(21 มิ.ย. 45) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา เจฟ มาร์ซี จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ กับพอล บัตเลอร์จากสถาบันคาร์เนกีวอชิงตัน สองนักล่าดาวเคราะห์ชั้นนำของโลก ได้รายงานว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่วงโคจรคล้ายคลึงกับดาวพฤหัสบดีมากกว่าดวงอื่น ๆ ที่เคยค้นพบมา ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่เป็นดาวก๊าซขนาดยักษ์คล้ายดาวพฤหัสบดีมานานแล้ว แต่ดาวเคราะห์ยักษ์เหล่านั้นมีวงโคจรเล็กมาก มีรัศมีวงโคจรเล็กกว่า
...
(13 มิ.ย. 45) ในที่ประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกาที่เมืองอัลบูเคอคี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้แสดงผลการสำรวจดวงอาทิตย์ที่ได้จากยาน RHESSI (Ramaty High-Energy Solar Spectroscopic Imager) ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นหลังจากที่ยานได้ออกประจำการ
...
(13 มิ.ย. 45) หลังจากที่ปล่อยให้ดาวเสาร์และดาวยูเรนัสผลัดกันครองแชมป์ลูกดกมาเป็นเวลานาน คราวนี้ก็ถึงเวลาของดาวพฤหัสบดีเสียที เมื่อนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดวงจันทร์ใหม่ของดาวพฤหัสบดีคราวเดียว 11 ดวง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา สก็อตต์ เอส. เชปเพิร์ด และเดวิด ซี. จีวิตต์ จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้สำรวจดาวพฤหัสบดีด้วยกล้องโทรทรรศน์
...
(9 มิ.ย. 45) นักดูดาวทุกคนทราบดีว่า การดูดาวฤกษ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ไม่ว่าจะมีกำลังขยายเท่าใด ก็จะมองเห็นดาวฤกษ์เป็นเพียงจุดสว่างเท่านั้น การจะมองให้เห็นเป็นดวงเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ไม่จริงเสมอไป เพราะคงต้องยกเว้นดวงหนึ่งที่พอจะมองเห็นขนาดของดาวและบรรยากาศได้ ดวงนี้คือ
...
(9 มิ.ย. 45) ใครที่เคยดูภาพยนตร์เรื่องดีปอิมแพกต์เมื่อ 4 ปีก่อน คงยังจำฉากหายนะจากอวกาศได้ติดตา ดาวเคราะห์น้อยได้พุ่งชนโลกที่มหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดมหึมาเข้าถล่มนิวยอร์กและเมืองใหญ่อีกหลายเมือง หลายคนคงอยากรู้ใช่ไหมว่า หากเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นจริง ๆ ผล
...
(5 มิ.ย. 45) นักดาราศาสตร์เคยเชื่อมาเป็นเวลานานว่า นิวเคลียสของดาวหางคือก้อนน้ำแข็งผสมฝุ่นที่เย็นยะเยือก แต่ข้อมูลจากยานดีปสเปซ 1 ที่ได้เฉียดเข้าใกล้ดาวหางบอเรลลี (19P/Borelly) เมื่อปีที่แล้วพบว่าไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์ได้วิเคราะห์สเปกตรัมของนิวเคลียสของดาวหางบอเรลลีพบว่า บนผิวนิวเคลียสไม่มีร่องรอยของแร่ธาตุที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเลย และยังพบว่านิวเคลียสของบอเรลลีมีอุณหภูมิอยู่
...
(14 พ.ค. 45) นักดาราศาสตร์คณะหนึ่ง นำโดย ลูอิซา รีบุล จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและเจพีแอล ได้ใช้กล้อง 30 นิ้วของหอสังเกตการณ์แมกโดนัลด์ สำรวจและวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ในเนบิวลานายพรานและเนบิวลากรวยราว 9,000 ดวง แต่จากจำนวนหลายร้อยดวงที่สามารถวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองได้ รีบัล พบว่ามีหลายดวงที่หมุนรอบตัวเอง
...
(11 พ.ค. 45) ที่ประชุมดาราศาสตร์อเมริกาที่นิวเม็กซิโกเมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้แสดงผลการสำรวจจากหอสังเกตการณ์นิวทริโนแห่งใหม่ของแคนาดาที่เป็นการพิสูจน์ชัดว่า นิวทริโนมีมวลจริง และสามารถไขปริศนานิวทริโนของดวงอาทิตย์ได้อย่างสิ้นเชิง
...
(6 พ.ค. 45) เมื่อวันที่ 30 เมษายน นาซาได้เปิดเผยภาพจากอุปกรณ์เอซีเอสของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นถึงภาพวัตถุท้องฟ้าในแบบที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน อุปกรณ์เอซีเอส (ACS) ย่อมาจาก Advanced Camera for Surveys เป็นอุปกรณ์ตัวใหม่ล่าสุดที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลโดยนักบินอวกาศในภารกิจซ่อมบำรุง
...
(4 พ.ค. 45) เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียนำโดย ฮาร์เวย์ ริเชอร์ ได้ศึกษาหาอายุเอกภพด้วยวิธีการที่ต่างไปจากที่คณะอื่นเคยทำมา แต่ได้ผลลัพธ์ออกมาสอดคล้องกันที่ประมาณ 14,000 ล้านปี
...
(18 เม.ย. 45) เควซาร์คู่หนึ่งในกลุ่มดาวปลาชื่อ Q2345+007A และ Q2345+007B ถูกค้นพบเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน เควซาร์นี้อยู่ใกล้เคียงกันมากเพียง 7.3 พิลิปดา มีสเปกตรัมเหมือนกันและมีค่าการเลื่อนไปทางแดง 2.15 เท่ากัน จากคุณสมบัติที่เหมือนและตำแหน่งที่ใกล้กันมาก ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่าน่าจะเป็นภาพลวงตาจากเลนส์ความโน้มถ่วงมากกว่า หมายความว่าวัตถุคู่นี้เป็นเควซาร์เดี่ยว แต่มีความโน้มถ่วงมหาศาลที่ขวางทางอยู่ระหว่างเควซาร์กับโลก แรงโน้มถ่วงทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของแสงและปรากฏเป็นเควซาร์คู่เมื่อมองจากโลก
...
(16 เม.ย. 45) ดาวเคราะห์น้อย 1950 DA ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อ 52 ปีก่อน แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นอีกเลยมาเป็นเวลาถึงครึ่งศตวรรษ จนกระทั่งปี 2543 ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมทั้งข่าวใหม่มาสะกิดขวัญชาวโลก ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อาจชนโลกในอีก 800 กว่าปีข้างหน้า
...
(13 เม.ย. 45) เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า ในเอกภพมีวัตถุประเภทกระจุกดาวอยู่ 2 ชนิด นั่นคือ กระจุกดาวเปิดและกระจุกดาวทรงกลม ทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ได้พบกระจุกดาวจำนวนหนึ่งที่มีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างกระจุกดาวทั้งสองแบบจนไม่สามารถจัดประเภทให้เข้ากับแบบใดแบบหนึ่งข้างต้นได้
...
(10 เม.ย. 45) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วงการนักดาราศาสตร์เชื่อว่าได้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของพัลซาร์และดาวนิวตรอนเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการค้นพบบางอย่างทำให้นักดาราศาสตร์เริ่มไม่มั่นใจและต้องทบทวนทฤษฎีของพวกเขาอีกครั้ง ตามทฤษฎีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ดาวนิวตรอนเกิดขึ้นจากดาวฤกษ์ที่มีน้ำหนักมาก เมื่อดาวฤกษ์นั้นมีอายุมากจนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในใจกลาง
...
(29 มี.ค. 45) แมรี (MARIE--Matian Radiation Environment Experiment) หนึ่งในสามอุปกรณ์สำคัญของยานมาร์สโอดิสซีย์ กลับมาทำงานได้แล้ว หลังจากหยุดการทำงานไปนานหลายเดือน แมรี เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดความเข้มข้นของรังสีในอวกาศบริเวณใกล้เคียง
...
(23 มี.ค. 45) เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ระบบตรวจจับวัตถุแปลกปลอมอัตโนมัตได้ตรวจพบดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้รับชื่อว่า 2002 EM7 ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่ถอยห่างออกจากโลก แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้แล้วจึงได้พบว่า 2002 EM7 ได้เฉียดเข้าใกล้โลกที่สุดไปเมื่อ 4 วันก่อนหน้านั้นโดยอยู่ห่างเพียง 464,000 กิโลเมตร หรือมากกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์เพียง
...
(16 มี.ค. 45) ปลายปี 2543 เป็นช่วงเวลาที่มีการสำรวจดาวพวฤหัสบดีพร้อม ๆ กันในระยะใกล้จากยานอวกาศ 2 ลำ นั่นคือยานกาลิเลโอ และยานแคสซีนี เป็นโอกาสอันพิเศษสุดที่หาไม่ได้ง่ายนัก ในครั้งนั้น ยานแคสซีนีได้ตรวจพบแสงวาบรังสีเอกซ์ออกมาจากดาวพฤหัสบดีเป็นช่วง ๆ ห่างกันช่วงละ 45 นาที แสงวาบนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2543 และเกิดขึ้นเป็นเวลานาน 10 ชั่วโมง หรือ 1 รอบการหมุนรอบ
...
(13 มี.ค. 45) นักธรณีวิทยาชาวญี่ปุ่น ได้ค้นพบลูกอุกกาบาตจากดาวอังคารขนาดใหญ่จากบริเวณทุ่งน้ำแข็งบนเทือกเขายามาโตะ ในทวีปแอนตาร์กติกา ลูกอุกกาบาตนี้ได้ชื่อว่า
...
(13 มี.ค. 45) เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โครงการฟีนิกซ์ของสถาบันเซติได้เริ่มการสำรวจสิ่งมีชีวิตนอกโลกรอบใหม่ซึ่งจะกินเวลานาน 3 สัปดาห์ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ยักษ์เอริซิโบกวาดสัญญาณจากดาวฤกษ์ใกล้เคียงเพื่อเสาะหาสัญญาณที่อาจจะสร้างขึ้นโดยอารยธรรมนอกพิภพ นักวิทยาศาสตร์ของโครงการได้
...
(11 มี.ค. 45) มาร์คุส ลันด์กราฟ จากองค์การอวกาศยุโรปและคณะได้ค้นพบวงแหวนฝุ่นล้อมรอบระบบสุริยะเป็นครั้งแรก วงแหวนฝุ่นนี้มีระยะเริ่มตั้งแต่วงโคจรของดาวเสาร์ออกไป การค้นพบนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ค้นหาระบบสุริยะอื่น ๆ ในดาราจักรของเราได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกมาก
...