ดาวหางมัคโฮลซ์ (C/2004 Q2 Machholz)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าโดนัลด์ มัคโฮลซ์ เป็นชื่อนักดูดาวที่คุ้นหูกันดีโดยเฉพาะท่านที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับดาวหาง วันที่ 27 สิงหาคม ที่ผ่านมา เขาค้นพบดาวหางดวงหนึ่งปรากฎอยู่ในกลุ่มดาวแม่น้ำ นับเป็นดาวหางดวงที่ 10 หลังจากใช้เวลาล่าดาวหางเป็นเวลาถึง 1,457 ชั่วโมง นับจากการค้นพบครั้งก่อนของเขา
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลประกาศการค้นพบนี้ในจดหมายเวียนฉบับที่8394 ออกในวันเดียวกัน ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบและมีหมายเลขกำกับเป็นดาวหางมัคโฮลซ์ (C/2004 Q2 Machholz) หมายถึงดาวหางดวงที่ 2 ที่ค้นพบในปักษ์หลังของเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 ดาวหางดวงนี้มีวงโคจรที่รีมากจนเกือบเป็นพาราโบลา ขณะค้นพบดาวหางมีโชติมาตร 11 จากข้อมูลวงโคจร มันจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2548 (ตามเวลาสากล) ด้วยระยะห่าง 1.205 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 180 ล้านกิโลเมตร) แต่ก่อนหน้านั้นคาดว่าอาจมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กตลอดช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้
ข้อมูลวงโคจรเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้แสดงว่าดาวหางมัคโฮลซ์มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด(perihelion) ในตำแหน่งที่ไกลกว่าวงโคจรโลก หากเราไปอยู่ในอวกาศ ขณะที่มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจะเห็นดาวหางอยู่ด้านเดียวกับโลก ดังนั้นดาวหางมัคโฮลซ์จึงมีตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์เกือบตลอดทั้งคืน
มัคโฮลซ์เป็นชาวอเมริกันอาศัยอยู่ในเมืองโคลแฟกซ์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เริ่มสนใจดาราศาสตร์ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เขาล่าดาวหางมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 นับถึงปัจจุบันใช้เวลากวาดท้องฟ้าตามหาดาวหางเป็นเวลารวมนานกว่า 7,000 ชั่วโมง มัคโฮลซ์ค้นพบดาวหางดวงแรกในปี พ.ศ. 2521 ที่น่าทึ่งคือในปี พ.ศ. 2537 เขาค้นพบดาวหางดวงใหม่ถึง 3 ดวงภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน กล้องโทรทรรศน์ที่มัคโฮลซ์ใช้ล่าดาวหางเป็นกล้องโทรทรรศน์นิวตันแบบสะท้อนแสง (กระจกเว้ารับแสง) ขนาดหน้ากล้อง 6 นิ้ว เอฟ/8 กำลังขยาย 30 เท่า รุ่นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นในทศวรรษ 1960 และ 1970
ดาวหางมีแนวโน้มที่จะสว่างที่สุดในเดือนมกราคม 2548 ที่โชติมาตร 4 นั่นหมายความว่าเรามีโอกาสมองเห็นดาวหางมัคโฮลซ์ได้ไม่ยากด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์
อย่างไรก็ดีนักดาราศาสตร์ย้ำเตือนเสมอเกี่ยวกับการพยากรณ์ความสว่างของดาวหางว่ามีความไม่แน่นอนสูง ดาวหางลีเนียร์และดาวหางนีตเมื่อต้นปี ที่มีความสว่างน้อยกว่าที่คาดว่าราว 1-2 โชติมาตร เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการคาดเดาการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวหาง
5 ธันวาคม ขณะนั้นดาวหางมีโชติมาตร 5.3 มีตำแหน่งอยู่ในกลุ่มดาวแม่น้ำใกล้กับกลุ่มดาวกระต่ายป่า ทางใต้ของกลุ่มดาวนายพราน ระยะนี้ดาวหางจะขึ้นสูงสุดบนท้องฟ้าในเวลาประมาณเที่ยงคืน
ตลอดครึ่งแรกของเดือนธันวาคมเพื่อหลีกเลี่ยงแสงจันทร์ ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับดูดาวหางที่สุด คือ ก่อนเที่ยงคืนไปจนถึงเวลาหลังเที่ยงคืนเล็กน้อย แต่ละคืน ดาวหางจะเคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งไปอย่างช้าๆ มุ่งสู่ทิศเหนือค่อนไปทางตะวันตกพร้อมกับความสว่างที่เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ คาดว่าวันที่ 15 ธันวาคม ดาวหางมัคโฮลซ์จะมีโชติมาตร 4.7
วันที่16-19 ธันวาคม แสงจันทร์จะเริ่มรบกวน จนต้องเริ่มดูดาวหางในเวลาดึกขึ้นเพื่อรอให้ดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้าไปก่อน หลังจากนั้น ดวงจันทร์จะรบกวนการดูดาวหางตลอดทุกคืน อาจเริ่มสังเกตดาวหางได้อีกครั้งในวันที่ 29 ธันวาคม เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงหลังจากท้องฟ้าเริ่มมืดสนิท
ไม่กี่วันก่อนสิ้นปีไปจนถึงกลางเดือนมกราคมจะมองเห็นดาวหางมัคโฮลซ์ได้ดีนับจากท้องฟ้าเริ่มมืดไปจนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนหรือหลังจากนั้นเล็กน้อย ดาวหางอยู่ในกลุ่มดาววัวและจะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 ด้วยระยะทาง 52 ล้านกิโลเมตร และส่องสว่างด้วยโชติมาตร 3.6 คืนวันที่ 7 มกราคม ดาวหางดวงนี้จะผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่ด้วยระยะเชิงมุมไม่ถึง 3 องศา หลังจากนั้นดวงจันทร์จะกลับมารบกวนการดูดาวหางอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 16-26 มกราคม
วันที่27 มกราคม อาจเริ่มดูดาวหางได้อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ดาวหางกำลังจะเข้าสู่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และเริ่มมีมุมเงยไม่สูงนักจากขอบฟ้า พร้อมกับความสว่างที่ลดลงไปอยู่ที่โชติมาตร 4.1 หลังจากนี้ไปดาวหางจะเคลื่อนเข้าใกล้ดาวเหนือมากขึ้นทุกวัน และค่อย ๆ จางลงจนมีความสว่างจางกว่าโชติมาตร 6.0 ในต้นเดือนมีนาคมเป็นต้นไป
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลประกาศการค้นพบนี้ในจดหมายเวียนฉบับที่
ข้อมูลวงโคจรเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้แสดงว่าดาวหางมัคโฮลซ์มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
มัคโฮลซ์เป็นชาวอเมริกัน
ความสว่างของดาวหาง
จากข้อมูลความสว่างของดาวหางมัคโฮลซ์นับจากค้นพบจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนอย่างไรก็ดี
การดูดาวหางมัคโฮลซ์จากประเทศไทย
นักดูดาวสมัครเล่นในประเทศไทยที่มีกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์อาจเริ่มสังเกตดาวหางมัคโฮลซ์ได้ตั้งแต่คืนวันที่ตลอดครึ่งแรกของเดือนธันวาคม
วันที่
ไม่กี่วันก่อนสิ้นปีไปจนถึงกลางเดือนมกราคม
วันที่