อุปราคาในปี 2557
พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงได้ครั้งเดียวจากอุปราคาทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งประกอบด้วยสุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเต็มดวงอีก 2 ครั้ง เมื่อเกิดอุปราคาขึ้นครั้งใด อีกราว 6,585.32 วัน (18 ปี กับ 10 หรือ 11 วัน) ถัดไปหรือก่อนหน้านั้น จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นด้วย เรียกคาบเวลานี้ว่าซารอส (saros) แบ่งได้เป็นชุด กำหนดลำดับชุดด้วยตัวเลข
ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เอียงทำมุมกันราว5° อุปราคาจะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มีตำแหน่งอยู่ใกล้จุดตัดระหว่างระนาบทั้งสอง จุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนจากใต้ระนาบวงโคจรโลกขึ้นมาเหนือระนาบเรียกว่าจุดโหนดขึ้น (ascending node) จุดที่อยู่ตรงกันข้ามเรียกว่าจุดโหนดลง (descending node) สุริยุปราคาในชุดซารอสที่เป็นเลขคู่จะเกิดที่จุดโหนดลง สุริยุปราคาในชุดซารอสที่เป็นเลขคี่จะเกิดที่จุดโหนดขึ้น ส่วนของจันทรุปราคาจะสลับกัน
1. จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557
2. สุริยุปราคาวงแหวน 29 เมษายน 2557
3. จันทรุปราคาเต็มดวง 8 ตุลาคม 2557
4. สุริยุปราคาบางส่วน 24 ตุลาคม 2557
1.
อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในเวลากลางวันของวันอังคารที่ 15 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย จันทร์เพ็ญอยู่ด้านกลางคืนของโลก เราจึงไม่สามารถสังเกตได้ พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้คืออเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก บางส่วนทางด้านตะวันตกของยุโรปและแอฟริกา ญี่ปุ่น ด้านตะวันออกของออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ดวงจันทร์ปรากฏอยู่ใกล้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาว และจะเห็นดาวอังคารสุกสว่างอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 10°
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา15 เมษายน 2557
1.ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 11:53:37
2.เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 12:58:19
3.เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 14:06:46
4.กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 14:45:39
5.สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 15:24:35
6.สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 16:33:03
7.ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 17:37:36
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่56 ใน 74 ครั้ง ของซารอสที่ 122 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1022-2338 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 22 ครั้ง บางส่วน 8 ครั้ง เต็มดวง 28 ครั้ง บางส่วน 7 ครั้ง และเงามัว 9 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1707 นาน 1 ชั่วโมง 40.1 นาที
2.
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเกิดขึ้นในวันอังคารที่29 เมษายน 2557 ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ พื้นที่เล็ก ๆ ในทวีปแอนตาร์กติกามีโอกาสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ใกล้ขอบฟ้า ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา10:53 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นบางส่วนของเงาคราสวงแหวนจะสัมผัสผิวโลกในช่วงเวลาประมาณ 12:58-13:09 น. โดยแกนกลางของเงาดวงจันทร์จะลอยเหนือโลก โดยไม่สัมผัสกับผิวโลก
กึ่งกลางคราส(Greatest eclipse) ซึ่งเป็นเวลาที่ศูนย์กลางของเงาดวงจันทร์ผ่านใกล้ศูนย์กลางโลกมากที่สุด เกิดขึ้นเวลา 13:03:24 น. จังหวะนั้นเงาคราสวงแหวนแตะทวีปแอนตาร์กติกา เกิดสุริยุปราคาวงแหวนที่ขอบฟ้านานไม่เกิน 50 วินาที จากนั้นสุริยุปราคาครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อเงามัวของดวงจันทร์ออกจากผิวโลกในเวลา 15:14 น.
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของมหาสมุทรอินเดียบางส่วนของมหาสมุทรใต้ ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่ล้อมรอบแอนตาร์กติกา ทั้งหมดของออสเตรเลีย และบางส่วนทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากบริเวณด้านตะวันออกของออสเตรเลีย
สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่21 ใน 75 ครั้งของซารอสที่ 148 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1653-2987 ซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 20 ครั้ง วงแหวน 2 ครั้ง ผสม 1 ครั้ง เต็มดวง 40 ครั้ง และบางส่วน 12 ครั้ง ตามลำดับ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ 22 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2032 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ 5 นาที 23 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2609
3.
จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่2 ของปี เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557 ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา สามารถสังเกตได้ในประเทศไทย โดยจันทรุปราคาได้เริ่มขึ้นก่อนที่ดวงจันทร์จะขึ้นเหนือขอบฟ้า ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวเวลา 15:16 น. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเวลา 16:15 น. และเริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเวลา 17:25 น. จากนั้นดวงจันทร์จะถูกเงาของโลกบังลึกที่สุดเวลา 17:55 น. ทั้ง 4 ช่วงนี้ ประเทศไทยยังไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากดวงจันทร์ยังอยู่ใต้ขอบฟ้า
กรุงเทพฯดวงจันทร์ขึ้นเวลา 18:00 น. ก่อนดวงอาทิตย์ตกไม่กี่นาที จันทรุปราคาเต็มดวงจึงดำเนินอยู่ขณะที่ดวงจันทร์ขึ้น จันทรุปราคาเต็มดวงจะสิ้นสุดลงในเวลา 18:24 น. ขณะนั้นที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกประมาณ 5° ท้องฟ้ายังมีแสงสนธยาอยู่ ดวงจันทร์กลับมาเต็มดวงในเวลา 19:34 น. และออกจากเงามัวเวลา 20:34 น.
พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ
ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เอียงทำมุมกันราว
1. จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557
อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่
2. สุริยุปราคาวงแหวน 29 เมษายน 2557
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเกิดขึ้นในวันอังคารที่
สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา
กึ่งกลางคราส
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของมหาสมุทรอินเดีย
สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่
3. จันทรุปราคาเต็มดวง 8 ตุลาคม 2557
จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่
กรุงเทพฯ
พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย