื่อนออกจากเงามืดจนกลับมาสว่างเต็มดวงในเวลา 5.45 น. คนในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงจะเห็นดวงจันทร์มีมุมเงย องศาในขณะสิ้นสุดคราสบางส่วน รวมเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเป็นระยะเวลานาน ชั่วโมง นาที