สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ไม่ใช่อุกกาบาตพุ่งชนดวงจันทร์

ไม่ใช่อุกกาบาตพุ่งชนดวงจันทร์

22 เม.ย. 2544
รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)
เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ได้มีการเสนอข้อสันนิษฐานว่า บันทึกจดหมายเหตุของนักบวชที่รู้จักกันในนาม เจอร์วาสแห่งแคนเทอร์เบอรี (Gervase of Canterbury) ที่กล่าวถึงการมองเห็นแสงวาบที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ ที่เขียนไว้ในปี ค.ศ. 1178 ว่าอาจเป็นการพุ่งชนของอุกกาบาต และก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาตจิออร์ดาโน บรูโน ขนาด 22 กิโลเมตร แต่จากการศึกษาด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์โดย พอล วิทเทอร์ส นักศึกษาของห้องปฏิบัติการด้านดวงจันทร์และดาวเคราะห์ของมหาวิทยาลัยแอริโซนาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชี้ว่าอาจไม่เป็นเช่นนั้น

เหตุผลของเขาแสดงในวารสาร Meteoritics and Planetary Science โดยสรุปว่าหากมีการพุ่งชนเกิดขึ้นจริง จะก่อให้เกิดพายุของดาวตกโถมเข้าใส่โลกยาวนานราวหนึ่งสัปดาห์ แต่จากการค้นคว้าจากบันทึกทางโบราณคดีดาราศาสตร์ทั้งในยุโรป จีน อาหรับ ญี่ปุ่น และเกาหลี ไม่พบว่ามีบันทึกใดที่กล่าวถึงปรากฏการณ์ลักษณะนี้เลย

ในจดหมายเหตุกล่าวว่า ประมาณหนึ่งชั่วโมงหลังจากดวงอาทิตย์ตกในเดือนมิถุนายนของปี ค.ศ. 1178 ซึ่งต่อมาพบว่าเป็นวันที่ 18 มิถุนายน มีคน คน มองเห็นว่า "มุมเสี้ยวด้านบนของดวงจันทร์ แยกออกเป็นสองส่วนอย่างรวดเร็ว จากจุดศูนย์กลางของแนวแยก มีแสงไฟสว่างพุ่งขึ้นเป็นประกาย จากนั้นดวงจันทร์ก็บิดเบี้ยว...สั่นไหวคล้ายงูที่บาดเจ็บ" ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นซ้ำอีกหลายครั้ง

หลุมจิออร์ดาโน บรูโน (Giordano Bruno) มีเส้นสว่างเป็นรัศมีแผ่กระจายออกมารอบ ๆ ซึ่งแสดงว่ามีอายุน้อย ภาพซ้ายถ่ายโดยนักบินอวกาศยานอะพอลโล ภาพขวาได้จากยานเคลเมนไทน์

เมื่อปี ค.ศ. 1976 นักธรณีวิทยาคนหนึ่งเสนอว่าบันทึกนี้ตรงกันกับตำแหน่งของหลุมอุกกาบาตอายุน้อยบนดวงจันทร์ที่ชื่อว่า จิออร์ดาโน บรูโน ซึ่งต่อมาได้มีการการเชื่อมโยงปรากฏการณ์นี้ (จากบทความในวารสาร Sky Telescope ฉบับสิงหาคม 1992) ว่าอาจเป็นอุกกาบาตจากดาวหางเองเคอ (Encke) ซึ่งก่อให้เกิดดาวตกในเดือนมิถุนายน ซึ่งเคยมีอุกกาบาตระเบิดเหนือทุ่งราบทุงกุสกาในไซบีเรียเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1908 และเกิดดาวตกบนดวงจันทร์ติดต่อกันนาน 10 วันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1975 ซึ่งตรวจวัดได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์

แต่จากการศึกษาก่อนหน้านี้ วิทเทอร์สกล่าวว่า หากมีการชนของอุกกาบาตขนาด 1-3 กิโลเมตรบนดวงจันทร์ในครั้งนั้นจริง จะก่อให้เกิดเศษชิ้นส่วนอุกกาบาตที่มีมวลสารรวมกันราว 10 ล้านตันสาดกระจายเข้าสู่บรรยากาศโลกในช่วงเวลาต่อมา และจะทำให้เกิดพายุดาวตกที่ใกล้เคียงกับพายุดาวตกสิงโตเมื่อปี ค.ศ. 1966 ด้วยอัตราประมาณ 50,000 ดวงต่อชั่วโมง ติดต่อกันยาวนานราว สัปดาห์ และดาวตกที่เกิดขึ้นจะมีความสว่างมาก ประมาณโชติมาตร หรือ โดยที่ทั่วโลกจะต้องเห็นปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่นี้ ทว่าไม่มีบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวเลย วิทเทอร์สให้ความเห็นว่า สิ่งที่นักบวชแห่งแคนเทอร์เบอรีได้เห็นนั้นอาจเป็นความบังเอิญที่เกิดดาวตกที่สว่างมากดวงหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในบรรยากาศโลก มาปรากฏตรงกับดวงจันทร์พอดี ความเห็นนี้สนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 1977 ว่ามีความเป็นไปได้ที่ภายในรัศมี 1-2 กิโลเมตร มีการมองเห็นดาวตกดวงเดียวกันปรากฏอยู่หน้าดวงจันทร์ ซึ่งอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงมีคนเพียง คนนี้เท่านั้นที่เห็นปรากฏการณ์นี้

ที่มา: