สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางแมกนอต (C/2006 P1 McNaught)

ดาวหางแมกนอต (C/2006 P1 McNaught)

6 มกราคม 2550
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
โรเบิร์ต แมกนอต ค้นพบดาวหางดวงนี้เมื่อวันที่ สิงหาคม 2549 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 20 นิ้วบนหอดูดาวไซดิงสปริงในออสเตรเลีย ขณะนั้นดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู โชติมาตร 17 จางกว่าดาวพลูโตหลายเท่า มีกำหนดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 12 มกราคม 2550 ด้วยระยะห่างเพียง 0.17 หน่วยดาราศาสตร์ (25.5 ล้านกิโลเมตร) ใกล้กว่าวงโคจรของดาวพุธ

ดาวหางแมกนอตเมื่อวันที่ มกราคม 2550 (ภาพโดย Michael Jager และ Gerald Rhemann) 

ตั้งแต่ราวเดือนธันวาคม 2549 เป็นต้นมา ดาวหางแมกนอตมีตำแหน่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์พร้อมกับสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นมันเริ่มเคลื่อนห่างจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นมุมมองจากโลก แท้จริงระยะห่างระหว่างดาวหางกับดวงอาทิตย์กำลังลดลง

ตำแหน่งคาดหมายของดาวหางแมกนอต ในคอโรนากราฟของดาวเทียมโซโฮ (ภาพโดย SOHO) 

นักดาราศาสตร์ในยุโรปเริ่มสังเกตเห็นดาวหางแมกนอตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์มาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2549 ต่อมาดาวหางมีความสว่างเพิ่มขึ้นอีก มองเห็นได้ดีที่สุดในพื้นที่แถบละติจูดสูง ๆ แต่ประเทศไทยเห็นดาวหางดวงนี้ได้ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เนื่องจากปัจจัยสำคัญ อย่าง คือ ดาวหางอยู่ใกล้ขอบฟ้ามากแม้ในขณะที่ดวงอาทิตย์เพิ่งจะตกลับขอบฟ้า และแสงจากดาวหางต้องเดินทางผ่านบรรยากาศโลกซึ่งหนาแน่นมากในบริเวณใกล้ขอบฟ้า ดาวหางจึงสว่างน้อยกว่าที่ควร

ช่วงที่ดาวหางแมกนอตเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะปรากฏในภาพถ่ายคอโรนากราฟของดาวเทียมโซโฮระหว่างวันที่ 12-16 มกราคม 2550