ดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดี : 19 กรกฎาคม 2544
หากว่าท้องฟ้าในเวลาเช้ามืดของวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2544 แจ่มใสเพียงพอ คนไทยทั้งประเทศจะสามารถมองเห็นดวงจันทร์ปรากฏอยู่ใกล้กับดาวพฤหัสบดีบนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก ซึ่งดวงจันทร์จะอยู่ไม่สูงมากนักจากขอบฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่บางส่วนของประเทศ คือ 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส ที่มีโอกาสจะมองเห็นปรากฏการณ์ที่ไม่ใช่การผ่านใกล้กันของดวงจันทร์กับดาวเคราะห์ตามปกติ แต่จะสามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดีหายลับไปเบื้องหลังดวงจันทร์ได้ เรียกว่าการบังกันหรือ occultation ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก
ล่าสุดที่ดวงจันทร์เข้าบังดาวพฤหัสบดีมองเห็นในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 31 ตุลาคม 2541 ปรากฏการณ์ดวงจันทร์ผ่านเข้าบังดาวพฤหัสบดีในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ ยังจะสามารถมองเห็นได้จากมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มหาสมุทรอินเดีย และบางส่วนทางชายฝั่งด้านทิศเหนือของออสเตรเลียด้วย
ดวงจันทร์ในเช้ามืดของวันที่19 จะปรากฏเป็นเสี้ยว มีส่วนสว่างเป็นเสี้ยวอยู่เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ ดวงจันทร์และดาวพฤหัสบดีซึ่งปรากฏอยู่ทางซ้ายมือของดวงจันทร์ จะขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ 4.00 น. ซึ่งเร็วกว่าที่มองดูจากภาคใต้ในบริเวณที่มองเห็นการบังกันอยู่เล็กน้อย จึงน่าจะมองเห็นดวงจันทร์ได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังจากนี้ ซึ่งดวงจันทร์และดาวพฤหัสบดีจะเคลื่อนสูงขึ้น โดยที่ท้องฟ้าจะเริ่มสว่างขึ้นในเวลาประมาณ 5.00 น. ในเวลานี้ หากว่าไม่มีเมฆในบริเวณใกล้ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกยังอาจจะมองเห็นดาวพุธได้ ซึ่งกำลังมีอันดับความสว่างอยู่ที่ -0.6 ซึ่งสว่างพอสมควรทีเดียว
คือ นอกเหนือ 5 จังหวัดภาคใต้แล้ว ด้วยตาเปล่าจะสามารถมองเห็นดวงจันทร์และดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้กันได้ แต่กล้องสองตาจะช่วยขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น และยังมีโอกาสมองเห็นดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีได้อีกด้วย ขณะที่กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายปานกลางถึงสูงจะช่วยให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มองเห็นปรากฏการณ์ มองเห็นดาวพฤหัสบดีค่อย ๆ หายลับไปเบื้องหลังดวงจันทร์ได้ โดยดวงจันทร์จะใช้เวลาในการบังดาวพฤหัสบดีแตกต่างกันตามแต่สถานที่ที่สังเกตการณ์
จะเห็นดาวพฤหัสบดีหายลับไปเบื้องหลังดวงจันทร์ในเวลาประมาณ 5.30 น. โดยเวลาจะแตกต่างจากนี้อยู่ไม่กี่นาที ขึ้นอยู่กับสถานที่ๆ ทำการสังเกตการณ์ และขณะที่เกิดการบังกันนั้น ดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้าประมาณ 16-20 องศา เวลาและลักษณะของการเกิดในอำเภอเมืองของ 5 จังหวัดภาคใต้เป็นไปตามตาราง
อย่างไรก็ตามขณะที่เกิดการบังกันดวงจันทร์อยู่ไม่สูงนักจากขอบฟ้าและท้องฟ้าค่อนข้างสว่างขึ้นบ้างแล้ว ถ้าหากมีเมฆฝนก็อาจเป็นอุปสรรคในการติดตามปรากฏการณ์ในวันนี้ ส่วนความสว่างของท้องฟ้าอาจรบกวนอยู่บ้าง แต่ด้วยเหตุที่ดาวพฤหัสบดีค่อนข้างสว่างจึงน่าจะดูได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ ปีนี้ดวงจันทร์จะเข้าบังดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่ง คือ ดาวเสาร์ สามารถมองเห็นได้จากประเทศไทยในเวลาใกล้เที่ยงคืนของคืนวันที่ 7 ตุลาคม 2544 โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือของประเทศ
ล่าสุดที่ดวงจันทร์เข้าบังดาวพฤหัสบดีมองเห็นในประเทศไทย
ดวงจันทร์ในเช้ามืดของวันที่
ดูอย่างไร
หากว่าอยู่ในพื้นที่ของประเทศที่ไม่มีโอกาสมองเห็นการบังกันเวลาที่เกิดปรากฏการณ์
สำหรับบริเวณเขตที่มองเห็นการบังกันในวันนี้จังหวัด | ลักษณะที่เห็น | เวลา |
---|---|---|
ยะลา | ดาวพฤหัสบดีถูกบังทั้งดวง | 05:31:01-05:47:57 |
นราธิวาส | ดาวพฤหัสบดีถูกบังทั้งดวง | 05:29:20-05:50:05 |
สงขลา | ดาวพฤหัสบดีเฉียดผ่านดวงจันทร์แต่ไม่เกิดการบังกัน | ใกล้กันมากที่สุดเวลา |
สตูล | ดาวพฤหัสบดีเฉียดผ่านดวงจันทร์แต่ไม่เกิดการบังกัน | ใกล้กันมากที่สุดเวลา |
ปัตตานี | ดาวพฤหัสบดีถูกบังบางส่วน | บังลึกที่สุดเวลา |
อย่างไรก็ตาม