ดาวเคราะห์ในปี 2560
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อีก 2 ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์
แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี2560 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด คนบนโลกจึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง ปี 2560 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ 4 ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่ 2 คือต้นเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน ช่วงที่ 3 อยู่ในเดือนกันยายน ซึ่งดาวพุธจะผ่านใกล้ดาวอังคารและดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโต ช่วงสุดท้ายคือปลายเดือนธันวาคม
ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี3 ช่วง ช่วงแรกคือปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ช่วงที่ 2 คือ กลางเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ที่น่าสนใจคือวันที่ 25 กรกฎาคม ดาวพุธจะผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ และมีจันทร์เสี้ยวมาอยู่ใกล้ ๆ ด้วย ช่วงสุดท้ายคือกลางเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม โดยมีดาวเสาร์อยู่ใกล้ดาวพุธ
ปี2560 ดาวศุกร์เริ่มปรากฏบริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ จากนั้นเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวปลา ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวอังคารที่ระยะห่าง 5° ครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์จะสังเกตได้ว่าดาวศุกร์เคลื่อนต่ำลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบตำแหน่งในเวลาหัวค่ำของทุกวัน คาดว่าจะสังเกตดาวศุกร์ได้ถึงราวกลางเดือนมีนาคม ก่อนที่ดาวศุกร์จะเคลื่อนมาอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 25 มีนาคม
วันแรกๆ ของเดือนเมษายน ดาวศุกร์น่าจะเริ่มปรากฏใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด และยังคงอยู่ในกลุ่มดาวปลา ดาวศุกร์ทำมุมห่างดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 3 มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวยูเรนัส กลางเดือนเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ ปลายเดือนมิถุนายนเข้าสู่กลุ่มดาววัว
ต้นเดือนกรกฎาคมจะเห็นดาวศุกร์อยู่ห่างไปทางขวามือของกระจุกดาวลูกไก่กลางเดือนกรกฎาคมดาวศุกร์อยู่ทางซ้ายมือของดาวอัลเดบารันในกลุ่มดาววัวที่ระยะ 3°-4° วันท้าย ๆ ของเดือนถึงวันที่ 1 สิงหาคม ดาวศุกร์เข้าไปในเขตของกลุ่มดาวนายพราน ก่อนจะเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่
ปลายเดือนสิงหาคมดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวปู เช้ามืดวันที่ 2 กันยายน ดาวศุกร์อยู่ใกล้กระจุกดาวรังผึ้งที่ระยะห่าง 1.2° กลางเดือนกันยายน ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในเช้ามืดวันที่ 20 กันยายน ที่ระยะ 0.5° วันที่ 6 ตุลาคม ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร ห่างกันเพียง 0.2° หลังจากนั้นไม่กี่วัน ดาวศุกร์จะเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว
ช่วงเวลานี้ดาวศุกร์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ เช้ามืดวันที่ 13-14 พฤศจิกายน ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดี เข้าใกล้กันที่สุดในวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ระยะ 0.5° หลังจากนั้นจะสังเกตดาวศุกร์ได้ยากขึ้น โดยดาวศุกร์จะเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นทุกวัน ปรากฏอยู่แนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม 2561
ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลก ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 2 ปี 2 เดือน วงโคจรของดาวอังคารที่เป็นวงรี ทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง ส่วนใหญ่ดาวอังคารที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ มีเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ดาวอังคารจะใกล้โลกจนใหญ่พอสำหรับการสังเกตรายละเอียดบนพื้นผิว
ปี2560 ดาวอังคารไม่ผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จึงไม่ใช่ปีที่ดีนักสำหรับการสังเกตดาวอังคาร ต้นปีดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ วันที่ 1 มกราคม 2560 ดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวเนปจูนด้วยระยะห่างเพียง 0.2° (สังเกตดาวเนปจูนได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์) จากนั้นดาวอังคารจะเข้าสู่กลุ่มดาวปลาในวันที่ 19 มกราคม โดยดาวศุกร์มาอยู่ใกล้ ๆ ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค่ำวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ ดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวยูเรนัสด้วยระยะห่าง 0.7°
เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนดาวอังคารผ่านกลุ่มดาวแกะและวัว คืนวันที่ 21 เมษายน ดาวอังคารอยู่ทางซ้ายมือของกระจุกดาวลูกไก่ที่ระยะ 3.5° หลังจากนั้นดาวอังคารอยู่ใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นจนเริ่มสังเกตได้ยาก มีโอกาสสังเกตดาวอังคารได้จนถึงราวต้นเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่
กลางเดือนกันยายนดาวอังคารกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด โดยปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ดาวอังคารเข้าใกล้ดาวพุธในเช้ามืดวันที่ 17 กันยายน ที่ระยะ 0.1° แต่อาจสังเกตได้ยากเนื่องจากยังอยู่ใกล้ขอบฟ้าในเวลาที่ท้องฟ้าเริ่มสว่าง วันนั้นดาวศุกร์ปรากฏอยู่สูงขึ้นไป ห่างจากดาวเคราะห์ทั้งสองราว 11°-12°
วันที่6 ตุลาคม ดาวอังคารผ่านใกล้ดาวศุกร์ที่ระยะ 0.2° หลังจากนั้น กลางเดือนตุลาคม ดาวอังคารจะย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว วันที่ 30 พฤศจิกายน ดาวอังคารผ่านใกล้ดาวรวงข้าวที่ระยะ 3.1° ปลายเดือนธันวาคม ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง โดยเคลื่อนเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีมากขึ้น ใกล้กันที่สุดในต้นเดือนมกราคม 2561
ปี2560 ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว โดยอยู่ใกล้ดาวรวงข้าวหรือดาวสไปกา ดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ ดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ดาวรวงข้าวมากที่สุดใน 2 ช่วง ช่วงแรกคือปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ อีกช่วงเกิดขึ้นในเดือนกันยายน
กลางเดือนมกราคมดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° ห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีขึ้นเหนือขอบฟ้าราวเที่ยงคืน และอยู่เหนือศีรษะขณะดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ 8 เมษายน 2560 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร –2.5 สังเกตได้ตลอดทั้งคืน
ต้นเดือนกรกฎาคมดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° ห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่เหนือศีรษะขณะดวงอาทิตย์ตก และตกลับขอบฟ้าราวเที่ยงคืน ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนต่ำใกล้ขอบฟ้า หลังจากนั้น ดาวพฤหัสบดีหายเข้าไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์ มีตำแหน่งอยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนตุลาคม
กลางเดือนพฤศจิกายนหากท้องฟ้าเปิดคาดว่าจะเริ่มเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ตรงกับช่วงที่ดาวพฤหัสบดีผ่านใกล้ดาวศุกร์ เข้าใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ระยะห่าง 0.5° หรือประมาณขนาดของดวงจันทร์
หลังจากผ่านใกล้ดาวศุกร์ดาวพฤหัสบดีจะเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง และทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น สังเกตได้บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดต่อเนื่องไปตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปี โดยในเดือนธันวาคมจะสังเกตได้ว่าดาวพฤหัสบดีและดาวอังคารเคลื่อนเข้าใกล้กันมากขึ้นทุกวัน ใกล้ที่สุดในวันที่
แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี
ดาวพุธ
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุด
ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี
ร่วมทิศแนววงใน | - | 20 | 27 | 13 |
---|---|---|---|---|
ห่างดวงอาทิตย์ | 19 | 18 | 12 | - |
ร่วมทิศแนววงนอก | 7 | 21 | 9 | - |
ห่างดวงอาทิตย์ | 1 | 30 | 24 | - |
ดาวศุกร์
ปี
วันแรก
ต้นเดือนกรกฎาคมจะเห็นดาวศุกร์อยู่ห่างไปทางขวามือของกระจุกดาวลูกไก่
ปลายเดือนสิงหาคม
ช่วงเวลานี้ดาวศุกร์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้ามากขึ้นเรื่อย
ดาวอังคาร
ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์
ปี
เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
กลางเดือนกันยายน
วันที่
ดาวพฤหัสบดี
ปี
กลางเดือนมกราคม
ต้นเดือนกรกฎาคม
กลางเดือนพฤศจิกายน
หลังจากผ่านใกล้ดาวศุกร์