สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2558

อุปราคาในปี 2558

3 มกราคม 2558
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 8 สิงหาคม 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงได้ครั้งเดียวจากอุปราคาทั้งหมด ครั้ง ดังต่อไปนี้

    สุริยุปราคาเต็มดวง 20 มีนาคม 2558
    จันทรุปราคาเต็มดวง เมษายน 2558
    สุริยุปราคาบางส่วน 13 กันยายน 2558
    จันทรุปราคาเต็มดวง 28 กันยายน 2558

1. สุริยุปราคาเต็มดวง 20 มีนาคม 2558


วันที่ 20 มีนาคม 2558 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิดหมดดวง แนวคราสเต็มดวงผ่านตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอาร์กติก โดยผ่านหมู่เกาะแฟโรของเดนมาร์กและหมู่เกาะสฟาลบาร์ของนอร์เวย์ บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ทวีปยุโรป ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ตอนเหนือของแอฟริกา และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

แม้จะเกิดในเวลากลางวันตามเวลาประเทศไทย แต่เราไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้ เนื่องจากเงาดวงจันทร์ผ่านใกล้ขั้วโลกเหนือ สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา 14:41 น. จากนั้นเงามืดเริ่มแตะผิวโลกในเวลา 16:10 น. ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก เงามืดเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก และวกขึ้นเหนือ ผ่านทะเลที่อยู่ระหว่างไอซ์แลนด์กับสหราชอาณาจักร บริเวณนี้มีแผ่นดินของหมู่เกาะแฟโร (เขตปกครองตนเองของเดนมาร์ก) อยู่ในแนวคราส ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนานราว นาทีเศษ ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 20°

กึ่งกลางคราส (Greatest eclipse) ซึ่งเป็นเวลาที่ศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ผ่านใกล้ศูนย์กลางโลกมากที่สุด เกิดขึ้นเวลา 16:45:39 น. ตรงบริเวณรอยต่อระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับทะเลนอร์เวย์ เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่กึ่งกลางนาน นาที 47 วินาที เงามืดเคลื่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านหมู่เกาะสฟาลบาร์ของนอร์เวย์ ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่กลางคราสนาน นาทีครึ่ง ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 10°-11° จากนั้น เงามืดเข้าสู่มหาสมุทรอาร์กติก แล้วออกจากผิวโลกบริเวณขั้วโลกที่เวลา 17:21 น. สุริยุปราคาครั้งนี้สิ้นสุดลงเมื่อเงามัวของดวงจันทร์ออกจากผิวโลกในเวลา 18:50 น.

จันทรุปราคาเต็มดวง 16 กันยายน 2540 (จาก กฤษดา โชคสินอนันต์/พรชัย อมรศรีจิรทร)


2. จันทรุปราคาเต็มดวง เมษายน 2558


หัวค่ำของวันเสาร์ที่ เมษายน 2558 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกหมดทั้งดวง โดยเริ่มสัมผัสเงามืด หรือดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 17:16 น. ขณะนั้นประเทศไทยยังไม่เห็นเนื่องจากดวงจันทร์ยังไม่ขึ้น ดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดหมดทั้งดวงระหว่างเวลา 18:58-19:03 น. จึงเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงนานเพียง นาที ประเทศไทยเห็นดวงจันทร์ขึ้นขณะเกิดจันทรุปราคาบางส่วน และเมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง บริเวณกรุงเทพฯ เห็นดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกเพียง 7° และท้องฟ้ายังมีแสงสนธยา หากมีเมฆหรือหมอกควันเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก อาจทำให้สังเกตได้ยาก จากนั้นดวงจันทร์จะเคลื่อนออกจากเงาโลก กลับมาสว่างเต็มดวงในเวลา 20:45 น. โดยอยู่ที่มุมเงย 31°

จันทรุปราคาครั้งนี้เห็นได้เกือบทั่วทั้งเอเชีย ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ (ตรงกับเวลาเช้ามืดของวันเดียวกันตามเวลาท้องถิ่น) ด้านตะวันตกของอเมริกาใต้ และด้านตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา เมษายน 2558

1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 16:01:24
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 17:15:44
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 18:57:30
4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด 19:00:15
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 19:03:02
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 20:44:48
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 21:59:02


ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ จันทรุปราคาเต็มดวง เมษายน 2558

3. สุริยุปราคาบางส่วน 13 กันยายน 2558


วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2558 เกิดสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งแม้จะเกิดในเวลากลางวันตามเวลาประเทศไทย แต่เราไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้ เนื่องจากเงาดวงจันทร์ผ่านผิวโลกในซีกโลกใต้

สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกในเวลา 11:42 น. กึ่งกลางคราสเกิดขึ้นเวลา 13:54 น. จุดที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดอยู่ในมหาสมุทรใต้ ใกล้ชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกา โดยดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ 78.7% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ สิ้นสุดสุริยุปราคาเมื่อเงามัวออกจากผิวโลกในเวลา 16:06 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนคือตอนใต้ของทวีปแอฟริกา บางส่วนของแอนตาร์กติกา และตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย


4. จันทรุปราคาเต็มดวง 28 กันยายน 2558


เวลากลางวันของวันจันทร์ที่ 28 กันยายน ตามเวลาประเทศไทย เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ซึ่งนับเป็นครั้งสุดท้ายของจันทรุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้น ครั้ง ติดต่อกัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 ประเทศไทยไม่เห็นจันทรุปราคาในวันนี้ บริเวณที่เห็น ได้แก่ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรป แอฟริกา และด้านตะวันตกของเอเชีย

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 28 กันยายน 2558

1.    ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 07:11:45
2.    เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 08:07:11
3.    เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 09:11:10
4.    ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด 09:47:08
5.    สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 10:23:06
6.    สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 11:27:05
7.    ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 12:22:31

พ.ศ. 2559


     สุริยุปราคาเต็มดวง มีนาคม 2559 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย อินโดนีเซีย และตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก ส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งบางส่วนของอะแลสกา ประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนได้ทั่วประเทศ โดยภาคใต้เห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุด
     จันทรุปราคาเงามัว 23 มีนาคม 2559 เห็นได้ในประเทศไทย แต่ดวงจันทร์คล้ำลงเพียงเล็กน้อย สังเกตได้ยาก
     สุริยุปราคาวงแหวน กันยายน 2559 แนวคราสวงแหวนผ่านด้านตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปแอฟริกา และมหาสมุทรอินเดีย บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมเกือบทั้งหมดของแอฟริกา ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรอินเดีย บางส่วนของแอนตาร์กติกา บางส่วนของอินโดนีเซีย และด้านตะวันตกสุดของออสเตรเลีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
     จันทรุปราคาเงามัว 17 กันยายน 2559 เห็นได้ในประเทศไทย แต่ดวงจันทร์คล้ำลงเพียงเล็กน้อย สังเกตได้ยาก