ดาวหางลู่หลิน (C/2007 N3 Lulin)
จากข้อมูลถึงขณะนี้ ปี 2552 ยังไม่มีดาวหางดวงใดที่สังเกตเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า ดาวหางลู่หลิน (C/2007 N3 Lulin) เป็นดาวหางดวงเดียวที่มีโอกาสจะสว่างถึงระดับที่สังเกตการณ์ได้ไม่ยากนักด้วยกล้องสองตา โดยเฉพาะในคืนที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ภายใต้ฟ้ามืดห่างจากเมืองใหญ่
ดาวหางลู่หลินถูกค้นพบเมื่อวันที่11 กรกฎาคม 2550 จากภาพถ่ายที่หอดูดาวลู่หลินในไต้หวัน โดยเย่ ฉวนจื้อ (Quanzhi Ye) นักศึกษาชาวจีนของมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นบนจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะนั้นดาวหางมีอันดับความสว่างหรือโชติมาตร 18.9 จางกว่าที่ตาเปล่าของมนุษย์จะมองเห็นได้ราว 100,000 เท่า รายงานในตอนแรกระบุว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย ต่อมาสังเกตพบโคม่ามีใจกลางสว่าง อันเป็นลักษณะของดาวหาง
7-8 ในกลุ่มดาวคันชั่ง ใกล้ส่วนหัวของกลุ่มดาวแมงป่อง แต่ยังสังเกตได้ค่อนข้างยากเพราะอยู่สูงจากขอบฟ้าไม่มากนัก กลางเดือนหรือปลายเดือนมกราคม 2552 ดาวหางจะออกห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นและเริ่มสังเกตการณ์ได้ดี ดาวหางเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาวในกลางเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าเป็นช่วงที่มีโชติมาตรประมาณ 6 ปลายเดือนดาวหางเคลื่อนไปอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ สามารถสังเกตได้ทั้งคืนตั้งแต่เวลาหัวค่ำถึงเช้ามืด และโชคดีที่เป็นช่วงที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน
วันที่24 กุมภาพันธ์ 2552 ดาวหางลู่หลินเข้าใกล้โลกมากที่สุดที่ระยะห่าง 0.411 หน่วยดาราศาสตร์ คาดว่าจะมีโชติมาตรราว ๆ 5 หรือ 6 เช้ามืดวันนั้นดาวหางอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของดาวเสาร์ประมาณ 2° วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ดาวหางจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ มันอาจสว่างขึ้นได้เล็กน้อยจากระดับปกติ เนื่องจากวันนั้นดาวหางอยู่ใกล้ระนาบสุริยวิถี หลังจากนั้นจึงจะจางลง
คืนวันที่27 ถึงเช้ามืดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ดาวหางผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะไม่ถึง 1° เข้าสู่กลุ่มดาวปูในช่วงต้นเดือนมีนาคม ผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งในคืนวันที่ 5 ถึงเช้ามืดวันที่ 6 มีนาคม (แสงจันทร์รบกวน) ปลายเดือนมีนาคมคาดว่าดาวหางจะจางลงไปที่โชติมาตร 8
- ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดาวหางมีโชติมาตรเฉลี่ยอยู่ที่ 6.5 มีหางจางมาก 2 หาง ทอดยาวออกไปเกือบตรงข้ามกัน หางที่ดูเหมือนชี้เข้าหาดวงอาทิตย์เรียกว่าหางย้อน (antitail) มีโอกาสเห็นได้เมื่อโลกอยู่ในระนาบใกล้เคียงกับวงโคจรของดาวหาง
วันที่21-22 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่าดาวหางสว่างขึ้นไปที่โชติมาตร 5.2 ซึ่งพอเห็นได้จาง ๆ ด้วยตาเปล่าภายใต้ท้องฟ้าที่ปราศจากแสงไฟและเมฆหมอกรบกวน หัวดาวหางหรือโคม่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-30 ลิปดา การดูดาวหางดวงนี้ควรใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยหาสถานที่ที่ไม่มีแสงไฟรบกวน เมืองใหญ่เห็นได้ยาก เนื่องจากดาวหางไม่สว่างนัก อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นการคาดหมายจากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ ดาวหางเป็นวัตถุที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น อาจจางลงหรือสว่างกว่าที่คาดไว้
แสดงว่านี่อาจเป็นครั้งแรกที่มันเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ระนาบวงโคจรเอียงทำมุม 178° กับระนาบวงโคจรโลก มันจึงเคลื่อนที่สวนทางกับทิศทางการเคลื่อนที่ของโลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2552 ที่ระยะห่าง 1.212 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 181 ล้านกิโลเมตร) ก่อนจะใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ระยะห่าง 0.411 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 61.5 ล้านกิโลเมตร)
หมายเหตุ: วารสารทางช้างเผือก ฉบับคู่มือดูดาว พ.ศ. 2552 ใช้ชื่อดาวหางว่าลูลิน เป็นดาวหางดวงเดียวกัน
Winter's Comet Lulin - skyandtelescope.com
●SkyShow This Month: "Two-Tailed" Comet Nearing Earth - National Geographic
●Newcomet may be visible with the naked eye - New Scientist
●C/2007N3 (Lulin) - cometography.com
●C/2007N3 (Lulin) - IAU: Minor Planet Center
●C/2007N3 (Lulin) - Seiichi Yoshida
●RecentComet Brightness Estimates - ICQ
●ห้องภาพดาวหางลู่หลินจากทั่วโลก- spaceweather.com
ดาวหางลู่หลินถูกค้นพบเมื่อวันที่
ตำแหน่งดาวหางบนท้องฟ้าประเทศไทย
ต้นเดือนมกราคมดาวหางปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดที่โชติมาตรวันที่
คืนวันที่
ความคืบหน้าล่าสุด
ปลายเดือนมกราคมวันที่
วงโคจร
วงโคจรของดาวหางลู่หลินเกือบเป็นพาราโบลาหมายเหตุ
ที่มา
●Catch●Sky
●New
●C/2007
●C/2007
●C/2007
●Recent
●ห้องภาพดาวหางลู่หลินจากทั่วโลก