ดวงจันทร์บังดาวหัวใจสิงห์ : 1 ธันวาคม 2550
บนท้องฟ้ามีดาวฤกษ์อยู่มากมายกับดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอีก 5 ดวง และยังมีดวงจันทร์เป็นบริวารเคลื่อนที่รอบโลก ดังนั้นจึงมีบ่อยครั้งที่ดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ ทำให้คนบนพื้นโลกมองเห็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการบังกัน (occultation) ซึ่งอาจเปรียบได้กับการเกิดสุริยุปราคา แต่คราวนี้วัตถุที่ถูกดวงจันทร์บังไม่ใช่ดวงอาทิตย์ เป็นดาวที่อยู่ไกลออกไปมากจนเห็นเป็นเพียงจุดสว่าง และการสังเกตปรากฏการณ์นี้ก็ต้องกระทำในเวลากลางคืน
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวหัวใจสิงห์ที่จะเกิดในช่วงหลังเที่ยงคืนของคืนวันศุกร์ที่30 พฤศจิกายน หรือถ้าให้ถูกตามหลักการเปลี่ยนวันในเวลาเที่ยงคืนก็จะตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม 2550 ดวงจันทร์อยู่ในช่วงข้างแรมโดยพื้นผิวดวงจันทร์มีพื้นที่สว่างมากกว่าครึ่งดวง ทำให้ด้านสว่างของดวงจันทร์เคลื่อนเข้าบังดาวก่อน ดาวที่จะถูกดวงจันทร์บังในวันนี้มีชื่อว่าดาวหัวใจสิงห์หรือเรกูลัส (Regulus) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสิงโต การบังเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่งโดยขณะนั้นจะเห็นดวงจันทร์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออก รออีกประมาณหนึ่งชั่วโมงดาวหัวใจสิงห์จะโผล่ออกมาที่ขอบด้านมืดของดวงจันทร์
แต่ละพื้นที่ของประเทศไทยเห็นปรากฏการณ์ได้ไม่พร้อมกันเช่น
●กรุงเทพฯเวลา 0.27 - 1.33 น.
●เชียงใหม่เวลา 0.30 - 1.24 น.
●นครราชสีมาเวลา 0.28 - 1.33 น.
●นครศรีธรรมราชเวลา 0.28 - 1.36 น.
●ประจวบคีรีขันธ์เวลา 0.26 - 1.34 น.
●ระยองเวลา 0.27 - 1.35 น.
●อุบลราชธานีเวลา 0.29 - 1.36 น.
สำหรับจังหวัดอื่นสามารถคะเนเวลาได้จากจังหวัดในภูมิภาคเดียวกัน
อุปกรณ์ที่แนะนำสำหรับการสังเกตการบังกันคือกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ที่มีฐานยึดและขาตั้งตาเปล่าจะสังเกตปรากฏการณ์ชนิดนี้ได้ไม่ชัดเจนนักเนื่องจากพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์ที่สะท้อนแสงอาทิตย์ทำให้ดวงจันทร์สว่างมากจนอาจกลบแสงของดาวหัวใจสิงห์ที่อยู่เคียงข้าง
นักดาราศาสตร์มักอาศัยปรากฏการณ์ลักษณะนี้สำหรับช่วยวัดระยะห่างระหว่างดาวหากดาวที่ถูกดวงจันทร์บังนั้นเป็นดาวคู่นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการศึกษาความสูงต่ำของหลุมและภูเขาบริเวณขั้วดวงจันทร์ในกรณีที่เป็นการบังแบบเฉียดซึ่งแสงดาวจะไม่ได้หายไปเฉย ๆ แต่กะพริบไปตามลักษณะขอบดวงจันทร์ที่ไม่ราบเรียบ
ปีหน้าเราจะมีโอกาสสังเกตดวงจันทร์บังดาวอังคารโดยเกิดในเวลาประมาณ22.00 น. ของวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ซึ่งขณะนั้นดาวอังคารจะสว่างน้อยกว่าปัจจุบันแต่ใกล้เคียงกับดาวหัวใจสิงห์และนับเป็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีโอกาสสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ดวงจันทร์บังดาวเสาร์เมื่อปี 2545
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวหัวใจสิงห์ที่จะเกิดในช่วงหลังเที่ยงคืนของคืนวันศุกร์ที่
แต่ละพื้นที่ของประเทศไทยเห็นปรากฏการณ์ได้ไม่พร้อมกัน
●กรุงเทพฯ
●เชียงใหม่
●นครราชสีมา
●นครศรีธรรมราช
●ประจวบคีรีขันธ์
●ระยอง
●อุบลราชธานี
สำหรับจังหวัดอื่นสามารถคะเนเวลาได้จากจังหวัดในภูมิภาคเดียวกัน
อุปกรณ์ที่แนะนำสำหรับการสังเกตการบังกันคือกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ที่มีฐานยึดและขาตั้ง
นักดาราศาสตร์มักอาศัยปรากฏการณ์ลักษณะนี้สำหรับช่วยวัดระยะห่างระหว่างดาวหากดาวที่ถูกดวงจันทร์บังนั้นเป็นดาวคู่
ปีหน้าเราจะมีโอกาสสังเกตดวงจันทร์บังดาวอังคารโดยเกิดในเวลาประมาณ