สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2547

ดาวเคราะห์ในปี 2547

2 มกราคม 2547
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 30 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวพุธ มองเห็นได้ในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดตลอดเดือนมกราคม ช่วงนี้ถือว่าสามารถมองเห็นดาวพุธในเวลาก่อนรุ่งอรุณได้ดีที่สุดช่วงหนึ่งในรอบปี เพราะดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ค่อนข้างมาก และท้องฟ้าโปร่งในช่วงนี้จะช่วยให้สามารถมองเห็นดาวพุธได้ดี หลังจากนั้นดาวพุธจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์แล้วกลับมาปรากฏทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะสามารถมองเห็นดาวเคราะห์สว่าง ดวงด้วยตาเปล่าพร้อมๆ กัน

เราสามารถมองเห็นดาวพุธในเวลาเช้ามืดได้อีกครั้งในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนมิถุนายน พร้อมๆ กับดาวหางลีเนียร์ที่คาดว่าจะส่องสว่างมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก่อนที่ดาวพุธจะเคลื่อนเข้าหาดวงอาทิตย์ แล้วกลับมาปรากฏในเวลาหัวค่ำอีกครั้งตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมจนถึงต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งดาวพุธจะมีตำแหน่งใกล้กับดาวอังคารในวันที่ 10-11 กรกฎาคม หากไม่คำนึงถึงสภาพอากาศและปริมาณเมฆ ถือได้ว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ดูดาวพุธได้ดีที่สุดในเวลาหัวค่ำของปีนี้ จากนั้นดาวพุธจะอยู่ในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดตลอดครึ่งแรกของเดือนกันยายน และมาอยู่ในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตลอดเดือนพฤศจิกายน ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ดูดาวพุธได้ไม่ดีนักเพราะอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า โอกาสที่จะสามารถดูดาวพุธได้ดีจะกลับมาอีกครั้งตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมไปจนถึงปลายเดือนมกราคมของปี 2548 โดยจะมองเห็นดาวพุธอยู่ใกล้กับดาวศุกร์ทางทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด

ช่วงวันที่มองเห็นดาวพุธได้ดีในปี 2547
ช่วงวันที่เวลากลุ่มดาวหมายเหตุ
20 มี.ค. เม.ย.หัวค่ำปลาเห็นดาวเคราะห์ ดวงพร้อมกัน
29 เม.ย. มิ.ย.เช้ามืดปลา แกะ และวัวปรากฏพร้อมดาวหางลีเนียร์
ก.ค. -10 ส.ค.หัวค่ำคนคู่, ปู, สิงโตใกล้ดาวอังคารและดาวหัวใจสิงห์
18 ก.ย.เช้ามืดสิงโตผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์
พ.ย. ธ.ค.หัวค่ำแมงป่องผ่านใกล้ดาวปาริชาต
17 ธ.ค. 20 ม.ค. 2548เช้ามืดแมงป่อง, คนยิงธนูผ่านใกล้ดาวศุกร์


ภาพจำลองแสดงขนาดปรากฏเปรียบเทียบกันของดาวเคราะห์ในรอบปี 2547 

ดาวศุกร์ ยังคงอยู่บนท้องฟ้าในเวลาหัวค่ำที่เรียกกันว่าดาวประจำเมืองต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ตลอดเดือนมกราคม-พฤษภาคม ดาวศุกร์จะเคลื่อนจากกลุ่มดาวแพะทะเลไปยังกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (ผ่านใกล้ดาวยูเรนัสในวันที่ 15 มกราคม) กลุ่มดาวปลา กลุ่มดาวแกะ และกลุ่มดาววัว (ผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในวันที่ เมษายน) โดยทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 29 มีนาคม จากนั้นดาวศุกร์จะหายลับไปจากท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในราวปลายเดือนพฤษภาคม ไปปรากฏเป็นดาวประกายพรึกในเวลาเช้ามืดตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนมกราคม 2548

ช่วงที่ดาวศุกร์หายไปนี้ ดาวศุกร์จะเคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เกิดปรากฏการณ์พิเศษคือ "ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์" ในวันที่ มิถุนายน เกือบทั่วโลกจะมีโอกาสมองเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ ในประเทศไทยจะเห็นปรากฏการณ์นี้ระหว่างเวลา 12.13-18.20 น. ปรากฏการณ์นี้เคยเกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2425 หรือในสมัยรัชกาลที่ และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2555

กลางเดือนมิถุนายน เมื่อดาวศุกร์มาอยู่ในท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ดาวศุกร์จะเคลื่อนสูงจากขอบฟ้ามากขึ้นอย่างช้าๆ ในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน และจะอยู่บนฟ้าก่อนรุ่งอรุณเช่นนี้ต่อไปพร้อมกับเคลื่อนจากกลุ่มดาววัว เข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ (ผ่านใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ กันยายน) กลุ่มดาวปู (ผ่านใกล้กระจุกดาวรวงผึ้งในวันที่ 14 กันยายน) กลุ่มดาวสิงโต (ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในวันที่ ตุลาคม) กลุ่มดาวหญิงสาว (ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ พฤศจิกายน) กลุ่มดาวตาชั่ง (ผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ ธันวาคม) และเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่จะเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้กับดาวพุธ ดาวเคราะห์ ดวงนี้จะเคลื่อนที่เกาะไปด้วยกันไปถึงเดือนมกราคม 2548 จึงถือเป็นเวลาที่ดูดาวพุธได้ง่ายมาก

ดาวอังคาร อยู่ในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตลอดครึ่งแรกของปี โดยจะเคลื่อนจากกลุ่มดาวปลาเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ กลุ่มดาววัว กลุ่มดาวคนคู่ (ผ่านใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม) กลุ่มดาวปู (ผ่านใกล้ดาวพุธในวันที่ 10-11 กรกฎาคม) และกลุ่มดาวสิงโต พร้อมกับเป็นช่วงที่ดาวอังคารออกห่างจากโลกและมีความสว่างลดลงอย่างต่อเนื่อง ดาวอังคารกลับมาให้เห็นในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงสิ้นปี พร้อมกับมีตำแหน่งผ่านกลุ่มดาวหญิงสาวเข้าสู่กลุ่มดาวตาชั่งและกลุ่มดาวแมงป่อง โดยจะเห็นดาวอังคารผ่านใกล้ดาวศุกร์ในวันที่ ธันวาคม

วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2547
ดาวเคราะห์วัน เดือนอันดับความสว่าง
เสาร์ม.ค.-0.5
พฤหัสบดีมี.ค.-2.5
พลูโต11 มิ.ย.+13.8
เนปจูนส.ค.+7.8
ยูเรนัส28 ส.ค.+5.7
อังคาร--


ดาวพฤหัสบดี ต้นปี 2547 เป็นช่วงที่ดูดาวพฤหัสบดีได้ดีที่สุด เพราะเป็นเวลาที่ผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัสบดีจะส่องสว่างด้วยโชติมาตร -2.5 ขณะที่เข้าใกล้โลกที่สุดในต้นมีนาคม หลังจากนั้นจะสามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดีได้ทุกคืนในเวลาหัวค่ำเกือบตลอด เดือนแรกของปี ซึ่งเป็นเวลาที่ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวสิงโตตลอดเวลาด้วย หลังจากนั้นต้นเดือนตุลาคม เมื่อดาวพฤหัสบดีกลับมาปรากฏในท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ดาวพฤหัสบดีจะเคลื่อนเข้าไปในกลุ่มดาวหญิงสาว และอยู่ในกลุ่มดาวนี้ต่อไปจนถึงปลายปีหน้า

แผนภาพแสดงตำแหน่งของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ตามไรต์แอสเซนชัน ตลอดปี 2547 แผนภาพนี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นทึบในแนวเฉียงคือตำแหน่งของดวงอาทิตย์ แถบสีคล้ำที่แผ่ออกไปสองข้าง คือ ส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวนในการดูดาวเคราะห์ เส้นประในแนวเฉียงคือตำแหน่งที่ทำมุมตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เมื่อดาวเคราะห์วงนอกอยู่ในตำแหน่งนี้ แสดงว่าเป็นช่วงที่สว่างและใกล้โลกที่สุด 

ดาวเสาร์ เข้าใกล้โลกที่สุดในคืนวันส่งท้ายปี 2546 ถึงวันแรกของปี 2547 จึงมองเห็นได้ดีที่สุดในช่วงต้นปีเช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี และจะมีตำแหน่งอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ตลอดทั้งปีนี้ เนื่องจากเพิ่งจะผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดาวเสาร์จึงอยู่ในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือนมิถุนายน ก่อนที่จะหายลับไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์ หลังจากนั้นจึงจะสามารถมองเห็นดาวเสาร์ได้อีกครั้งขณะที่ดาวเสาร์กลับมาปรากฏบนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืดตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป

ดาวยูเรนัส อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ขณะที่ ดาวเนปจูน อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล หากท้องฟ้าแจ่มใสจะสามารถมองเห็นดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนได้ดีที่สุดในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวเคราะห์ทั้งสองอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

ดาวพลูโต มีโชติมาตร 14 ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมองเห็นได้ยากด้วยกล้องโทรทรรศน์ อยู่ในบริเวณเขตต่อระหว่างกลุ่มดาวงูและกลุ่มดาวคนแบกงูตลอดปีนี้