จันทรุปราคาบางส่วน : 17 ตุลาคม 2548
หลังดวงอาทิตย์ตกของคืนวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2548 หากท้องฟ้าไม่มีเมฆมากนัก เราจะมองเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ซึ่งพื้นผิวส่วนหนึ่งของดวงจันทร์จะผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ทำให้ดวงจันทร์ที่ปกติสว่างเต็มดวง มีการแหว่งเว้าที่ขอบดวงเข้าไปเล็กน้อย จันทรุปราคาเกิดขึ้นระหว่างเวลา 18.34 น. ถึง 19.32 น. ดวงจันทร์จะแหว่งมากที่สุดในเวลา 19.03 น. แล้วค่อย ๆ กลับมาเต็มดวงอีกครั้ง
นอกจากประเทศไทยส่วนอื่นของโลกที่เห็นปรากฏการณ์นี้พร้อมกัน ได้แก่ บางส่วนของทวีปแอนตาร์กติกา ออสเตรเลีย ตอนกลางและทางตะวันออกของทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือยกเว้นด้านตะวันออก และอเมริกากลาง
จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญขณะที่โลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์แต่ไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้งที่จันทร์เพ็ญเนื่องจากส่วนใหญ่ดวงจันทร์ไม่ผ่านเข้าไปในเงาโลก อันเป็นผลจากการที่ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์กับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่ซ้อนทับกัน แต่ทำมุมเอียงประมาณ 5 องศา ทำให้เกิดจุดตัด 2 จุดในรอบปี ที่ทำให้มีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้
จันทรุปราคาครั้งถัดไปที่มองเห็นได้ในประเทศไทยเป็นจันทรุปราคาบางส่วนอีกเช่นกันซึ่งเกิดขึ้นในกลางดึกของคืนวันที่ 7/8 กันยายน พ.ศ. 2549
นอกจากประเทศไทย
จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญขณะที่โลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์
จันทรุปราคาครั้งถัดไปที่มองเห็นได้ในประเทศไทยเป็นจันทรุปราคาบางส่วนอีกเช่นกัน