สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฮะยะบุซะ 2 ไปถึงดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย

ฮะยะบุซะ 2 ไปถึงดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย

2 ก.ค. 2561
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
วันที่ 27 มิถุนายน 2561 ยานฮะยะบุซะ ได้จุดจรวดควบคุมทิศทางเพื่อปรับทิศทางเข้าสู่การโคจรเทียบดาวเคราะห์น้อยซึ่งเป็นเป้าหมายของยานได้สำเร็จ 

ฮะยะบุซะ เป็นยานสำรวจขององค์การสำรวจการบินและอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา ออกเดินทางจากโลกไปเมื่อปี 2557 เป้าหมายของการสำรวจคือ ดาวเคราะห์น้อย 162173 ริวงุ (162173 Ryugu)

ในการสำรวจของฮะยะบุซะ จะไม่โคจรรอบดาวเคราะห์ริวงุ แต่จะใช้วิธีโคจรเทียบ นั่นคือการโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อม ๆ กับวัตถุเป้าหมายโดยรักษาระยะห่างจากดาวเคราะห์น้อย 20 กิโลเมตรคงที่ 

ยานฮะยะบุซะ มีวิธีสำรวจที่หลากหลายและพิสดารมาก ไม่เพียงแต่สำรวจจากระยะไกลเท่านั้น แต่ยังมีการส่งยานลูกไปลงจอด มีรถสำรวจถึงสามคันลงไปวิ่งบนพื้นผิว มีแม้แต่การทิ้งระเบิดใส่และเก็บตัวอย่างกลับโลก

ฮะยะบุซะ จะตามติดเพื่อสำรวจดาวเคราะห์น้อยริวงุไปเป็นเวลา 18 เดือน ในช่วงแรก ยานจะสำรวจพื้นผิวเพื่อเลือกตำแหน่งที่เหมาะที่สุดที่จะปล่อยยานและรถลงไป รวมถึงสำรวจบริเวณรอบดาวเคราะห์น้อยเพื่อค้นหาดาวบริวารที่อาจมีอยู่ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อยานได้ 

ยานลงจอดมีชื่อว่า มาสคอต (MASCOT) ย่อมาจาก Mobile Asteroid Surface Scout สร้างโดยศูนย์การบินและอวกาศเยอรมัน ยานจะปล่อยมาสคอตลงไปบนดาวเคราะห์น้อยในเดือนตุลาคม แม้จะเป็นเพียงกล่องสี่เหลี่ยมเรียบ ๆ แต่มาสคอตก็ยังเคลื่อนที่ได้โดยการกลิ้งกระดอน ภารกิจในส่วนนี้คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง อุปกรณ์สำคัญที่อยู่บนตัวมาสคอตก็คือ มาตรรังสี สเปกโทรมิเตอร์รังสีอินฟราเรด แมกนิโทมิเตอร์ กล้องถ่ายภาพ 

ในช่วงท้ายของภารกิจ ยานฮะยะบุซะ จะหย่อนระเบิดลงไปบนดาวเคราะห์น้อย เพื่อระเบิดพื้นผิวให้เป็นหลุม จากนั้นก็จะเคลื่อนที่เข้าไปจ่อที่หลุมนั้นเพื่อเก็บตัวอย่างวัสดุจากก้นหลุมแล้วนำกลับมายังโลก คาดว่าแคปซูลเก็บตัวอย่างจะกลับมาถึงโลกในปี 2563

ดาวเคราะห์น้อยริวงุ ถูกค้นพบในปี 2542 เป็นดาวเคราะห์น้อยชนิดซี (คาร์บอน) เป็นดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มอะพอลโล ซึ่งเป็นกลุ่มของดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้โลก ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จึงอยู่ในรายชื่อ ดาวเคราะห์น้อยอันตรายยิ่ง (PHA) ด้วย ดาวเคราะห์น้อยริวงุมีรูปร่างคล้ายเพชรข้าวหลามตัด มีความกว้างประมาณ 900 เมตร หมุนรอบตัวเองตามแนวตั้งฉากกับวงโคจรด้วยคาบ 7.5 ชั่วโมง

"ตอนนี้ เรามองเห็นหลุมอุกกาบาต มองเห็นก้อนหิน เห็นสภาพภูมิประเทศที่มีความหลากหลายอย่างมากในแต่ละพื้นที่ เป็นทั้งเรื่องน่าประหลาดใจในแง่วิทยาศาสตร์ และเป็นความท้าทายทางวิศวกรรมด้วย" ยุอิชิ ซึดะ ผู้จัดการโครงการของฮะยะบุซะ กล่าว 

การสำรวจดาวเคราะห์น้อยครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของแจ็กซา ในปี 2553 แจ็กซาได้ส่งยานฮะยะบุซะไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยชื่ออิโตะกะวะมาแล้ว แม้ในครั้งนั้นมีปัญหามากมาย แต่ยานก็ยังนำฝุ่นจากผิวดาวเคราะห์น้อยกลับมายังโลกได้สำเร็จ ในภารกิจของฮะยะบุซะ นี้จะละเอียดกว่าภารกิจของฮะยะบุซะมาก 
ยานฮะยะบุซะ <wbr>2 <wbr>ขณะไปถึงดาวเคราะห์น้อยริวงุ <wbr>(ภาพในจินตนาการของศิลปิน)<br />

ยานฮะยะบุซะ ขณะไปถึงดาวเคราะห์น้อยริวงุ (ภาพในจินตนาการของศิลปิน)
(จาก JAXA)

ดาวเคราะห์น้อยริวงุ ถ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2561 จากระยะ 22 กิโลเมตรโดยกล้องนำทางที่อยู่บนยานฮะยะบุซะ 2

ดาวเคราะห์น้อยริวงุ ถ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2561 จากระยะ 22 กิโลเมตรโดยกล้องนำทางที่อยู่บนยานฮะยะบุซะ 2 (จาก JAXA, University of Tokyo, Kochi University, Rikkyo University, Nagoya University, Chiba Institute of Technology, Meiji University, University of Aizu, AIST)

ภาพถ่ายดาวเคราะห์ริวงุ ที่ถ่ายเป็นระยะตั้งแต่ช่วงที่ห่าง 220 กิโลเมตรจนถึง 100 กิโลเมตร

ภาพถ่ายดาวเคราะห์ริวงุ ที่ถ่ายเป็นระยะตั้งแต่ช่วงที่ห่าง 220 กิโลเมตรจนถึง 100 กิโลเมตร

เปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์น้อยสองดวงที่แจ็กซาเคยสำรวจ ภาพซ้ายคือดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ สำรวจโดยยานฮะยะบุซะ ภาพขวาคือดาวเคราะห์น้อยริวงุ สำรวจโดยยานฮะยะบุซะ 2

เปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์น้อยสองดวงที่แจ็กซาเคยสำรวจ ภาพซ้ายคือดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ สำรวจโดยยานฮะยะบุซะ ภาพขวาคือดาวเคราะห์น้อยริวงุ สำรวจโดยยานฮะยะบุซะ 2

ยานฮะยะบุซะ 2 กับยานลงจอดชื่อมาสคอต

ยานฮะยะบุซะ 2 กับยานลงจอดชื่อมาสคอต (จาก space.com)

ที่มา: