สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2561

ดาวเคราะห์ในปี 2561

5 เมษายน 2561 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อีก ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์


แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2561 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี

ดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุด ด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด คนบนโลกจึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาที่ท้องฟ้าไม่มืดสนิท ประเทศไทยเห็นเฉพาะในเวลาหัวค่ำหรือเช้ามืด

ปี 2561 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ช่วง ช่วงแรกต่อเนื่องมาจากปลายเดือนธันวาคม 2560 ไปจนถึงปลายเดือนมกราคม ซึ่งดาวพุธจะอยู่ใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ 13 มกราคม ช่วงที่ คือกลางเดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ช่วงที่ อยู่ในปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน และช่วงสุดท้ายอยู่ในเดือนธันวาคม โดยดาวพุธจะอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 22 ธันวาคม

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี ช่วง ช่วงแรกอยู่ในเดือนมีนาคม โดยมีดาวศุกร์อยู่ทางซ้ายมือของดาวพุธ ช่วงที่ คือกลางเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคม ช่วงสุดท้ายคือปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน โดยมีดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างไปทางขวามือของดาวพุธ

ตำแหน่งสำคัญของดาวพุธเทียบกับดวงอาทิตย์ในปี 2561
ร่วมทิศแนววงในเม.ย. ส.ค. 27 พ.ย.
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด ม.ค. (23°) 30 เม.ย. (27°) 27 ส.ค. (18°) 15 ธ.ค. (21°)
ร่วมทิศแนววงนอก 17 ก.พ. มิ.ย. 21 ก.ย. -
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด 15 มี.ค. (18°) 12 ก.ค. (26°) พ.ย. (23°) -


ดาวศุกร์


เข้าสู่ปี 2561 เรายังไม่เห็นดาวศุกร์เนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์จะอยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในวันที่ มกราคม โดยมีดวงอาทิตย์คั่นกลางระหว่างโลกกับดาวศุกร์ หลังจากนั้นดาวศุกร์จะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นอย่างช้า ๆ เริ่มปรากฏเป็นดาวประจำเมืองบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตั้งแต่ราวกลางเดือนกุมภาพันธ์โดยอยู่ใกล้ขอบฟ้าและอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

ต้นเดือนมีนาคม ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวปลาโดยมีดาวพุธมาอยู่ใกล้ เดือนเมษายนดาวศุกร์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแกะและกลุ่มดาววัว คืนวันที่ 24-25 เมษายน ดาวศุกร์อยู่ทางซ้ายมือของกระจุกดาวลูกไก่ที่ระยะห่าง 3.5° ดาวศุกร์ยังคงปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปจนถึงราวกลางเดือนตุลาคม

ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจะเริ่มสังเกตได้ว่าตำแหน่งของดาวศุกร์ในแต่ละวันเริ่มขยับไปทางใต้ (ซ้ายมือ) มากขึ้น มีวันที่น่าสนใจคือวันที่ 20 มิถุนายน ดาวศุกร์จะผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งในกลุ่มดาวปูที่ระยะ 0.8° และวันที่ 10 กรกฎาคม ดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะ 1.0°

เดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 18 สิงหาคม จากนั้นวันที่ กันยายน ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาวที่ระยะ 1.2° เดือนกันยายน ดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวสว่างอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งเริ่มเข้าใกล้ดาวศุกร์มากขึ้น แต่ก่อนที่ดาวเคราะห์สว่างสองดวงนี้จะใกล้กัน ดาวศุกร์จะเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์อย่างรวดเร็ว ทำให้มีตำแหน่งอยู่ใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นและตกเร็วขึ้นทุกวัน

เมื่อเข้าสู่เดือนตุลาคม ดาวศุกร์จะเข้าสู่เขตของกลุ่มดาวคันชั่ง แล้วถอยกลับไปสู่กลุ่มดาวหญิงสาว กลางเดือนหากไม่มีเมฆฝนเป็นอุปสรรคมากนัก จะเป็นช่วงที่ดาวพุธขึ้นมาปรากฏอยู่ห่างไปทางขวามือของดาวศุกร์ และเป็นช่วงสุดท้ายที่มีโอกาสเห็นดาวศุกร์ หลังจากนั้นดาวศุกร์จะหายเข้าไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์ โดยมีตำแหน่งอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 26 ตุลาคม

ต้นเดือนพฤศจิกายน ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้เริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ที่เราเรียกว่าดาวประกายพรึก โดยผ่านใกล้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาวอีกครั้งในวันที่ 15 พฤศจิกายน ด้วยระยะห่าง 1.2° แล้วเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่งในกลางเดือนธันวาคม

ภาพวาดแสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ 

ดาวอังคาร


ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลก ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเฉลี่ยทุก ปี เดือน วงโคจรของดาวอังคารที่เป็นวงรี ทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง ส่วนใหญ่ดาวอังคารที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ มีเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ดาวอังคารจะใกล้โลกจนใหญ่พอสำหรับการสังเกตรายละเอียดบนพื้นผิว

ปี 2561 เป็นปีที่ดีที่สุดในรอบ 15 ปี สำหรับการสังเกตดาวอังคาร เนื่องจากดาวอังคารจะผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในเดือนกรกฎาคม ต้นปีดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดโดยอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีในกลุ่มดาวคันชั่ง ใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ มกราคม ที่ระยะห่างเพียง 0.2°

เมื่อเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ ดาวอังคารจะผ่านกลุ่มดาวแมงป่องและคนแบกงู เป็นช่วงที่ดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวแอนทาเรสหรือดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง ซึ่งดาวดวงนี้มีชื่อที่แปลว่าคู่แข่งหรือเทียบเท่าดาวอังคาร มาจากการที่ทั้งคู่มีสีค่อนไปทางแดงคล้ายกัน ที่น่าสนใจคือช่วงนี้ดาวทั้งสองมีความสว่างใกล้เคียงกันด้วย เน้นย้ำความคล้ายกันระหว่างดาวอังคารกับแอนทาเรส

กลางเดือนมีนาคม ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู จากนั้นผ่านใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ เมษายน ที่ระยะ 1.3° กลางเดือนพฤษภาคมเข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเล การที่โลกซึ่งมีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าและเคลื่อนที่เร็วกว่า ได้เข้ามาใกล้ดาวอังคารมากขึ้น ทำให้ตำแหน่งดาวอังคารในมุมมองจากโลกเริ่มเคลื่อนที่ถอยหลังเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์

ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 27 กรกฎาคม เป็นช่วงที่ดาวอังคารมีความสว่างมากที่สุดด้วยโชติมาตร –2.8 ซึ่งสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี เห็นได้ตลอดทั้งคืนตั้งแต่หัวค่ำถึงเช้ามืด โลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ระยะห่าง 0.385 หน่วยดาราศาสตร์ (58 ล้านกิโลเมตร) วันนั้นดาวอังคารมีขนาดปรากฏใหญ่สุดที่ 24.3 พิลิปดา นับว่าใกล้โลกที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จึงมีขนาดเกือบใกล้เคียงกับขนาดใหญ่สุดที่เป็นไปได้ (25.1 พิลิปดา) และเราจะไม่เห็นดาวอังคารสว่างและใหญ่เท่านี้อีกจนถึง พ.ศ. 2578

ที่น่าสนใจเป็นพิเศษนอกจากการเข้าใกล้โลกของดาวอังคารในปีนี้ คือในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม เข้าสู่เช้ามืดวันที่ 28 กรกฎาคม จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ ของปี เราจึงเห็นดาวอังคารเป็นดาวสว่างเด่น อยู่ห่างไปทางทิศใต้ของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาด้วยระยะห่าง 6° หลังจากเดือนกรกฎาคม ดาวอังคารมีความสว่างลดลงและมีขนาดปรากฏในกล้องโทรทรรศน์เล็กลงเนื่องจากเคลื่อนห่างโลกมากขึ้น ปลายเดือนสิงหาคม ดาวอังคารถอยเข้าไปในเขตของกลุ่มดาวคนยิงธนูเล็กน้อย ก่อนจะกลับมาเคลื่อนที่เดินหน้าเข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเลอีกครั้ง

กลางเดือนพฤศจิกายน ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ คืนวันที่ ธันวาคม เป็นคืนที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีกล้องโทรทรรศน์ ดาวอังคารจะผ่านใกล้ดาวเนปจูนโดยเข้าใกล้กันที่สุดในเวลา ทุ่ม ด้วยระยะห่างเพียง ลิปดา จากนั้นดาวอังคารจะย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวปลาในปลายเดือนธันวาคม

ดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อ พ.ศ. 2544 (ภาพ – NASA/Hubble Heritage Team (STScI/AURA)) 

ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งอาจไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ 

ดาวพฤหัสบดี


ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งเกือบตลอดทั้งปี 2561 ต้นปีสังเกตได้ดีในเวลาเช้ามืด โดยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ต้นเดือนมกราคม ดาวอังคารจะผ่านมาใกล้ดาวพฤหัสบดี เข้าใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ มกราคม ที่ระยะห่างเพียง 0.2°

กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° โดยห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีขึ้นเหนือขอบฟ้าราวเที่ยงคืน แล้วเคลื่อนไปอยู่สูงที่สุดบนท้องฟ้าทิศใต้ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ พฤษภาคม 2561 ดาวพฤหัสบดีอยู่ที่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร –2.5 สังเกตได้ตลอดทั้งคืน

ต้นเดือนสิงหาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° โดยห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก จากนั้นเคลื่อนต่ำลงจนตกลับขอบฟ้าราวเที่ยงคืน ปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงสุดท้ายที่มีโอกาสเห็นดาวพฤหัสบดี วันท้าย ๆ ของเดือนตุลาคม ดาวพุธจะปรากฏอยู่ทางซ้ายมือของดาวพฤหัสบดี หลังจากนั้น ดาวพฤหัสบดีจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้ มีตำแหน่งอยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนพฤศจิกายน

กลางเดือนธันวาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นจนเริ่มสังเกตได้ในเวลาเช้ามืด โดยอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของกลุ่มดาวนี้คั่นอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับคนยิงธนู ปลายเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่ดาวพุธจะผ่านมาอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีอีกครั้ง เห็นได้ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และในช่วงเดียวกันนั้น จะเห็นดาวศุกร์อยู่สูงกว่าดาวพฤหัสบดี

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีแบ่งได้เป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้ 

        
วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2561
ดาวเคราะห์ วันที่ โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวพฤหัสบดี พฤษภาคม -2.5
ดาวเสาร์ 27 มิถุนายน +0.0
ดาวอังคาร 27 กรกฎาคม -2.8
ดาวเนปจูน กันยายน +7.8
ดาวยูเรนัส 24 ตุลาคม +5.7


ดาวเสาร์


ดาวเสาร์อยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2560 หลังจากนั้นจะทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้นจนเริ่มปรากฏในเวลาเช้ามืดในกลุ่มดาวคนยิงธนู เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ นอกเหนือจากดาวพุธ ดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี ที่สังเกตได้ในเวลาเดียวกัน วันที่ 13 มกราคม 2561 ดาวเสาร์จะอยู่ใกล้ดาวพุธที่ระยะห่าง 0.7°

ต้นเดือนเมษายน ดาวอังคารเคลื่อนมาอยู่ใกล้ดาวเสาร์ที่ระยะห่าง 1.3° วันที่ 27 มิถุนายน ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร 0.0 ดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าให้สังเกตได้ในเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปจนถึงราวกลางเดือนธันวาคม ก่อนจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้ โดยอยู่แนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในต้นเดือนมกราคม 2562

ปี 2561 มีสองช่วงที่เรามีโอกาสสังเกตดาวเคราะห์สว่างทั้ง ดวง ปรากฏบนท้องฟ้าในเวลาเดียวกัน ช่วงแรกเกิดขึ้นในเวลาหัวค่ำของปลายเดือนกรกฎาคม ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และดาวอังคาร โดยเรียงจากดวงที่อยู่ทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก แต่ดาวพุธจะมีความสว่างน้อยและอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก อาจสังเกตได้ยาก อีกช่วงหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาหัวค่ำของกลางเดือนตุลาคม เรียงลำดับเหมือนกับช่วงแรก แต่ดาวพุธกับดาวศุกร์จะอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตก และดาวอังคารปรากฏอยู่สูงทางทิศใต้

ภาพถ่ายวงแหวนดาวเสาร์จากยานแคสซีนี แสดงวงหลัก A, B, กับวงที่ไม่ชัดนัก คือวง ที่อยู่ด้านใน และวง ที่อยู่ด้านนอก 

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวง 

ดาวยูเรนัส


ต้นปี 2561 ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวปลา เดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคมอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก โดยดาวศุกร์ผ่านมาใกล้ในวันที่ 28-29 มีนาคม หลังจากนั้นเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนสังเกตได้ยาก ดาวยูเรนัสอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 18 เมษายน 2561 แล้วกลับมาให้สังเกตได้อีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดราวกลางเดือนพฤษภาคม โดยเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ ก่อนจะถอยกลับไปอยู่ในกลุ่มดาวปลาอีกครั้งในต้นเดือนธันวาคม ปีนี้ดาวยูเรนัสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 24 ตุลาคม 2561 สว่างที่โชติมาตร +5.7 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.7 พิลิปดา

ดาวเนปจูน


ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ มีความสว่างน้อยจึงจำเป็นต้องสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ เดือนมกราคมดาวเนปจูนอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์โดยอยู่ร่วมทิศในวันที่ มีนาคม 2561 เริ่มสังเกตได้อีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดราวต้นเดือนเมษายน ปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ กันยายน 2561 สว่างที่สุดในรอบปีด้วยโชติมาตร +7.8 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.4 พิลิปดา

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยมีเส้นบอกตำแหน่งทุกวันแรกของเดือน (1 มกราคม 2561, กุมภาพันธ์ 2561, ..., 13 มกราคม 2562, 14 กุมภาพันธ์ 2562) ขนาดของวงกลมดาวในภาพ กำหนดตามความสว่าง ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่สำหรับดาวเนปจูนมีโชติมาตร