สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ท้องฟ้ารายสัปดาห์

ท้องฟ้ารายสัปดาห์

22–28 กรกฎาคม ดวงจันทร์บังดาวเสาร์

23 กรกฎาคม 2567 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด

22–28 กรกฎาคม 2567

★ จันทร์, 22 กรกฎาคม ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด (13:39 น. 26.9° ตะวันออก)
★ อังคาร, 23 กรกฎาคม ดาวพลูโตอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (12:38 น.)


★ พุธ, 24 กรกฎาคม ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด (12:41 น. ระยะห่าง 364,917 กม. ขนาดปรากฏ 32′ 45″)

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี ห่างโลกด้วยระยะทางเฉลี่ยราว 384,400 กิโลเมตร ดวงจันทร์สามารถเข้ามาใกล้และไกลโลกมากกว่านี้ได้อีกราว 25,000 กิโลเมตร บนวงโคจรของดวงจันทร์จึงมีจุดใกล้โลกที่สุดกับจุดไกลโลกที่สุดอยู่ตรงข้ามกัน ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด ขนาดปรากฏของดวงจันทร์จะใหญ่กว่าที่ระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 7% ดวงจันทร์ผ่านจุดใกล้โลกที่สุดเฉลี่ยทุก ๆ 27.5 วัน ระยะห่างที่จุดใกล้โลกที่สุดในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นในระบบสุริยะ

★ พฤหัสบดี, 25 กรกฎาคม เวลาเช้ามืด ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ สังเกตได้ทั่วประเทศ (กรุงเทพฯ เริ่ม 03:11 น. สิ้นสุด 04:27 น.)

แผนภาพแสดงแนวการเคลื่อนที่ของดาวเสาร์เทียบกับดวงจันทร์ระหว่างดวงจันทร์บังดาวเสาร์ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

★ ศุกร์, 26 กรกฎาคม ดวงจันทร์อยู่ที่จุดโหนดขึ้น (12:32 น.)

ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเอียงทำมุมประมาณ 5° กับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เราเรียกจุดตัดระหว่างระนาบทั้งสองว่าจุดโหนด มี จุด อยู่ตรงข้ามกัน จุดโหนดขึ้นเป็นจุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นมาทางเหนือ จุดโหนดลงเป็นจุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงไปทางใต้ หากจันทร์ดับเกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์ผ่านใกล้จุดใดจุดหนึ่ง จะมีโอกาสเกิดสุริยุปราคา ในทำนองเดียวกัน หากจันทร์เพ็ญเกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์ผ่านใกล้จุดใดจุดหนึ่ง จะมีโอกาสเกิดจันทรุปราคา

★ เสาร์, 27 กรกฎาคม ดาวพุธผ่านจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดบนวงโคจร (22:29 น. ระยะห่าง 0.46670 หน่วยดาราศาสตร์)
★ อาทิตย์, 28 กรกฎาคม จันทร์กึ่งข้างแรม (09:52 น.)


จันทร์กึ่งข้างแรม หรือจันทร์กึ่งหลัง เป็นวันที่มองเห็นดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ใกล้เคียงกับวันแรม 7-8 ค่ำ ตามปฏิทินจันทรคติ ดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นผิวดวงจันทร์ในมุมต่าง ๆ ทำให้เกิดข้างขึ้น-ข้างแรม จันทร์กึ่งข้างแรมเป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกเป็นมุม 90° เราจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าราวเที่ยงคืน จากนั้นเคลื่อนไปอยู่สูงบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด

29 กรกฎาคม–4 สิงหาคม 2567

★ จันทร์-อังคาร, 29-30 กรกฎาคม คืนนี้ ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้มีอัตราสูงสุด
★ อังคาร, 30 กรกฎาคม เวลาเช้ามืด ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร 7° อยู่ใกล้ดาวยูเรนัส 6° และบังดาวฤกษ์บางดวงของกระจุกดาวลูกไก่ในกลุ่มดาววัว
★ พุธ, 31 กรกฎาคม เวลาเช้ามืด ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีที่ระยะ 
★ พฤหัสบดี, สิงหาคม ดวงจันทร์มีเดคลิเนชันไปทางเหนือมากที่สุด (28.5°) (12:52 น.)
★ เสาร์, สิงหาคม เวลาเช้ามืด ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพอลลักซ์ในกลุ่มดาวคนคู่ที่ระยะ 2° (ใกล้ขอบฟ้า)
★ อาทิตย์, สิงหาคม จันทร์ดับ (18:13 น.)

ดาวเคราะห์ในเดือนกรกฎาคม 2567


ดาวพุธและดาวศุกร์อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์ที่เหลือสังเกตได้ดีบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 22 กรกฎาคม ในกลุ่มดาวสิงโต สังเกตได้ตลอดทั้งเดือนโดยมีความสว่างลดลงจากโชติมาตร -0.5 ไปที่ 0.9 กลางเดือนดาวศุกร์ (โชติมาตร -3.9) ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์จนเริ่มสังเกตได้ในกลุ่มดาวปู จากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโตในช่วงท้าย ๆ ของเดือน

เวลาเช้ามืดมองเห็นดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.0 ถึง -2.1) เป็นดาวสว่างเด่นอยู่ในกลุ่มดาววัว ต้นเดือนดาวอังคาร (โชติมาตร 1.0 ถึง 0.9) อยู่ในกลุ่มดาวแกะ กลางเดือนย้ายเข้าสู่กลุ่มดาววัวและผ่านใกล้ดาวยูเรนัสในเช้ามืดวันที่ 16 กรกฎาคมที่ระยะ 0.5° ดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีเข้าใกล้กันมากขึ้นทุกวัน จะใกล้กันที่สุดในเดือนถัดไป

ดาวเสาร์ (โชติมาตร 0.9) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เดือนนี้มีปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ในเช้ามืดวันที่ 25 กรกฎาคม ซึ่งสามารถสังเกตได้ทั่วประเทศ

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

ดูเพิ่ม


★ แผนที่ฟ้าออนไลน์
★ ดาวเคราะห์ในปี 2567
★ ฝนดาวตกในปี 2567
★ สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2567
★ ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ 25 กรกฎาคม 2567
★ 
ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย
★ เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ขึ้น-ตก
★ เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
★ คาดหมายการเห็นจันทร์เสี้ยว
★ สารพันคำถามดาราศาสตร์