สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(18 เม.ย. 44) ยานอวกาศของยุโรปที่จะไปสำรวจดาวอังคารในเร็ว ๆ นี้ จะไม่มีเพียงกล้องและสเปกโทรมิเตอร์สารพัดแบบเท่านั้น แต่จะพกไมโครโฟนไปด้วย ไมโครโฟนมูลค่า 100,000 ดอลลาร์ตัวนี้พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ เบิร์กเลย์ สนับสนุนโดยสมาคมดาวเคราะห์ จะถูกติดตั้งบนยาน เนตแลนเดอร์ (NetLander) ขององค์การอวกาศฝรั่งเศสที่มีกำหนดออกเดินทางในปี 2550 ยานลำนี้ประกอบ ...

ซูเปอร์โนวากับการขยายตัวของเอกภพ

(13 เม.ย. 44) ในปี 2540 รอน กิลิแลนด์ จากสถาบันกล้องโทรทรรศน์อวกาศ และ มาร์ก ฟิลลิปส์ จากสถาบันคาร์เนกีแห่งวอชิงตัน ได้ใช้กล้อง WFPC2 ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล สำรวจท้องฟ้าบริเวณหนึ่งที่กล้องฮับเบิลเคยถ่ายภาพห้วงลึกไว้เมื่อปี 2538 และค้นพบซูเปอร์โนวาดวงหนึ่ง ได้ชื่อว่า SN 1997ff ซูเปอร์โนวาดวงใหม่นี้มีค่าการเลื่อนไปทางแดง 1.7 แสดงว่าได้ระเบิด ...

พบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นอีก 11 ดวง

(9 เม.ย. 44) นับตั้งแต่มีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเป็นครั้งแรกเมื่อต้นทศวรรษ 1990 การล่าดาวเคราะห์ได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ มีรายงานการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงใหม่ ๆ แทบทุกเดือน ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีรายงานการค้นพบดาวเคราะห์ใหม่เพิ่มขึ้นอีก 11 ดวงโดยนัก ...

มาร์สโอดิสซีย์สู่ดาวอังคาร

(7 เม.ย. 44) ยานมาร์สโอดีสซี ยานอวกาศลำล่าสุดที่จะออกเดินทางจากโลกสู่ดาวอังคาร กำลังจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดขับดัน เดลตา 2 ในวันที่ 7 เมษายนนี้ ในเวลา 22.02 น. ตามเวลาในประเทศไทย ...

ฮับเบิลพบบริวารของคามิลลา

(28 มี.ค. 44) อีกครั้งที่นักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวเคราะห์น้อยมีบริวารหรืออยู่ในรูปของดาวเคราะห์น้อยคู่ ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้พบว่า 107 คามิลลา (107 Camilla) ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบหลัก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 220 กิโลเมตร มีบริวารขนาด ...

เฮล-บอปป์ยังคึกไม่เลิก

(22 มี.ค. 44) ดาวหางเฮล-บอปป์ (C/1995 O2) ดาวหางใหญ่ที่สุดดวงหนึ่งที่มนุษย์เคยรู้จักได้เข้ามาเยือนสุริยะชั้นใน อวดโฉมให้ชาวโลกได้ชมในช่วงปี 2539-2540 แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานถึง 4 ปีแล้ว แต่ดาวหางเฮล-บอปป์ยังคงสร้างความประหลาดใจให้นักดาราศาสตร์ด้วยการปล่อยหางยาวโค้งและมีโคม่ารูปกรวยแผ่ ...

หลากหลายความเห็นกับร่องธารบนดาวอังคาร

(21 มี.ค. 44) ในที่ประชุมวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ที่ฮูสตันที่จัดขึ้นเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางเพื่ออธิบายการเกิดร่องธารบนดาวอังคาร ปาสคาล ลี จากศูนย์วิจัยเอมส์เชื่อว่าน้ำเป็นตัวทำให้เกิดร่องธารนี้จริง แต่เป็นน้ำเหนือดิน ไม่ใช่น้ำใต้ดิน โดยได้ยก ...

หลุมดำในเซนเทารัสเอ

(16 มี.ค. 44) เซนเทารัสเอ เป็นดาราจักรที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และเป็นดาราจักรที่มีผู้รู้จักมากที่สุดดาราจักรหนึ่ง นักดูดาวจะคุ้นเคยกับรูปร่างที่สวยสะดุดตาของมัน แต่สำหรับนักดาราศาสตร์อาจจะรู้จักดีในฐานะที่เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่งบนท้องฟ้า ความแรงของคลื่นวิทยุในเซนเทารัสเอทำให้นักดาราศาสตร์สันนิษฐานมาเป็นเวลานานว่าที่ใจกลางของดาราจักรนี้น่าจะมีหลุมดำขนาดใหญ่อยู่ แต่การสังเกตการณ์ในย่าน ...

ปริศนาในกระจุกดาวทรงกลม NGC 6752

(13 มี.ค. 44) นักดาราศาสตร์ได้ทราบมานานแล้วว่า ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมเกิดจากก๊าซต้นกำเนิดก้อนเดียวกัน มีคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกัน แต่ผลการสำรวจกระจุกดาว NGC 6752 เมื่อเร็ว ๆ นี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น ...

เฮล-บอปป์หรือโคฮูเทค?

(2 มี.ค. 44) เมื่อปลายปี 2543 มีการค้นพบดาวหางดวงใหม่ ซึ่งวงโคจรและความสว่างของดาวหาง แสดงให้เห็นว่า ดาวหางดวงนี้อาจมีความสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในปลายปี 2544 แต่จากประสบการณ์ในอดีต นักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถชี้ชัดถึงความสว่างที่แท้จริงของดาว ...

ดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวเคราะห์น้อย

(28 ก.พ. 44) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544 ไมเคิล บราวน์ และฌอน-ลุค มาร์กอต แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech) ใช้กล้องโทรทรรศน์ เคก II (Keck II) ขนาด 10 เมตร บนยอดเขามานาเคอาบนเกาะฮาวาย จับภาพของดาว ...

ดวงอาทิตย์สลับขั้วแม่เหล็ก

(24 ก.พ. 44) นักดาราศาสตร์ได้สังเกตพบว่าสนามแม่เหล็กของขั้วดวงอาทิตย์มีการสลับขั้วเปลี่ยนทิศไปในทางตรงกันข้าม เป็นสิ่งที่แสดงว่าวัฏจักรปัจจุบันของดวง ...

ดาวฤกษ์กระเพื่อม

(22 ก.พ. 44) ทีมนักดาราศาสตร์จากออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ค และสวิตเซอร์แลนด์ ใช้กล้องโทรทรรศน์แองโกล-ออสเตรเลียน ขนาด 3.9 เมตร ที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองคูนาบาราบรานในออสเตรเลีย ตรวจวัดการกระเพื่อมของดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ห่างออกไป 24 ปีแสง อัตราการเต้นเป็นจังหวะอย่าง ...

ดาวฤกษ์ถูกสูบกลายเป็นดาวแคระน้ำตาล

(17 ก.พ. 44) สตีฟ บี. ฮาวล์ จากสถาบันวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และ เดวิด อาร์. ชิอาร์ดี จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ยูเคิร์ต หรือ United Kingdom Infrared Telescope ขนาด 3.8 เมตรที่ยอดเขามานาเคอา ฮาวาย สำรวจสเปกตรัมของดาวคู่สองคู่คือ แอลแอล อันโดรเมดา และ อีเอฟ แม่น้ำ สเปกตรัมของดาวคู่แรกพบว่า ...

ไขปริศนาการสูญหายของบรรยากาศดาวอังคาร

(13 ก.พ. 44) หากเราสามารถนำน้ำแก้วหนึ่งไปวางไว้บนพื้นผิวดาวอังคาร น้ำในแก้วนั้นจะระเหยหายไปในเกือบจะทันที เนื่องจากบรรยากาศของดาวอังคารเบาบางมาก (น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของความดันบรรยากาศโลก) จนน้ำในรูปของเหลวไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้เป็นเวลานาน นั่นคือปัญหาสำหรับ ...

จันทราจับภาพดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนมาก

(1 ก.พ. 44) สถานีสังเกตการณ์จันทราสามารถถ่ายภาพของแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ ภายในบริเวณที่มีการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์ ในบริเวณกระจุกดาว NGC 3603 ซึ่งอยู่ในบริเวณแขนกังหันหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก มีระยะห่างจากโลกประมาณ 20,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ ...

ไม่ใช่ดาวเคราะห์อิสระ แต่เป็นดาวแคระน้ำตาล

(30 ม.ค. 44) เมื่อปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์ชาวสหราชอาณาจักรได้รายงานการค้นพบดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์จำนวนหนึ่งในกระจุกดาวทราปีเซียมที่อยู่ในใจกลางเนบิวลานายพราน รายงานชิ้นนั้นเป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นมากในวงการดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ เพราะดาวเคราะห์ที่พบนั้นเป็นดาวเคราะห์อิสระที่ไม่ได้ ...

แคสซีนีมองเห็นสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดี

(29 ม.ค. 44) ภาพล่าสุดจากยานแคสซีนีที่กำลังมุ่งหน้าไปยังดาวเสาร์โดยแวะที่ดาวพฤหัสบดี เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่เข้มข้นรอบดาวพฤหัสบดี ในรูปแบบที่ไม่เคยมียานอวกาศลำใดเคยถ่ายได้มาก่อน ขณะที่ ยานแคสซีนี อาศัย ...

ยูลิสซิสตรวจพบการสลับขั้วของดวงอาทิตย์

(29 ม.ค. 44) เมื่อไม่นานมานี้ยานยูลิสซีส ได้ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจของสนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้คือการสลับขั้วของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันมาก่อนแล้วว่าเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ แต่ครั้งนี้. ...

ยานโพรเกรสเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศมีร์

(28 ม.ค. 44) หลังจากสามวันของการเดินทางสู่สถานีอวกาศมีร์ของยานโพรเกรส ซึ่งจะใช้ลากจูงสถานีอวกาศมีร์ให้ตกลงสู่ผิวโลก ขณะนี้ยานโพรเกรสได้เข้าเชื่อมต่อกับมีร์เรียบร้อยแล้ว ยานโพรเกรส เอ็ม1-5 ซึ่งเป็นไปได้ว่า ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น