สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(25 ก.ค. 44) นักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์โลเวลล์ เอ็มไอที และจากหอสังเกตการณ์แอลบีที ได้รายงานการค้นพบวัตถุวงแหวนไคเปอร์ดวงใหม่อีกดวงหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 โดยกล้องโทรทรรศน์บลันโคขนาด 4 เมตรในชิลี ...

ดาวหางในดาวฤกษ์ดวงอื่น

(24 ก.ค. 44) นักดาราศาสตร์จากศูนย์ดาราฟิสิกส์ฮาร์วาร์ดสมิทโซเนียนนำโดย แกรี เมลนิก ได้สำรวจดาว ซีดับเบิลยู สิงโต (CW Leonis) ด้วยดาวเทียม สวอส (SWAS--Submillimeter Wave Astronomy Satellite) ในย่านความถี่ซับมิลลิเมตรซึ่งอยู่ระหว่างความถี่วิทยุกับความถี่อินฟราเรด จากการสำรวจพบชั้นของโมเลกุลต่าง ๆ เป็นจำนวนมากรวมถึงโมเลกุลของน้ำห่อ ...

แผนการสำรวจใหม่ของแคสซีนี

(16 ก.ค. 44) เมื่อปีที่แล้ว วิศวกรของโครงการแคสซีนีได้พบความผิดปรกติกับหัววัดไฮเกนส์ที่อยู่บนยานแคสซีนี ปัญหาที่พบคือเมื่อหัววัดไฮเกนส์ถูกปล่อยให้พุ่งลงไปในบรรยากาศของไททัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ สัญญาณจากไฮเกนส์ที่ส่งกลับมายังแคสซีนีจะเปลี่ยนไปเนื่องจากการเลื่อนดอปเพลอร์ แต่ความกว้างของช่องสัญญาณของเครื่อง ...

ดาวเทียมสำรวจรังสีพื้นหลังเอกภพดวงใหม่

(15 ก.ค. 44) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่แหลมคานาเวอรัล ฟลอริดา มีการปล่อยจรวดเพื่อนำดาวเทียมดวงหนึ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ดาวเทียมดวงนี้มีความหมายมากสำหรับนักจักรวาลวิทยา มีชื่อว่า แมป (MAP--Microwave Anisotropy Probe) เป็นดาวเทียมของนาซา มีหน้าที่สำรวจความ ...

อุณหภูมิพิศวงของไอโอ

(29 มิ.ย. 44) ระหว่างที่ยานกาลิเลโอเข้าเฉียดดวงจันทร์ไอโอเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 กาลิเลโอได้ถ่ายภาพของดวงจันทร์ดวงนี้เอาไว้ด้วยโฟโตโพลาไรมิเตอร์-เรดิโอมิเตอร์ แสดงการแผ่รังสีความร้อนในฝั่งกลางคืนของดวงจันทร์ไอโอได้อย่างชัดเจน แต่การกระจายตัวของการแผ่ความร้อนที่พบกลับต่างไปจากที่ควรจะเป็น สร้างความประหลาดใจแก่นักดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก ...

เอ็นทีทีพิสูจน์ต้นกำเนิดของดาวแคระน้ำตาล

(28 มิ.ย. 44) ดาวแคระน้ำตาล เป็นวัตถุชนิดหนึ่งที่คล้ายกับดาวฤกษ์ แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ เนื่องจากมีมวลไม่ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ของดวงอาทิตย์ ซึ่งน้อยเกินกว่าที่จะทำให้แกนกลางร้อนจนทำให้เกิดปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนได้ นับจากจากที่ดาวแคระน้ำตาลถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์ได้พบ ...

เมสเซนเจอร์ ยานสำรวจดาวพุธของนาซา

(23 มิ.ย. 44) เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา องค์การนาซาได้อนุมัติภารกิจสำรวจดาวพุธโดยยานอวกาศลำใหม่ ชื่อ เมสเซนเจอร์ (MESSENGER) เมสเซนเจอร์มีกำหนดขึ้นสู่อวกาศในปี 2547 ในระหว่างการเดินทางสู่จุดหมาย เมสเซนเจอร์จะอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ช่วยประหยัดพลังงาน ...

แถบดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะอื่น

(19 มิ.ย. 44) ที่สมาคมดาราศาสตร์อเมริกาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการรายงานการค้นพบระบบสุริยะอื่นเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งโดยนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลีส แต่ระบบสุริยะใหม่นี้ไม่ได้ถูกพบโดยการพบดาวเคราะห์โคจรรอบ แต่เป็นการพบจากการพบสิ่งที่เหมือนแถบดาวเคราะห์น้อยโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ...

พบโครงสร้างเส้นใยของเอกภพ

(12 มิ.ย. 44) เป็นเวลานานมาแล้วที่นักดาราศาสตร์ได้ใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองของเอกภพในยุคเริ่มต้น ในยุคก่อนที่ดาราจักรจะเกิดขึ้น แบบจำลองนี้แสดงภาพของการจัดเรียงตัวของมวลสารเป็นสายใยที่โยงกันซับซ้อน เหมือนเส้นใยแมงมุม มีการกระจุก ...

รอยฝุ่นถล่มบนดาวอังคาร

(5 มิ.ย. 44) เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ซึ่งกำลังสำรวจดาวอังคารอยู่ ได้ถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารและพบริ้วสีดำจำนวนมากตามพื้นทีลาดชันบริเวณ Lycus Sucli ในขณะที่ภาพพื้นที่นี้ที่ถ่ายเมื่อเกือบสองปี ...

ดาวเคราะห์น้อยคู่เพื่อนบ้านดวงใหม่

(31 พ.ค. 44) นักดาราศาสตร์คณะหนึ่ง นำโดย แลนซ์ เอ. เอ็ม. เบนเนอร์ และสตีเวน เจ. ออสโตร จากเจพีแอล ได้พบว่าดาวเคราะห์น้อย 1999 KW4 เป็นดาวเคราะห์น้อยคู่ โดยอาศัยข้อมูลการสำรวจในวันที่ 21-23 พฤษภาคมที่ผ่านมา ...

ญาติพลูโต

(30 พ.ค. 44) ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ได้รับทราบแล้วว่า พลูโตและดวงจันทร์คารอนไม่ได้เป็นวัตถุส่วนน้อยของระบบสุริยะอีกต่อไป เพราะยังมีวัตถุที่คุณสมบัติคล้ายพลูโตอีกจำนวนมากมายนับร้อยหรืออาจถึงหลายหมื่นดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ที่ขอบนอกของระบบสุริยะในบริเวณที่เรียกว่า แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) วัตถุกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ หรือ ...

จานก่อตัวอยู่ห่างจากหลุมดำมากกว่าที่คิด

(29 พ.ค. 44) เมื่อเดือนมีนาคม 2543 กล้องโทรทรรศน์ RXTE หรือ Rossi X-ray Timing Explorer ได้ตรวจพบการประทุของรังสีเอกซ์ครั้งหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้ทราบว่าเป็นหลุมดำ ได้ชื่อว่า XTE J1118+480 อยู่ห่างจากโลกประมาณ ...

ลีเนียร์กับปริศนาน้ำบนโลก

(27 พ.ค. 44) ถึงแม้ดาวหางลีเนียร์ 1999 เอส 4 (C/1999 S4) ได้แตกสลายไปแล้ว แต่การแตกสลายนี้ทำให้เกิดการค้นพบครั้งสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ คณะนักดาราศาสตร์จากนานาประเทศที่นำโดย เทมุ เมคิเน็น ได้ใช้เครื่องมือของดาวเทียมโซโฮศึกษาและตรวจวัดเมฆไฮโดรเจนที่ระเหิดมาจากน้ำแข็งของดางหางลีเนียร์ ทำให้ทราบจำนวนของไฮโดรเจนและน้ำใน ...

เซลล์สุริยะทำจากเพชร

(9 พ.ค. 44) ในอนาคต เซลล์สุริยะที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานของยานอวกาศและดาวเทียม อาจทำมาจากเพชรก็ได้ เซลล์สุริยะเพชรนี้ภายในจะเป็นฟิล์มเพชรบาง ๆ ที่ประกอบด้วยผลึกเพชรขนาดจิ๋วนับล้าน ๆ ทำงานด้วยความร้อน ซึ่งต่างจาก ...

วัตถุแถบไคเปอร์คู่

(26 เม.ย. 44) เมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา คริสเตียน วิลเลต์ และคณะ ได้ใช้กล้อง 100-เมกะพิกเซล ของกล้องโทรทรรศน์แคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย สำรวจ 1998 WW31 วัตถุแถบไคเปอร์ดวงหนึ่งที่ถูกค้นพบเมื่อ 2 ปีก่อน วัตถุดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 6.9 พันล้านกิโลเมตร มีความสว่าง 23 แต่การสำรวจในครั้งนั้นกลับไม่สามารถเปิดเผยคุณสมบัติของ 1998 WW31 ได้มากนัก แต่โชคดีที่นักดาราศาสตร์คณะนี้ได้ตรวจสอบข้อมูลจากการสำรวจครั้งก่อน ๆ ในช่วง 1 ปีก่อนหน้านั้น และพบว่า ...

แสงโลกไขความลับภูมิอากาศ

(22 เม.ย. 44) นักวิทยาศาสตร์ได้รื้อฟื้นและปรับปรุงเทคนิควิธีการในการติดตามสภาพภูมิอากาศโลกที่เกือบจะถูกลืมไปแล้ว คือ การสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างของ "แสงโลก (earthshine)" ซึ่งเป็นการที่ด้านมืดของดวงจันทร์สว่างขึ้นเนื่องจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนมาจากโลก การวัดแสงสะท้อนนี้เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการศึกษาภูมิอากาศ การติดตามการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการสะท้อนแสงของโลกในระยะยาว จะช่วยบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของหมอกควันในชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อ ...

ไม่ใช่อุกกาบาตพุ่งชนดวงจันทร์

(22 เม.ย. 44) เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ได้มีการเสนอข้อสันนิษฐานว่า บันทึกจดหมายเหตุของนักบวชที่รู้จักกันในนาม เจอร์วาสแห่งแคนเทอร์เบอรี (Gervase of Canterbury) ที่กล่าวถึงการมองเห็นแสงวาบที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ ที่เขียนไว้ในปี ค.ศ. 1178 ว่าอาจเป็นการพุ่งชนของอุกกาบาต และก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาตจิออร์ดาโน บรูโน ขนาด 22 กิโลเมตร แต่จากการศึกษาด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ชี้ว่า ...

แสงวาบรังสีแกมมาช่วยสร้างดาวฤกษ์

(21 เม.ย. 44) ในที่ประชุมรังสีแกมมา 2001 ที่บัลติมอร์ ลุยจิ ปิโร จากสภาวิจัยแห่งชาติอิตาลี (Consiglio Nazionale delle Ricerche) ได้แสดงข้อมูลจากการสำรวจแสงวาบรังสีแกมมาที่ได้จากสถานีสังเกตการณ์จันทราของนาซาและ แอสิ เบปโปแซ็กส์ (ASI BeppoSAX) ของอิตาลีและเนเธอร์แลนด์ เพื่อสนับสนุนแนวคิดว่า การเกิดแสงวาบรังสีแกมมาช่วยกระตุ้นให้การเกิดดาวฤกษ์ได้ ...

ไอเอสโอตรวจวัดน้ำในทางช้างเผือก

(19 เม.ย. 44) นักดาราศาสตร์จากสเปน อิตาลี ได้ใช้สถานีสังเกตการณ์ไอเอสโอ หรือ ISO (Infrared Space Observatory) ขององค์การอวกาศยุโรปตรวจวัดปริมาณของน้ำในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำในดาราจักรทางช้างเผือก และได้พบว่าในบริเวณนี้มีปริมาณน้ำมากกว่าที่เคยคิดไว้มาก ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น