สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาและดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2549

อุปราคาและดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2549

3 มกราคม 2549
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 17 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2549 มีอุปราคาเกิดขึ้นทั้งหมด ครั้ง เป็นสุริยุปราคาและจันทรุปราคาอย่างละสองครั้ง และจะเกิดปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในต้นเดือนพฤศจิกายนซึ่งประเทศไทยสามารถมองเห็นได้ รายละเอียดคร่าว ๆ มีดังนี้

อุปราคาและดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2549
วันที่ปรากฏการณ์รายละเอียดโดยย่อ
15 มีนาคมจันทรุปราคาเงามัวเป็นจันทรุปราคาที่สังเกตความเปลี่ยนแปลงได้ยาก เนื่องจากมีเพียงเงามัวของโลกเท่านั้นที่เข้าบังดวงจันทร์
29 มีนาคมสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เข้าบังดวงอาทิตย์มิดหมดดวง แนวคราสเต็มดวงซึ่งเป็นเส้นทางแคบ ๆ บนผิวโลกเริ่มต้นทางตะวันออกของบราซิล ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกและทวีปแอฟริกา ไปสิ้นสุดในเอเชียกลาง เงามืดของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกที่บราซิล เมื่อเวลา 15.36 น. ตามเวลาประเทศไทย ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 53 วินาที ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น จากนั้นเงามืดเคลื่อนไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็วลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก มุ่งหน้าไปยังทวีปแอฟริกา เงามืดของดวงจันทร์แตะชายฝั่งของประเทศกานาเมื่อเวลา 16.08 น. กึ่งกลางแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 24 วินาที เงามืดเคลื่อนต่อไปยังประเทศโตโก เบนิน ไนจีเรีย ไนเจอร์ ชาด และลิเบีย
กึ่งกลางของแนวคราสซึ่งเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุด (4 นาที วินาที) เกิดขึ้นในเวลา 17.11 น. จากนั้นเงามืดเคลื่อนไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แตะขอบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอียิปต์แล้วเคลื่อนต่อไปยังตุรกี ทะเลดำ จอร์เจีย ทะเลแคสเปียน รัสเซีย คาซัคสถาน แล้วเข้าสู่ตะวันตกเฉียงเหนือของมองโกเลียพร้อมกับสิ้นสุดคราสเต็มดวงเมื่อเวลา 18.48 น. ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 51 วินาที ขณะดวงอาทิตย์ตก บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ครอบคลุมตะวันออกของอเมริกาใต้ แอฟริกา ยุโรป และตะวันตกของเอเชีย
7/8 กันยายนจันทรุปราคาบางส่วนมองเห็นได้ในแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และยุโรป จันทรุปราคาเกิดขึ้นในเวลากลางดึกขณะเข้าสู่วันที่ กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย แต่เห็นได้ในเวลาใกล้รุ่งในออสเตรเลียและเวลาหัวค่ำในยุโรป
22 กันยายนสุริยุปราคาวงแหวนเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ แต่ไม่มิดดวงเนื่องจากขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ลงสู่ตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกโดยไม่ขึ้นฝั่งอีก บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ทวีปอเมริกาใต้ ตะวันตกและทางใต้ของทวีปแอฟริกา รวมทั้งบางส่วนของแอนตาร์กติกา
พฤศจิกายนดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์มองเห็นได้ในเอเชียตะวันออก ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ประเทศไทยเห็นได้ขณะดวงอาทิตย์ขึ้นบนท้องฟ้าทิศตะวันออกจนถึงเวลา 7.11 น. จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงบังหน้ากล้องในการสังเกตการณ์เนื่องจากดาวพุธมีขนาดเล็กมาก หลังจากปีนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์อีกครั้งในวันที่ พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งประเทศไทยจะเห็นในช่วงเริ่มเกิดขณะอาทิตย์อัสดง


จันทรุปราคาบางส่วนในวันที่ 7/8 กันยายน 2549 ดวงจันทร์เริ่มแหว่งในเวลาประมาณ 1.05 น. เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดเวลา 1.51 น. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนเวลา 2.38 น. ดัดแปลงจาก Fred Espenak (NASA/GSFC)