อุปราคาในปี 2552
หากยึดตามเวลาสากล พ.ศ. 2552 มีอุปราคาเกิดขึ้นทั้งหมด 6 ครั้ง เป็นสุริยุปราคาสองครั้งและจันทรุปราคาสี่ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคากับสุริยุปราคาอย่างละสองครั้ง ครั้งสุดท้ายเกิดในคืนวันส่งท้ายปี 2552
1.สุริยุปราคาวงแหวน 26 มกราคม 2552
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเริ่มในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่26 มกราคม ตามเวลาในประเทศไทย ตรงกับวันตรุษจีน ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ไม่มิดหมดทั้งดวง เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกในเวลา 13.06 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย จุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 7 นาที 56 วินาที
ศูนย์กลางเงาผ่านหมู่เกาะขนาดเล็กของเครือรัฐออสเตรเลียในมหาสมุทรอินเดียแตะผืนดินทางใต้ของเกาะสุมาตรากับด้านตะวันตกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย จากนั้นผ่านช่องแคบกะริมาตา เกาะบอร์เนียว กับบางส่วนทางตอนเหนือของเกาะเซลีเบส สุริยุปราคาวงแหวนสิ้นสุดในเวลา 16.52 น. เป็นจังหวะที่ศูนย์กลางเงาหลุดออกจากผิวโลกในทะเลระหว่างเกาะเซลีเบสกับเกาะมินดาเนา
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมทางใต้ของทวีปแอฟริกามาดากัสการ์ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย (ยกเว้นแทสเมเนีย) รวมไปถึงบางส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดบางส่วนต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือการสังเกตการณ์ทางอ้อม ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด โดยเฉลี่ยเริ่มเวลาประมาณ 16.00 น. บังเต็มที่ในเวลาประมาณ 17.00 น. และสิ้นสุดในเวลาประมาณ 18.00 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งทางซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนเมื่อเทียบกับขอบฟ้า หลายจังหวัดทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน จะยังคงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่เล็กน้อยในจังหวะที่ดวงอาทิตย์ตกดิน
2.จันทรุปราคาเงามัว 9 กุมภาพันธ์ 2552
จันทรุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาเงามัวเกิดขึ้นในคืนวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านไปทางใต้ของเงามัวระหว่างเวลา 19.39 - 23.38 น. โดยเข้าไปในเงาลึกที่สุดเวลา 21.38 น. ด้วยขนาดประมาณ 90% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ประเทศไทยเห็นปรากฏการณ์ในวันนี้ แต่ดวงจันทร์จะไม่แหว่งเว้าให้เห็นแบบจันทรุปราคาเงามืด เวลาประมาณ 21.00 - 22.20 น. คาดว่าเป็นช่วงเวลาที่พอจะสังเกตได้ว่าดวงจันทร์มืดสลัวลงกว่าปกติ โดยเฉพาะทางด้านทิศเหนือของพื้นผิว แต่เราจะยังคงเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงอยู่ตลอดเวลา
3.จันทรุปราคาเงามัว 7 กรกฎาคม 2552
จันทรุปราคาครั้งนี้ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านไปทางใต้ของเงามัวระหว่างเวลา15.38 - 17.39 น. โดยเข้าไปในเงาลึกที่สุดเวลา 16.39 น. ด้วยขนาดประมาณ 16% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ มองไม่เห็นในประเทศไทยและคาดว่าไม่สามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากดวงจันทร์ถูกเงามัวบดบังเพียงเล็กน้อย
4.สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม 2552
สุริยุปราคาครั้งนี้เกิดในช่วงสายของวันพุธที่22 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย เส้นทางสุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มต้นที่อินเดีย ผ่านประเทศจีน เกาะเล็ก ๆ ทางใต้ของญี่ปุ่น และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานกว่า 6 นาที ณ กึ่งกลางคราส (เปรียบเทียบกับสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยเมื่อปี 2538 ที่นานประมาณ 2 นาที) นับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นสุริยุปราคาชุดซารอสเดียวกันกับสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2498 ซึ่งเห็นได้ในกรุงเทพฯ และสุริยุปราคาที่พาดผ่านเกาะฮาวายเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2534
เงามืดของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกตรงบริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกของประเทศอินเดียเมื่อเวลาประมาณ7.53 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเคลื่อนไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว ผ่านพื้นที่บางส่วนของเนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน และตอนเหนือสุดของพม่า เข้าสู่ประเทศจีน ผ่านเฉิงตูในมณฑลเสฉวน และเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้
เงามืดลงสู่ทะเลจีนตะวันออกผ่านเกาะเล็ก ๆ หลายเกาะทางตอนเหนือของหมู่เกาะริวกิวซึ่งอยู่ทางใต้ของญี่ปุ่น แล้วเริ่มบ่ายหน้าลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเกาะอิโวะจิมะ จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในทะเลทางด้านตะวันออกของเกาะอิโวะจิมะด้วยระยะเวลานาน 6 นาที 39 วินาที โดยเกิดขึ้นในเวลา 9.29 น. ใกล้หมู่เกาะโอกะซะวะระ (หมู่เกาะโบนิน) ช่วงท้ายของปรากฏการณ์ เงามืดผ่านเกาะเล็ก ๆ หลายเกาะในหมู่เกาะมาร์แชล ก่อนจะสิ้นสุดเส้นทางคราสในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเวลา 11.18 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นทางใต้ของอินโดนีเซีย ประเทศไทยเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดบางส่วนในเวลาประมาณ 7.00 - 9.00 น. ภาคเหนือและตอนบนของภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งเว้ามากที่สุด
5.จันทรุปราคาเงามัว 6 สิงหาคม 2552
ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านไปทางใต้ของเงามัวในช่วงเวลา06.04 - 09.14 น. โดยเข้าไปในเงาลึกที่สุดเวลา 07.39 น. ด้วยขนาดประมาณ 40% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ จันทรุปราคาครั้งนี้มองไม่เห็นในประเทศไทย และคาดว่าไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้
6.จันทรุปราคาบางส่วน 1 มกราคม 2553
อุปราคาครั้งสุดท้ายของปีเป็นจันทรุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นในช่วงหลังเที่ยงคืนของคืนวันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม 2552 เข้าสู่เช้ามืดวันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2553 ตามเวลาประเทศไทย (ยังเป็นวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ตามเวลาสากล) พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ได้แก่ทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย และตะวันตกของออสเตรเลีย ทวีปเอเชียและออสเตรเลียเห็นปรากฏการณ์ในเช้ามืดวันที่ 1 มกราคม 2553 ขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นในคืนวันที่ 31 ธันวาคม ขณะดวงจันทร์เคลื่อนสูงขึ้นบนท้องฟ้าทิศตะวันออก
ประเทศไทยเริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่งในเวลา1.53 น. ขณะดวงจันทร์มีมุมเงยประมาณ 70 องศา ทางทิศตะวันตก เงามืดเข้าบังดวงจันทร์ลึกที่สุดในเวลา 2.23 น. ด้วยขนาดเพียง 8% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงประมาณ 60 องศา ดวงจันทร์กลับมาสว่างเต็มดวงอีกครั้งในเวลา 2.53 น. รวมเกิดจันทรุปราคาบางส่วนนาน 1
1.
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเริ่มในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่
ศูนย์กลางเงาผ่านหมู่เกาะขนาดเล็กของเครือรัฐออสเตรเลียในมหาสมุทรอินเดีย
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมทางใต้ของทวีปแอฟริกา
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดบางส่วน
2.
จันทรุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาเงามัว
3.
จันทรุปราคาครั้งนี้ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านไปทางใต้ของเงามัวระหว่างเวลา
4.
สุริยุปราคาครั้งนี้เกิดในช่วงสายของวันพุธที่
เงามืดของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกตรงบริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกของประเทศอินเดียเมื่อเวลาประมาณ
เงามืดลงสู่ทะเลจีนตะวันออก
5.
ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านไปทางใต้ของเงามัวในช่วงเวลา
6.
อุปราคาครั้งสุดท้ายของปีเป็นจันทรุปราคาบางส่วน
ประเทศไทยเริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่งในเวลา