สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2560
พ.ศ. 2560 มีสุริยุปราคาและจันทรุปราคาอย่างละ 2 ครั้ง ซึ่งประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว สุริยุปราคาวงแหวน จันทรุปราคาบางส่วน และสุริยุปราคาเต็มดวง ตามลำดับ ประเทศไทยมีโอกาสเห็นได้ครั้งเดียว คือจันทรุปราคาบางส่วนในคืนวันที่ 7 สิงหาคม 2560
1. จันทรุปราคาเงามัว 11 กุมภาพันธ์ 2560
2. สุริยุปราคาวงแหวน 26 กุมภาพันธ์ 2560
3. จันทรุปราคาบางส่วน 7-8 สิงหาคม 2560
4. สุริยุปราคาเต็มดวง 21-22 สิงหาคม 2560
1.
วันเสาร์ที่11 กุมภาพันธ์ 2560 เกิดจันทรุปราคาเงามัวระหว่างเวลา 05:34 - 09:53 น. ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามัวของโลกโดยไม่ผ่านเงามืด ดวงจันทร์จึงไม่แหว่งเว้าให้เห็น เพียงแต่มีความสว่างลดลงเล็กน้อยจนแทบไม่สามารถสังเกตได้ ขณะบังลึกที่สุดเวลา 07:44 น. ร้อยละ 99 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์อยู่ในเงามัวของโลก สำหรับประเทศไทย ดวงจันทร์ใกล้ตกเมื่อเริ่มเกิดจันทรุปราคา ประกอบกับเป็นจันทรุปราคาเงามัว ซึ่งเงามีความทึบแสงต่ำ การสังเกตด้วยตาเปล่าจึงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนดวงจันทร์
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 05:34:14
2. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด 07:43:53 (ขนาดอุปราคา = 0.988)
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 09:53:27
2.
วันอาทิตย์ที่26 กุมภาพันธ์ 2560 เกิดสุริยุปราคาวงแหวน ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ บังดวงอาทิตย์ไม่มิด มีลักษณะคล้ายวงแหวน เราเห็นสุริยุปราคาชนิดนี้ได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก ครั้งนี้แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นในทะเลทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านชิลีและอาร์เจนตินาในอเมริกาใต้ ตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก แล้วไปสิ้นสุดในแอฟริกา โดยผ่านประเทศแองโกลา แซมเบีย และสาธารณรัฐประธิปไตยคองโก ที่กลางคราสในมหาสมุทรเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 44 วินาที ส่วนที่จุดเริ่มและสิ้นสุดเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานกว่า 1 นาทีเล็กน้อย
สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา19:11 - 00:36 น. ตามเวลาประเทศไทย เงาที่ทำให้เกิดคราสวงแหวนสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 20:15 - 23:32 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนใหญ่ของอเมริกาใต้ ตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนใหญ่ของแอฟริกา และส่วนใหญ่ของแอนตาร์กติกา ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
3.
ก่อนเช้ามืดวันอังคารที่8 สิงหาคม 2560 เกิดจันทรุปราคาบางส่วนเห็นได้ในประเทศไทย (รอดูในคืนวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม) โดยพื้นที่บางส่วนทางด้านทิศใต้ของดวงจันทร์จะถูกเงามืดของโลกบังระหว่างเวลา 00:23 - 02:18 น. เงาโลกบังดวงจันทร์ลึกที่สุดเวลา 01:20 น. คิดเป็นร้อยละ 24.7 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และแอนตาร์กติกา
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 22:49:59 (วันที่ 7 สิงหาคม)
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 00:22:53
3. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด 01:20:28 (ขนาดอุปราคา = 0.247)
4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 02:18:11
5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 03:50:58
4.
คืนวันจันทร์ที่21 สิงหาคม 2560 ตามเวลาประเทศไทย เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิดหมดดวง แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านด้านตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก สหรัฐอเมริกา และมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ตอนเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ด้านตะวันตกของยุโรปและแอฟริกา ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา22:47 - 04:04 น. เงาที่ทำให้เกิดคราสเต็มดวงสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 23:49 - 03:03 น. ผู้คนในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกามีโอกาสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ (ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม ตามเวลาท้องถิ่น) โดยเริ่มจากชายฝั่งด้านตะวันตกไปจรดชายฝั่งด้านตะวันออก โดยผ่านรัฐออริกอน ไอดาโฮ มอนแทนา ไวโอมิง เนแบรสกา แคนซัส ไอโอวา มิสซูรี อิลลินอยส์ เคนทักกี เทนเนสซี นอร์ทแคโรไลนา จอร์เจีย และเซาท์แคโรไลนา (เฉพาะพื้นที่ส่วนเล็ก ๆ ของมอนแทนาและไอโอวา) กึ่งกลางคราส ซึ่งเป็นเวลาที่ศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ผ่านใกล้ศูนย์กลางโลกมากที่สุด เกิดขึ้นเวลา 01:26 น. บริเวณรัฐเคนทักกี เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 2
1. จันทรุปราคาเงามัว 11 กุมภาพันธ์ 2560
วันเสาร์ที่
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 11 กุมภาพันธ์ 2560
2. สุริยุปราคาวงแหวน 26 กุมภาพันธ์ 2560
วันอาทิตย์ที่
สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา
3. จันทรุปราคาบางส่วน 7-8 สิงหาคม 2560
ก่อนเช้ามืดวันอังคารที่
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 7-8 สิงหาคม 2560
4. สุริยุปราคาเต็มดวง 21-22 สิงหาคม 2560
คืนวันจันทร์ที่
สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา