สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เฮล-บอปป์หรือโคฮูเทค?

เฮล-บอปป์หรือโคฮูเทค?

2 มี.ค. 2544
รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)
เมื่อปลายปี 2543 มีการค้นพบดาวหางดวงใหม่ ซึ่งวงโคจรและความสว่างของดาวหาง แสดงให้เห็นว่า ดาวหางดวงนี้อาจมีความสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในปลายปี 2544 แต่จากประสบการณ์ในอดีต นักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถชี้ชัดถึงความสว่างที่แท้จริงของดาวหางดวงนี้ได้

หลายปีที่ผ่านมา ดาวหางที่มีความสว่างน้อยมากที่ถูกค้นพบหลายเดือนก่อนที่จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด มักจะสร้างความผิดหวังให้กับผู้ที่เฝ้ารอ ไม่ว่าจะเป็นดาวหางโคฮูเทค และล่าสุด ดาวหางลีเนียร์ S4 ในปีที่แล้ว ดาวหางที่ค้นพบใหม่นี้ได้ชื่อว่า ดาวหางลีเนียร์ (C/2000 WM1) ถูกค้นพบด้วยกล้องโทรทรรศน์ในโครงการลีเนียร์ (Lincoln Laboratory Near-Earth Asteroid Research-LINEAR) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 จากการติดตามดาวหางดวงนี้มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ดาวหางยังคงมีความสว่างน้อยมาก จางกว่าดาวฤกษ์ที่จางที่สุดที่ตาเราจะมองเห็นได้ราว 20,000 เท่า และจากการเคลื่อนที่และความสว่างของดาวหาง นักดาราศาสตร์ทำนายว่าดาวหางอาจมีความสว่างจนเห็นได้ด้วยตาเปล่าในราวเดือนธันวาคม 2544

อย่างไรก็ตาม เดวิด เลวี นักเขียนของ Sky Telescope กล่าวอย่างติดตลกว่า ดาวหางเหมือนกับแมว คือมีหางและทำอะไรก็ได้อย่างที่อยากจะทำ ดังนั้น หากมีคนถามคุณว่า "ได้ข่าวว่าจะมีดาวหางดวงใหญ่ในช่วงคริสต์มาสนี้จริงหรือ" คำตอบคือ "สำหรับตอนนี้ ใครเล่าที่จะรู้"

นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน <A HREF="http://www.uai.it./sez_com/index.htm">โรแลนโด ลิกัสทรี</A> ถ่ายภาพดาวหางลีเนียร์ WM1 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ด้วยกล้องโทรทรรศน์แบบชมิดต์-แคสซิเกรน Celestron ขนาด 8 นิ้ว f/10 และซีซีดี SBIG ST-9E ขณะนี้ดาวหางเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา โชติมาตร 17 ภาพนี้ได้จากการผนวกภาพที่เปิดหน้ากล้องนาน 45 วินาที จำนวน 10 ภาพ

นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน <A HREF="http://www.uai.it./sez_com/index.htm">โรแลนโด ลิกัสทรี</A> ถ่ายภาพดาวหางลีเนียร์ WM1 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ด้วยกล้องโทรทรรศน์แบบชมิดต์-แคสซิเกรน Celestron ขนาด 8 นิ้ว f/10 และซีซีดี SBIG ST-9E ขณะนี้ดาวหางเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา โชติมาตร 17 ภาพนี้ได้จากการผนวกภาพที่เปิดหน้ากล้องนาน 45 วินาที จำนวน 10 ภาพ

ที่มา: