สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2561

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2561

22 มกราคม 2561
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 24 เมษายน 2561
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
     พ.ศ. 2561 มีสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดขึ้นรวม ครั้ง อันประกอบด้วยจันทรุปราคาเต็มดวง ครั้ง กับสุริยุปราคาบางส่วน ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงทั้งสองครั้ง แต่ไม่อยู่ในพื้นที่ที่เห็นสุริยุปราคา

1. จันทรุปราคาเต็มดวง 31 มกราคม 2561

     วันพุธที่ 31 มกราคม 2561 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง สามารถสังเกตได้ในประเทศไทยตั้งแต่ท้องฟ้าเริ่มมืดหลังดวงอาทิตย์ตก จันทรุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อดวงจันทร์แตะเงามัวของโลกในเวลา 17:51 น. ซึ่งขณะนั้นส่วนใหญ่ของประเทศไทยดวงอาทิตย์ยังไม่ตกและดวงจันทร์ยังไม่ขึ้น เมื่อเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนหรือดวงจันทร์เริ่มแหว่งเว้าในเวลา 18:48 น.  ดวงจันทร์จะอยู่เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงย 
     ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 19:52 21:08 น. แต่ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท เห็นเป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เพราะแสงอาทิตย์หักเหและกระเจิงผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ จากนั้นดวงจันทร์ทั้งดวงจะออกจากเงามืดหรือสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 22:11 น. แม้เราจะเห็นดวงจันทร์กลับมาเต็มดวงแล้ว แต่ดวงจันทร์ยังดูหมองคล้ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง สิ้นสุดปรากฏการณ์อย่างสมบูรณ์เมื่อดวงจันทร์ออกจากเงามัวในเวลา 23:09 น.
     ขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวปู มีกระจุกดาวเปิดที่มีชื่อเสียงคือกระจุกดาวรังผึ้ง ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง กระจุกดาวรังผึ้งอยู่สูงเหนือดวงจันทร์ประมาณ 5° ขณะบังเต็มที่เมื่อดวงจันทร์เข้าใกล้ศูนย์กลางเงาโลกมากที่สุดในเวลา 20:30 น. ศูนย์กลางเงาอยู่ห่างขอบดวงจันทร์ออกไปเล็กน้อยทางทิศเหนือ ทำให้คาดหมายได้ว่าพื้นที่ด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางขวามือเมื่อมองขึ้นไปบนฟ้าน่าจะสว่างกว่าอีกด้านหนึ่ง
     นอกจากประเทศไทย บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกของยุโรป ด้านตะวันออกของแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย เอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก และบางส่วนของแอนตาร์กติกา

แนวการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาโลก ขณะเกิดจันทรุปราคา 31 มกราคม 2561 

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 31 มกราคม 2561
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก17:51:13
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน18:48:27
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง19:51:47
4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด (ขนาดอุปราคา 1.3155)20:29:50
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง21:07:52
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน22:11:13
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก23:08:31


2. สุริยุปราคาบางส่วน 16 กุมภาพันธ์ 2561

     วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 เกิดสุริยุปราคาบางส่วนเมื่อเงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 01:56 05:47 น. ตามเวลาประเทศไทย บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาอยู่ใกล้ขั้วโลกใต้ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของแอนตาร์กติกา และทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้ จุดที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งเว้าลึกที่สุดอยู่ในแอนตาร์กติกา ด้วยขนาดอุปราคา 0.599 (ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังร้อยละ 59.9 วัดตามเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์)


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 16 กุมภาพันธ์ 2561
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก01:55:50.6ละติจูด 62° 26.1′ ลองจิจูด 144° 26.9′ E
2. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.5991)03:51:24.4ละติจูด 71° 05.6′ ลองจิจูด 0° 52.0′ E
3. เงามัวออกจากผิวโลก05:47:10.3ละติจูด 35° 23.4′ ลองจิจูด 59° 15.6′ W


3. สุริยุปราคาบางส่วน 13 กรกฎาคม 2561

     วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เกิดสุริยุปราคาบางส่วนเมื่อเงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 08:48 11:14 น. ตามเวลาประเทศไทย บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาอยู่ในซีกโลกใต้ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รวมถึงบางส่วนของแอนตาร์กติกา โดยจุดที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งเว้าลึกที่สุดอยู่ในแอนตาร์กติกา ด้วยขนาดอุปราคา 0.336


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 13 กรกฎาคม 2561
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก08:48:23.3ละติจูด 52° 56.3′ ลองจิจูด 96° 24.4′ E
2. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.3365)10:01:07.0ละติจูด 67° 55.6′ ลองจิจูด 127° 28.2′ E
3. เงามัวออกจากผิวโลก11:13:46.7ละติจูด 57° 52.4′ ลองจิจูด 168° 19.8′ E


4. จันทรุปราคาเต็มดวง 28 กรกฎาคม 2561

     หลังเวลาเที่ยงคืนของคืนวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม เข้าสู่วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเป็นครั้งที่ ของปี ประเทศไทยสามารถสังเกตได้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ โดยเมื่อเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน หรือดวงจันทร์เริ่มแหว่งเว้า ดวงจันทร์จะอยู่สูงทางทิศตะวันตก  ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 02:30 04:13 น.
     จันทรุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลาเต็มดวงยาวนานถึง ชั่วโมง 43 นาที สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะดวงจันทร์มีเส้นทางเกือบผ่านกลางเงาโลก ขณะบังเต็มที่เวลา 03:22 น. ศูนย์กลางเงาโลกจะอยู่บนดวงจันทร์โดยค่อนไปทางทิศใต้ ทำให้คาดหมายได้ว่าพื้นที่ด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางขวามือเมื่อมองขึ้นไปบนฟ้าน่าจะสว่างกว่าด้านทิศใต้ นอกจากนี้หากไม่มีเมฆมากนัก ผู้ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง
     วันนั้นดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล กลุ่มดาวนี้ไม่มีดาวสว่าง แต่บังเอิญว่าตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เราจึงเห็นดาวอังคารเป็นดาวสว่างเด่นอยู่ห่างไปทางทิศใต้หรือซ้ายมือของดวงจันทร์เมื่อเทียบกับระนาบขอบฟ้าที่ระยะ 
     นอกจากประเทศไทย บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกของอเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรป แอฟริกา เอเชีย มหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และแอนตาร์กติกา

แนวการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาโลก ขณะเกิดจันทรุปราคา 28 กรกฎาคม 2561 

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 28 กรกฎาคม 2561
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก00:14:47
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน01:24:27
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง02:30:15
4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด (ขนาดอุปราคา 1.6089)03:21:44
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง04:13:13
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน05:19:02
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก06:28:41


5. สุริยุปราคาบางส่วน 11 สิงหาคม 2561

     วันที่ 11 สิงหาคม 2561 เกิดสุริยุปราคาบางส่วนเมื่อเงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 15:02 18:31 น. ตามเวลาประเทศไทย บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาอยู่ในซีกโลกเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ตอนเหนือของยุโรป และด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย จุดที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งเว้าลึกที่สุดอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย ด้วยขนาดอุปราคา 0.737


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 11 สิงหาคม 2561
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก15:02:07.1ละติจูด 57° 47.1′ ลองจิจูด 54° 50.3′ W
2. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.7368)16:46:18.9ละติจูด 70° 26.1′ ลองจิจูด 174° 40.8′ E
3. เงามัวออกจากผิวโลก18:30:44.3ละติจูด 34° 44.3′ ลองจิจูด 109° 28.4′ E