สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2563

ดาวเคราะห์ในปี 2563

25 ธันวาคม 2562 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ส่วนดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์


แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2563 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี

ดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์วงใน อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดในระบบสุริยะ ด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด คนบนโลกจึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาที่ท้องฟ้าไม่มืดสนิท ประเทศไทยเห็นดาวพุธได้เฉพาะในเวลาหัวค่ำหรือเช้ามืดเท่านั้น

ปี 2563 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ช่วง ช่วงแรกในเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน ช่วงที่ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม และช่วงสุดท้ายอยู่ในเดือนพฤศจิกายน

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำของปีนี้มี ช่วง โดยช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่ คือกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน โดยมีดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวพุธ เข้าใกล้กันที่สุดในค่ำวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ระยะเชิงมุม 0.9° ช่วงสุดท้ายเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม


ดาวศุกร์


ดาวศุกร์อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำที่เราเรียกว่าดาวประจำเมืองต่อเนื่องมาจากปี 2562 ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล จากนั้นเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ค่ำวันที่ 27 มกราคม ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวเนปจูนที่ระยะ 0.4° ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดาวศุกร์จะเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวปลา ต้นเดือนมีนาคมย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ ค่ำวันที่ มีนาคม ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวยูเรนัสที่ระยะ 2.2°

วันที่ 25 มีนาคม ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด จากนั้นช่วงสิ้นเดือนมีนาคม ดาวศุกร์จะเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาววัว ค่ำวันที่ 3-4 เมษายน จะเห็นดาวศุกร์อยู่ในกระจุกดาวลูกไก่ ต้นเดือนพฤษภาคมเริ่มสังเกตได้ว่าดาวศุกร์เคลื่อนลงต่ำใกล้ขอบฟ้าเร็วขึ้นเมื่อเทียบตำแหน่งในเวลาหัวค่ำของทุกวัน เนื่องจากดาวศุกร์กำลังทำมุมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ค่ำวันที่ 22 พฤษภาคม ดาวพุธมาอยู่ทางซ้ายมือของดาวศุกร์ที่ระยะห่าง 0.9° หลังจากนั้นจะเริ่มสังเกตดาวศุกร์ได้ยากขึ้น

วันที่ มิถุนายน ดาวศุกร์เคลื่อนมาอยู่แนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ กลางเดือนมิถุนายน เราจะมีโอกาสเห็นดาวศุกร์บนท้องฟ้าเวลากลางคืนได้อีกครั้งโดยย้ายไปเป็นดาวประกายพรึกบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ต้นเดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านพื้นที่ของกลุ่มดาวนายพราน ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 13 สิงหาคม จากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ ผ่านกลุ่มดาวปูและกลุ่มดาวสิงโต เช้ามืดวันที่ ตุลาคม จะเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวหัวใจสิงห์ที่ระยะห่างเพียง 0.1°

ปลายเดือนตุลาคม ดาวศุกร์ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว จากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่งในปลายเดือนพฤศจิกายน เดือนสุดท้ายของปี ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแมงป่องและคนแบกงู ช่วงสิ้นปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 ยังคงสามารถเห็นดาวศุกร์ได้ โดยอยู่ใกล้ขอบฟ้าในช่วงที่ท้องฟ้าเริ่มสว่าง

ภาพวาดแสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ 

ดาวอังคาร


ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลก ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ที่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเฉลี่ยทุก ปี เดือน วงโคจรของดาวอังคารที่เป็นวงรี ทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง หากวันที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับวันที่ผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะมีขนาดใหญ่และสว่างมากเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่ดาวอังคารที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ มีเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ดาวอังคารจะใกล้โลกจนใหญ่พอสำหรับการสังเกตรายละเอียดบนพื้นผิว

พ.ศ. 2563 เป็นปีที่ดีสำหรับการสังเกตดาวอังคาร เนื่องจากดาวอังคารจะผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในเดือนตุลาคม ทำให้มีความสว่างมาก ขณะสว่างที่สุดจะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี ช่วงแรกของปี ดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด เดือนมกราคม ดาวอังคารเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคันชั่ง แมงป่อง และคนแบกงู กลางเดือนกุมภาพันธ์ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู

เวลาเช้ามืดตลอดช่วงต้นเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน ดาวเคราะห์สว่าง ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ปรากฏบนท้องฟ้าให้เห็นได้พร้อมกัน ระหว่างนี้ดาวอังคารจะผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 21 มีนาคม ที่ระยะ 0.8° และผ่านใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ เมษายน ที่ระยะ 0.9° ซึ่งช่วงที่อยู่ใกล้ดาวเสาร์ ดาวอังคารจะอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล

เดือนพฤษภาคม ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ผ่านใกล้ดาวเนปจูนในเช้ามืดวันที่ 14 มิถุนายน ที่ระยะ 1.6° แล้วเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวปลาและกลุ่มดาวซีตัส ต้นเดือนกันยายน ดาวอังคารเริ่มปรากฏเคลื่อนที่ถอยหลังเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์เบื้องหลัง เป็นสัญญาณว่าดาวอังคารกำลังจะผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

วงโคจรที่เป็นวงรีทำให้วันที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุดกับวันที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ไม่ใช่วันเดียวกัน ดาวอังคารจะอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ ตุลาคม 2563 เวลาประมาณ ทุ่ม ขณะนั้นอยู่ห่างโลก 0.4149 หน่วยดาราศาสตร์ (62.1 ล้านกิโลเมตร) สว่างที่โชติมาตร –2.5 โดยมีตำแหน่งอยู่ในกลุ่มดาวปลา เช้ามืดวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ดาวอังคารจะเคลื่อนมาอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือมีตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก ขณะนั้นความสว่างเพิ่มขึ้นไปที่โชติมาตร –2.6

หลังจากผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดาวอังคารจะปรากฏเป็นดาวเด่นอยู่ทางทิศตะวันออกในเวลาหัวค่ำของทุกวัน ความสว่างของดาวอังคารลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะห่างที่ไกลจากโลกมากขึ้น แต่ยังเห็นสว่างโดดเด่นท่ามกลางท้องฟ้าส่วนที่ไม่มีดาวฤกษ์สว่างดวงอื่นอยู่ใกล้เคียง กลางเดือนพฤศจิกายน ดาวอังคารจะกลับมาเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เข้าสู่กลุ่มดาวแกะในต้นเดือนมกราคม 2564

ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งมักไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ 

ดาวพฤหัสบดี


ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู เริ่มสังเกตดาวพฤหัสบดีได้ตั้งแต่ราวสัปดาห์ที่ ของเดือนมกราคม เป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอจนเริ่มปรากฏใกล้ขอบฟ้าในเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เดือนกุมภาพันธ์ เมื่อดาวเสาร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าให้เห็นได้ในเวลาเดียวกัน เราจะเห็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่สองดวงนี้มีตำแหน่งเข้าใกล้กันอย่างช้า 

เดือนมีนาคม ดาวอังคารซึ่งเคลื่อนมาจากทิศตะวันตกของดาวพฤหัสบดี จะเข้ามาใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 21 มีนาคม กลางเดือนเมษายน ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° โดยอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่สูงที่สุดบนท้องฟ้าทิศใต้ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น กลางเดือนพฤษภาคม ดาวพฤหัสบดีเริ่มหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ถอยหลังในมุมมองจากโลก ทำให้ดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์อยู่ห่างกันมากขึ้น 

วันที่ 14 กรกฎาคม 2563 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร –2.8 สังเกตได้ตลอดทั้งคืน กลางเดือนกันยายน ดาวพฤหัสบดีเริ่มหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่เดินหน้าในมุมมองจากโลก ทำให้ดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์เริ่มเข้าใกล้กันมากขึ้นอีกครั้ง กลางเดือนตุลาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° โดยห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก

เมื่อถึงกลางเดือนธันวาคม ทั้งดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์จะย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเล และอยู่ใกล้กันที่สุดในคืนวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ที่ระยะห่าง 6.1 ลิปดา เป็นการเข้าใกล้กันมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2543 ขณะนั้นอยู่ห่างกัน 1.1° ครั้งถัดไป ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์จะอยู่ใกล้กันในวันที่ 31 ตุลาคม 2583 ที่ระยะ 1.1° ซึ่งทั้งสองครั้งอยู่ห่างกันมากกว่าปีนี้

เมื่อค้นย้อนไปในอดีตและอนาคต ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ไม่เคยปรากฏอยู่ใกล้กันมากเท่าปีนี้มาเป็นระยะเวลานานเกือบ 400 ปี คือตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1623 ครั้งนั้นอยู่ห่างกัน 5.2 ลิปดา ส่วนครั้งถัดไปที่จะอยู่ใกล้กันพอ ๆ กับปีนี้จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดของวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2080 (พ.ศ. 2623)

ปลายเดือนธันวาคม 2563 ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์จะทำมุมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนเริ่มสังเกตได้ยาก แต่ยังพอจะสังเกตได้หากท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆหมอกบดบังเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกในช่วงพลบค่ำ

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีแบ่งได้เป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้ 

        
วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2563
ดาวเคราะห์ วันที่ โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวพฤหัสบดี 14 กรกฎาคม -2.8
ดาวเสาร์ 21 กรกฎาคม +0.1
ดาวเนปจูน 12 กันยายน +7.8
ดาวอังคาร 14 ตุลาคม -2.6
ดาวยูเรนัส 21 ตุลาคม +5.7


ดาวเสาร์


ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู กลางเดือนมกราคม 2563 จะผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ หลังจากนั้นเมื่อใกล้สิ้นเดือนมกราคม ดาวเสาร์จะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอจนเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ปลายเดือนมีนาคม ดาวเสาร์เข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเล

วันที่ เมษายน ดาวอังคารเคลื่อนมาอยู่ใกล้ดาวเสาร์ ต้นเดือนกรกฎาคม ดาวเสาร์ถอยกลับไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร +0.1

ดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำของทุกวันต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี กลางเดือนธันวาคม ดาวเสาร์เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเลอีกครั้ง มีดาวพฤหัสบดีมาอยู่ใกล้ดาวเสาร์ในปลายเดือนธันวาคม โดยเข้าใกล้กันที่สุดในคืนวันที่ 21 ธันวาคม ที่ระยะห่าง 0.1°

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวง 

ดาวยูเรนัส


ตลอดปีนี้ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวแกะ สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตลอดช่วง เดือนแรกของปี ห่างดวงอาทิตย์เป็นมุม 90° ในปลายเดือนมกราคม และมีดาวศุกร์ผ่านมาอยู่ใกล้ในวันที่ มีนาคม ต้นเดือนเมษายน ดาวยูเรนัสเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนเริ่มสังเกตได้ยาก หลังจากอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 26 เมษายน ปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน ดาวยูเรนัสทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้เริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด มุมห่างจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจนกระทั่งตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในต้นเดือนสิงหาคม และอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 สว่างที่โชติมาตร +5.7 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.8 พิลิปดา

ดาวเนปจูน


ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ มีความสว่างน้อยจึงจำเป็นต้องสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ เดือนมกราคมดาวเนปจูนอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก ดาวศุกร์ผ่านมาอยู่ใกล้ในวันที่ 27 มกราคม หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนเริ่มสังเกตได้ยาก ดาวเนปจูนอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ มีนาคม เริ่มสังเกตได้อีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในราวกลางเดือนเมษายน มุมห่างจากดวงอาทิตย์ของดาวเนปจูนเพิ่มขึ้นจนเป็นมุม 90° ในกลางเดือนมิถุนายน ดาวอังคารมาอยู่ใกล้ในวันที่ 14 มิถุนายน ปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 12 กันยายน 2563 สว่างที่โชติมาตร +7.8 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.4 พิลิปดา หลังจากนั้นเริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ กลางเดือนธันวาคมอยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นมุม 90°

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยมีเส้นบอกตำแหน่งทุกวันแรกของเดือน (1 มกราคม 2563, กุมภาพันธ์ 2563, ..., 13 มกราคม 2564, 14 กุมภาพันธ์ 2564) ขนาดของดาวในภาพสอดคล้องกับความสว่าง ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่สำหรับดาวเนปจูนมีโชติมาตร