ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ 15 ตุลาคม 2567
ปีนี้มีปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ที่สังเกตได้ในประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเช้ามืดวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นในช่วงก่อนเช้ามืดวันที่ 15 ตุลาคม 2567 (รอสังเกตในคืนวันที่ 14 ตุลาคม)
ค่ำวันจันทร์ที่14 ตุลาคม 2567 ทั่วประเทศจะเห็นดวงจันทร์กับดาวเสาร์อยู่ใกล้กันราว 4° ทางทิศตะวันออกในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ หลังจากนั้นดวงจันทร์จะเข้าใกล้ดาวเสาร์มากขึ้นจนกระทั่งบังดาวเสาร์เมื่อเข้าสู่วันอังคารที่ 15 ตุลาคม ประเทศไทยสังเกตการบังกันได้เฉพาะตอนบน กรุงเทพฯ ไม่เห็นการบัง แต่สามารถสังเกตดาวเสาร์อยู่ใกล้ดวงจันทร์ได้ ใกล้กันที่สุดเวลา 02:38 น. ขณะนั้นดาวเสาร์อยู่ห่างขอบด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ราว 1 ลิปดา กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงสามารถส่องเห็นดาวเสาร์และผิวดวงจันทร์ได้พร้อมกันในขอบเขตภาพของกล้อง
ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงข้างขึ้นที่ดวงจันทร์สว่างมากกว่าครึ่งดวง(89%) เกิดการบังเมื่อดวงจันทร์และดาวเสาร์อยู่ค่อนข้างต่ำบนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตก บริเวณที่เห็นการบังจะเห็นดาวเสาร์ลับหายไปที่ขอบด้านบนซึ่งเป็นด้านมืดของดวงจันทร์ การบังสิ้นสุดขณะดาวเสาร์ออกมาจากหลังดวงจันทร์ที่ด้านล่างซึ่งเป็นด้านสว่าง
ดาวเสาร์มีขนาดปรากฏ18.8 พิลิปดา วงแหวนกว้างประมาณ 44 พิลิปดา หากใช้จุดศูนย์กลางของดาวเสาร์ในการคำนวณ เวลาเริ่มบังแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น เชียงใหม่ 02:20 น. ขอนแก่น 02:30 น. นครสวรรค์ 02:28 น. อุดรธานี 02:27 น. สำหรับเวลาสิ้นสุดการบัง เชียงใหม่สิ้นสุดเวลา 03:00 น. ขอนแก่น 02:50 น. นครสวรรค์ 02:49 น. อุดรธานี 02:54 น.
พื้นที่ตลอดแนวด้านทิศใต้ของขอบเขตการบังเป็นบริเวณซึ่งเมื่อดาวเสาร์ถูกบังเต็มที่ดาวเสาร์ไม่ได้ถูกบังหมดทั้งดวง เมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นดาวเสาร์เคลื่อนไปตามแนวขอบด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ บริเวณดังกล่าวพาดเป็นแถบในแนวตะวันออก-ตะวันตกกว้างประมาณ 34 กิโลเมตร (ไม่รวมวงแหวน) ผ่านพื้นที่บางส่วนของหลายจังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เวลาบังลึกที่สุดอยู่ในช่วง 02:38-02:40 น.
นอกเหนือจากประเทศไทยหลายประเทศก็มีโอกาสสังเกตปรากฏการณ์นี้ ได้แก่ทางใต้ของทวีปแอฟริกา ทางใต้ของตะวันออกกลาง และบางส่วนของเอเชีย
หลังจากปีนี้ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ครั้งถัดไปที่สังเกตได้ในประเทศไทยเป็นดวงจันทร์บังดาวศุกร์ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 14 กันยายน 2569 ซึ่งสามารถมองเห็นได้ทั่วประเทศ
ค่ำวันจันทร์ที่
แผนภาพแสดงแนวการเคลื่อนที่ของดาวเสาร์เทียบกับดวงจันทร์ระหว่างดวงจันทร์บังดาวเสาร์ในวันที่ 15 ตุลาคม 2567 กรุงเทพฯ ไม่เห็นการบัง ดาวเสาร์จะเคลื่อนไปอยู่ใกล้ขอบด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)
ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงข้างขึ้นที่ดวงจันทร์สว่างมากกว่าครึ่งดวง
ดาวเสาร์มีขนาดปรากฏ
พื้นที่ตลอดแนวด้านทิศใต้ของขอบเขตการบังเป็นบริเวณซึ่งเมื่อดาวเสาร์ถูกบังเต็มที่
ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ในวันที่ 15 ตุลาคม 2567 สังเกตได้เพียงบางส่วนของประเทศไทย แผนที่นี้แสดงพื้นที่การมองเห็นแบ่งเป็น 3 ส่วน เหนือเส้นประขึ้นไปจะเห็นดาวเสาร์ถูกบังทั้งดวง (ภาคเหนือ ภาคตะวันตกตอนบน ภาคกลางตอนบน และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ใต้เส้นทึบลงไปจะไม่เห็นดวงจันทร์บังดาวเสาร์ (ภาคตะวันตกตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้) ส่วนคนที่อยู่ในพื้นที่ระหว่างเส้นทึบกับเส้นประ ทอดยาวจากภาคตะวันตก ผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นดาวเสาร์ถูกบังบางส่วน หรือเรียกว่าการบังแบบเฉียด แผนที่นี้แสดงตำแหน่งเมืองต่าง ๆ โดยมีขนาดแปรผันตามจำนวนประชากร (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)
นอกเหนือจากประเทศไทย
แผนที่แสดงบริเวณที่เห็นดวงจันทร์บังดาวเสาร์ (ภายในขอบเขตของเส้นสีน้ำเงิน) นอกจากนี้ เส้นสีแดงเป็นแนวคั่นระหว่างด้านกลางคืนกับด้านกลางวันที่กึ่งกลางของปรากฏการณ์ โดยด้านซ้ายมือเป็นกลางวัน ด้านขวามือเป็นกลางคืน (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)
สถานที่ | เริ่มบัง | มุมเงย | สิ้นสุดการบัง | มุมเงย |
---|---|---|---|---|
เชียงใหม่ | 02:20 | 19° | 03:00 | 9° |
ขอนแก่น | 02:30 | 13° | 02:50 | 8° |
นครสวรรค์ | 02:28 | 16° | 02:49 | 11° |
อุดรธานี | 02:27 | 14° | 02:54 | 7° |
หลังจากปีนี้