สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(27 พ.ย. 45) ดาราจักร NGC 6240 อยู่ห่างจากโลก 400 ล้านปีแสง เป็นดาราจักรที่นักดาราศาสตร์ใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษาดาราจักรที่มีอัตราการกำเนิดดาวฤกษ์สูงซึ่งเกิดจากการชนและรวมกันของดาราจักรสองดาราจักร การสำรวจดาราจักรนี้ก่อนหน้านี้ด้วยกล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ พบว่ามีการแผ่รังสีเอกซ์มาจากใจกลาง ส่วนการสำรวจด้วยรังสีอินฟราเรดและคลื่นวิทยุพบว่ามี ...

หลุมดำความเร็วสูงช่วยพิสูจน์ทฤษฎีซูเปอร์โนวา

(24 พ.ย. 45) นักดาราศาสตร์พบหลุมดำความเร็วสูงดวงหนึ่งที่สนับสนุนว่าหลุมดำมวลดาวฤกษ์เกิดมาจากซูเปอร์โนวา หลุมดำดวงนี้มีชื่อว่า GRO J1655-40 อยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง มีทิศทางพุ่งเข้ามาเกือบตรงกับโลก อยู่ห่างออกไป6,000-9,000 ปีแสง เชื่อว่าหลุมดำดวงนี้เกิดขึ้นในจานบริเวณใกล้กับใจกลางของของดาราจักรของเรา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอัตรากำเนิดดาว ...

ดาวเคราะห์บริวารของแกมมาซีฟีอัส

(20 พ.ย. 45) ดาวแกมมาซีฟีอัส เป็นดาวสว่างที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าดวงหนึ่ง อยู่ห่างจากโลก 45 ปีแสง เป็นดาวยักษ์เล็กมีชนิดสเปกตรัม K1 IV มีสีเหลืองส้ม มีความส่องสว่างประมาณ 12 เท่าของดวงอาทิตย์ มีมวลประมาณ 1.6 เท่าของดวงอาทิตย์ ดาวดวงนี้ได้เป็นเป้าหมายการสำรวจของนักดาราศาสตร์มานานกว่า 70 ปีเพราะมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปมาตลอดเวลาอย่าง ...

พบหลักฐานของสสารมืดอีกแห่ง

(18 พ.ย. 45) เป็นที่เชื่อกันมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้วว่า สสารในเอกภพไม่ได้มีเพียงสสารที่มองเห็นเท่านั้น แต่ยังมีสสารอีกจำพวกหนึ่งที่มองไม่เห็น เรียกว่า สสารมืด ถึงแม้จะมองไม่เห็นหรือตรวจจับได้โดยตรง แต่สิ่งบ่งชี้ว่ามีสสารมืดอยู่ปรากฏอยู่ทั่วไป เช่น การพบว่าสสารที่มองเห็นในดาราจักรมีไม่มากพอที่จะทำให้ดาราจักรนั้นหมุนด้วยความเร็วตามที่ปรากฏได้ การพบว่าสสารที่มองเห็นในกระจุกดาราจักรมีไม่มากพอที่จะรักษา ...

พิสูจน์หลุมดำใจกลางทางช้างเผือก

(30 ต.ค. 45) ใจกลางของดาราจักรทางช้างเผือก เป็นที่อยู่ของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุและรังสีเอกซ์แหล่งหนึ่ง นักดาราศาสตร์เชื่อมาเป็นเวลานานว่านั่นอาจเป็นหลุมดำยักษ์ประจำดาราจักรของเรา เช่นเดียวกับที่พบในดาราจักรอีกหลายดาราจักร แหล่งกำเนิดนี้มีชื่อว่า คนยิงธนูเอ (Sagittarius A) ข้อสันนิษฐานที่ทำให้คิดว่าเป็นหลุมดำเกิดจากการสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ใกล้เคียงกับใจกลาง หากทราบความเร็วในการโคจรและรัศมีวงโคจรของดาวฤกษ์ ก็จะทราบมวลของวัตถุที่ใจกลาง มวลที่สูงมากภายใต้ขอบเขตแคบมาก ๆ เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นเป็นหลุมดำ ...

เครือข่ายไล่จับแสงวาบรังสีแกมมาทำงานเยี่ยม

(30 ต.ค. 45) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ดาวเทียมเฮเท-2 (HETE-2) หรือ High Energy Transient Explorer satellite ได้ตรวจพบแสงวาบรังสีแกมมาเข้มข้นมาจากกลุ่มดาวปลา หลังจากนั้นอีกไม่เพียงกี่วินาที นักดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งโลกก็รับรู้ถึงปรากฏการณ์นี้และร่วมสำรวจแหล่งกำเนิดรังสีแห่งใหม่นี้ได้อย่างทันควัน เฮเทได้ส่งสัญญาณแจ้งให้ทั่วโลกได้ทราบอย่างรวดเร็วเพียง 11 วินาทีหลังการค้นพบเท่านั้น และหลังจากนั้นอีกเพียง 38 วินาที ...

วัตถุไคเปอร์ยักษ์ ใหญ่กว่าคารอน

(17 ต.ค. 45) นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียหรือคาลเทค ได้ค้นพบวัตถุไคเปอร์ดวงใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าคารอนซึ่งเป็นดวงจันทร์ของดาวพลูโต นับเป็นวัตถุไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จัก หากไม่นับพลูโต และเป็นครั้งแรกที่สามารถวัดขนาดของวัตถุไคเปอร์ได้โดยตรง วัตถุดวงใหม่นี้มีชื่อว่า 2002 LM60 ค้นพบโดย ชาด ทรูคิลโล และไมค์ บราวน์ ทั้งสองเรียกวัตถุดวงนี้ว่า ควาอัวร์ (Quaoar) ซึ่งเป็นชื่อของเทพตามความเชื่อของชนเผ่าตองวาที่มีถิ่นฐานอยู่ในแอ่งแคลิฟอร์เนีย ที่ตั้งของคาลเทคเอง แม้ชื่อนี้จะยังไม่ ...

พบบริวารดวงใหม่ของโลก นาซาทำเอง

(4 ต.ค. 45) เมื่อวันที่ 3 กันยายน บิลล์ ยัง นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวแคนาดาได้ค้นพบวัตถุแปลกปลอมดวงหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จากการคำนวณเส้นทางโคจรเบื้องต้นของวัตถุดวงนี้โดยศูนย์ดาวเคราะห์น้อยพบว่าวัตถุดวงนี้อยู่ห่างจากโลกเป็นสองเท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ และที่น่าตื่นเต้นก็คือ วัตถุนี้โคจรรอบโลก ...

ต้นกำเนิดวัตถุแถบไคเปอร์คู่

(18 ก.ย. 45) ราวต้นทศวรรษ 1950 ได้มีนักดาราศาสตร์เสนอว่า บริเวณนอกวงโคจรของเนปจูนน่าจะมีแหล่งของเทห์ฟากฟ้าขนาดใหญ่ระดับดาวเคราะห์น้อย ซึ่งวัตถุนั้นเป็นต้นกำเนิดของดาวหางคาบสั้น เรียกว่าแถบไคเปอร์ วัตถุในแถบนี้มีชื่อว่าวัตถุแถบไคเปอร์ วัตถุแถบไคเปอร์ค้นพบครั้งแรกในปี 2535 และหลังจากนั้นก็มีการค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันมีมากกว่า 550 ดวงแล้ว ในปี 2544 นักดาราศาสตร์ได้พบว่า วัตถุแถบไคเปอร์ดวงหนึ่งชื่อ 1998 WW31 ไม่ได้เป็นวัตถุเดี่ยว แต่เป็นวัตถุสองดวงที่ดวงหนึ่งโคจรรอบอีกดวงหนึ่ง นับเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ดวงแรกที่พบว่ามีระบบบริวาร หลังจากนั้นผ่านมาเพียงปีครึ่ง ได้มีการพบวัตถุ ...

โกเมซเบอร์เกอร์

(12 ก.ย. 45) ไม่ใช่เบอร์เกอร์ยี่ห้อใหม่ แต่เป็นชื่อเนบิวลา ๆ หนึ่งในในกลุ่มดาวคนยิงธนู เนบิวลาแฮมเบอร์เกอร์โกเมซ ตั้งชื่อตาม อาตูโร โกเมซ นักดาราศาสตร์ที่ค้นพบเป็นคนแรกด้วยกล้องบนโลก อยู่ห่างจากโลก 6,500 ปีแสง มีรูปร่างแปลกประหลาด เพราะดูเหมือนจานสองใบประกบกันโดยมีช่องว่างแบ่งกลาง ดูเผิน ๆ ก็เหมือนแฮมเบอร์เกอร์ จึงเป็นที่มาของชื่ออันเก๋ไก๋นี้ ...

ดาวฤกษ์มวลสูงในบริเวณธาตุหนัก

(11 ก.ย. 45) นักทฤษฎีหลายคนที่เชื่อว่า บริเวณของเมฆในอวกาศที่ประกอบด้วยธาตุที่หนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม (ทางดาราศาสตร์ถือว่าเป็นโลหะ) ดาวฤกษ์จะไม่สามารถเพิ่มขนาดและมวลของตัวเองให้มีขนาดถึงระดับของดาวยักษ์หรือดาวยักษ์ใหญ๋ได้ โดยปรกติ ดาวฤกษ์มีกลไกจำกัดการเจริญเติบโตของตัวเองโดยอัตโนมัต กล่าวคือ เมื่อดาวฤกษ์กวาดกลืนฝุ่นก๊าซจากเมฆที่อยู่รายล้อม ...

ภาพเรตเอกซ์จากดาวอังคาร

(4 ก.ย. 45) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2544 หอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา ได้เปลี่ยนเป้าหมายจากเดิมที่เคยสำรวจแต่แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ที่อยู่ห่างไกลมาสำรวจดาวอังคารเพื่อนบ้านสีแดงของโลกแทน ทำให้โลกได้เห็นโฉมหน้าของดาวอังคารในย่านรังสีเอกซ์เป็นครั้งแรก ...

คอนทัวร์ พัง

(24 ส.ค. 45) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม เวลา 4.49 นาฬิกาตามเวลาสากล ยานคอนทัวร์ ยานสำรวจดาวหางลำล่าสุดของนาซาได้จุดจรวดเพื่อเหทิศทางจากวงโคจรรอบโลกมุ่งหน้าไปยังดาวหางเองเก ซึ่งตามกำหนดการจะไปถึงในปี 2547 อย่างไรก็ตาม หลังจากการจุดจรวด 45 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่คอนทัวร์ควรจะส่งสัญญาณกลับมายังโลก เครือข่ายดีปสเปซกลับไม่ได้รับสัญญาณใด ๆ ...

แหล่งกำเนิดของก๊าซท่ามกลางดาราจักร

(13 ส.ค. 45) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาบารา ได้พบว่า ก๊าซท่ามกลางดาราจักร (intergalactic space gas) ที่ประกอบด้วยธาตุหนัก (ธาตุที่หนักกว่าฮีเลียม) ส่วนใหญ่น่าจะมาจากดาราจักรแคระมาก ...

ความลับของกากบาทดาราจักร

(13 ส.ค. 45) ดาราจักรแทบทุกดาราจักรที่นักดาราศาสตร์ได้เคยสำรวจมาอย่างละเอียด จะพบว่ามีหลุมดำขนาดยักษ์อยู่ที่ใจกลางอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังได้พบว่าการชนกันของดาราจักรเป็นเหตุการณ์ปรกติที่เกิดขึ้นทั่วไปในเอกภพ คำถามหนึ่งที่มักเป็นที่ถกเถียงกันก็คือ เมื่อดาราจักรชนกันแล้ว จะเกิดอะไรกับหลุมดำที่ใจกลางของดาราจักรเหล่านั้น มันจะชนกันแล้วหลอม ...

วงแหวนรังสีเอกซ์ของคนครึ่งม้าเอ

(9 ส.ค. 45) ดาราจักรคนครึ่งม้าเอ (Centaurus A) นับเป็นหนึ่งในดาราจักรที่สวยงามที่สุดบนท้องฟ้า มีความโดดเด่นเฉพาะตัวในทุกย่านความถี่ เมื่อมองในย่านแสงขาว จะเห็นเป็นทรงกลมที่มีแถบดำที่ประกอบด้วยก๊าซเย็นหนาแน่นพาดผ่านกลางจนดูเหมือนทรงกลมของดาราจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ...

NT7 ดาวเคราะห์น้อย (เกือบ) อันตราย

(1 ส.ค. 45) เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2545 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากคณะวิจัยดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกลินคอล์น หรือ ลิเนียร์ (LINEAR -- Lincoln Near-Earth Asteroid Research) ได้พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ ชื่อว่า 2002 NT7 จากการวิเคราะห์วงโคจรเบื้องต้น นักดาราศาสตร์ต้องตกตะลึงเมื่อพบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสสูงมากที่จะชนโลกในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 หรืออีกเพียง 17 ปีข้างหน้าเท่านั้น!. ...

ดาวใหม่ในอาณาจักรดาวเก่า

(20 ก.ค. 45) ดาราจักรแบบทรงรี เป็นดาราจักรรูปแบบหนึ่งที่มีอยู่ในอวกาศ มีรูปร่างทรงรีเหมือนรังไหม ไม่มีแขนยืดยาวบิดเป็นเกลียวให้สวยงามเหมือนดาราจักรชนิดก้นหอย ดาราจักรชนิดนี้จึงมักเป็นเป้าหมายบนท้องฟ้าที่ไม่ค่อยน่าสะดุดตาเท่าใดนัก แต่สำหรับนักจักรวาลวิทยาที่ต้องการศึกษาต้นกำเนิดและประวัติยุคต้อนของเอกภพแล้ว จะให้ความสนใจกับดาราจักรทรงรีมาก เนื่องจากดาราจักรทรงรีเป็นแหล่งรวมของดาวฤกษ์และกระจุกดาวที่มีอายุเก่า ...

เอกภพอาจมีอายุมากกว่าที่คิด

(18 ก.ค. 45) นอร์เบิร์ต ชาร์เทล จากองค์การอวกาศยุโรปและนักดาราศาสตร์จากสถาบันฟิสิกส์นอกโลกมักซ์ พลังก์ เยอรมนี ได้สำรวจเควซาร์ดวงหนึ่งชื่อ APM 8279+5255 ด้วยดาวเทียมเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตันและได้พบว่า เควซาร์นี้มีปริมาณของเหล็กมากกว่าที่มีอยู่ในระบบสุริยะของเราถึง 3 เท่า. ...

รัสเซียเตรียมกรุยทางส่งมนุษย์เหยียบดาวอังคาร

(17 ก.ค. 45) รัสเซียได้เสนออภิมหาโครงการใหม่ในการส่งมนุษย์อวกาศไปเหยียบดาวอังคารเป็นครั้งแรก โครงการนี้จะเป็นโครงการร่วมขององค์กรทางอวกาศยักษ์ใหญ่ 3 แห่งของโลก คือองค์การอวกาศรัสเซีย องค์การอวกาศยุโรป และนาซา ใช้งบประมาณ 30,000 ล้านดอลลาร์ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น