สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคา จันทรุปราคา และดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2562

สุริยุปราคา จันทรุปราคา และดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2562

21 กันยายน 2562
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 22 ธันวาคม 2562
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
     พ.ศ. 2562 มีสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดขึ้นรวม ครั้ง อันประกอบด้วยจันทรุปราคา ครั้ง กับสุริยุปราคา ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาและสุริยุปราคาอย่างละครั้ง โดยทั้งสองครั้งเป็นแบบบางส่วน ปีนี้ดาวพุธจะเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในเดือนพฤศจิกายน แต่ไม่สามารถเห็นได้จากประเทศไทย

1. สุริยุปราคาบางส่วน มกราคม 2562

     วันที่ มกราคม 2562 เกิดสุริยุปราคาบางส่วน เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 06:34 10:49 น. ตามเวลาประเทศไทย บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาครอบคลุมพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย บางส่วนของอะแลสกา และตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งเว้าลึกที่สุดอยู่ในไซบีเรีย ทางตะวันออกของรัสเซีย โดยมีขนาดอุปราคาเท่ากับ 0.715 (ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บัง 71.5% วัดตามเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์)


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา มกราคม 2562
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก06:34:08.9ละติจูด 41° 30.6′  119° 24.5′ E
2. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.71455)08:41:28.4ละติจูด 67° 26.1′  153° 34.4′ E
3. เงามัวออกจากผิวโลก10:48:50.2ละติจูด 43° 07.4′  168° 41.2′ W


2. จันทรุปราคาเต็มดวง 21 มกราคม 2562


     วันที่ 21 มกราคม 2562 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงซึ่งไม่สามารถเห็นได้ประเทศไทย เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน หรือดวงจันทร์เริ่มแหว่งเว้าในเวลา 10:34 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงระหว่างเวลา 11:41 12:43 น. แต่ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท เห็นเป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เพราะแสงอาทิตย์หักเหและกระเจิงผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดในเวลา 13:51 น. บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา โดยอเมริกาเห็นจันทรุปราคาในค่ำวันที่ 20 มกราคม ส่วนยุโรปและแอฟริกาเห็นจันทรุปราคาในเช้ามืดวันที่ 21 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 21 มกราคม 2562
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก09:36:28
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน10:33:54
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง11:41:16
4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด (ขนาดอุปราคา 1.1956)12:12:17
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง12:43:18
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน13:50:41
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก14:48:04


3. สุริยุปราคาเต็มดวง 2-3 กรกฎาคม 2562

     วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2562 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ได้มิดทั้งดวง สังเกตสุริยุปราคาเต็มดวงได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก สุริยุปราคาครั้งนี้แนวคราสเต็มดวงเริ่มต้นทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก จากนั้นขึ้นฝั่งที่ทวีปอเมริกาใต้ โดยผ่านชิลีและอาร์เจนตินา ก่อนจะไปสิ้นสุดใกล้ชายฝั่งตะวันออกของอาร์เจนตินา ที่จุดกลางคราสในมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 33 วินาที ขณะเงามืดแตะประเทศชิลี ที่แนวกลางคราสเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 36 วินาที สำหรับที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวคราสเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนานประมาณ นาที

     สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 23:55 04:51 น. ตามเวลาประเทศไทย ศูนย์กลางเงามืดที่ทำให้เกิดคราสเต็มดวงสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 01:02 03:44 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกและอเมริกาใต้ ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 2-3 กรกฎาคม 2562
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก23:55:13.3ละติจูด 23° 53.1′ ลองจิจูด 151° 56.4′ W
2. ศูนย์กลางเงามืดเริ่มสัมผัสผิวโลก01:02:19.9ละติจูด 37 39.5′ ลองจิจูด 160° 25.5′ W
3. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 1.04593)02:22:57.9ละติจูด 17° 23.4′ ลองจิจูด 108° 59.9′ W
4. ศูนย์กลางเงามืดออกจากผิวโลก03:43:36.4ละติจูด 35° 47.6′ ลองจิจูด 57° 42.5′ W
5. เงามัวออกจากผิวโลก04:50:38.4ละติจูด 21° 57.4′ ลองจิจูด 66° 29.6′ W


4. จันทรุปราคาบางส่วน 17 กรกฎาคม 2562

     เช้ามืดวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2562 เกิดจันทรุปราคาบางส่วนเห็นได้ในประเทศไทย เมื่อดวงจันทร์เริ่มแหว่งเว้าในเวลา 03:02 น.  ดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันตก (กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงย 36 องศา) เมื่อมองขึ้นไปจะเห็นว่าขอบด้านบนของดวงจันทร์เริ่มแหว่งก่อน จากนั้นเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุดเวลา 04:31 น. พื้นที่ส่วนใหญ่ของผิวด้านสว่างจะถูกเงามืดบัง เหลือให้เห็นเป็นเสี้ยว โดยเงาโลกอยู่ทางทิศเหนือ (ขวามือ) ของดวงจันทร์ จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดในเวลา 06:00 น. เป็นเวลาใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงจันทร์ตกสำหรับกรุงเทพฯ ส่วนจังหวัดที่อยู่ด้านตะวันออกของประเทศไทย จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงจันทร์ตกก่อนที่จันทรุปราคาบางส่วนจะสิ้นสุด

     คืนนั้นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ดาวเสาร์อยู่ห่างดวงจันทร์ไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางเชิงมุมประมาณ องศา นอกจากประเทศไทย บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ของเอเชีย ยกเว้นด้านตะวันออกเฉียงเหนือ แอฟริกา ยุโรป ยกเว้นตอนเหนือของสแกนดิเนเวีย และส่วนใหญ่ของอเมริกาใต้ ซึ่งบางพื้นที่ยังเป็นวันที่ 16 กรกฎาคม ตามเวลาท้องถิ่น

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 17 กรกฎาคม 2562
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก01:43:51
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน03:01:43
3. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด (ขนาดอุปราคา 0.6531)04:30:44
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน05:59:41
6. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก07:17:39


5d2a9bca3bf79191173576

5. ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ 11-12 พฤศจิกายน 2562

     วันที่ 11 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ดาวพุธโคจรมาอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เกิดปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ สังเกตได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงปิดหน้ากล้อง หรือการสังเกตการณ์ทางอ้อมโดยใช้การฉายแสงดวงอาทิตย์ลงบนฉากรับภาพ ดาวพุธจะปรากฏเป็นดวงกลมขนาดเล็กสีดำอยู่ในดวงอาทิตย์

     ปรากฏการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างเวลา 19:35 01:04 น. จึงไม่เห็นในประเทศไทย บริเวณที่เห็นได้คือด้านตะวันตกของรัสเซีย ตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกา อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ ยกเว้นตอนเหนือสุดของทวีป ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก และนิวซีแลนด์ สำหรับประเทศไทย ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งถัดไปที่เห็นได้จะเกิดในช่วงบ่ายถึงเย็นของวันที่ 13 พฤศจิกายน 2575

6. สุริยุปราคาวงแหวน 26 ธันวาคม 2562

     วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562 เกิดสุริยุปราคาวงแหวน ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ บังดวงอาทิตย์ไม่มิด มีลักษณะปรากฏคล้ายวงแหวน เราเห็นสุริยุปราคาชนิดนี้ได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก สุริยุปราคาครั้งนี้แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นในตะวันออกกลาง ผ่านซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน จากนั้นลงสู่ทะเลอาหรับ

     แนวคราสวงแหวนเคลื่อนผ่านอินเดียและศรีลังกา หลังจากผ่านมหาสมุทรอินเดียจะไปขึ้นฝั่งที่อินโดนีเซีย ผ่านมาเลเซีย สิงคโปร์ ทางใต้สุดของเกาะมินดาเนาในฟิลิปปินส์ สิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยผ่านเกาะกวม จุดกลางคราสของสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้อยู่ในทะเลใกล้อินโดนีเซียและสิงคโปร์ ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 40 วินาที (สิงคโปร์อยู่ในแนวที่ขอบเขตด้านทิศเหนือของแนวคราสวงแหวนลากผ่าน จะเห็นสุริยุปราคาวงแหวนได้ก็ต่อเมื่ออยู่ทางตอนใต้ของเกาะ หากอยู่ทางตอนเหนือจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน) สำหรับที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวคราสเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ นาที

     สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 09:30 15:06 น. ตามเวลาประเทศไทย ศูนย์กลางเงาที่ทำให้เกิดคราสวงแหวนสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 10:36 13:59 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ตะวันออกกลาง ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา ส่วนใหญ่ของเอเชียและมหาสมุทรอินเดีย บางส่วนทางเหนือและตะวันตกของออสเตรเลีย ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 26 ธันวาคม 2562
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก09:29:51.0ละติจูด 17° 47.3′ ลองจิจูด 60° 33.8′ E
2. ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลก10:36:03.8ละติจูด 25° 59.1′ ลองจิจูด 48° 12.3′ E
3. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.97010)12:17:43.3ละติจูด 1° 00.5′ ลองจิจูด 102° 14.9′ E
4. ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนออกจากผิวโลก13:59:25.5ละติจูด 18° 54.0′ ลองจิจูด 156° 42.4′ E
5. เงามัวออกจากผิวโลก15:05:43.5ละติจูด 10° 37.3′ ลองจิจูด 143° 59.8′ E


     ประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาในวันนี้ได้โดยเห็นเป็นแบบบางส่วน คือ ดวงอาทิตย์แหว่งเนื่องจากถูกดวงจันทร์บังไปบางส่วน โดยต้องใช้แผ่นกรองแสงสำหรับดูดวงอาทิตย์ เส้นทางคราสวงแหวนอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของประเทศไทย ภาคใต้จึงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกมากกว่าภาคอื่น กรุงเทพฯ เกิดสุริยุปราคาบางส่วนระหว่างเวลา 10:18 – 13:58 น. ดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดในเวลา 12:05 น. โดยดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ไปเป็นสัดส่วน ใน วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือคิดเป็นพื้นที่ 57% ของวงกลมดวงอาทิตย์

(ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สุริยุปราคา 26 ธันวาคม 2562)