ดวงจันทร์บังดาวอังคาร : 10 พฤษภาคม 2551
คืนวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2551 หากท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆมาก เราจะมีโอกาสสังเกตการบังกันระหว่างวัตถุท้องฟ้า เป็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวอังคารที่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย และนับเป็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ดวงจันทร์บังดาวเสาร์เมื่อปี 2545
วันที่10 พฤษภาคม ดวงจันทร์อยู่ในช่วงข้างขึ้น สว่างเกือบครึ่งดวง การบังเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณสี่ทุ่ม ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกประมาณ 20 องศา หลังจากนั้นอีกเกือบหนึ่งชั่วโมง ดาวอังคารจะโผล่ออกมาที่ขอบด้านสว่างของดวงจันทร์ แต่เป็นเวลาที่ดวงจันทร์และดาวอังคารอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า
แต่ละพื้นที่ของประเทศไทยเห็นปรากฏการณ์ได้ไม่พร้อมกันรวมทั้งการเคลื่อนที่ของดาวอังคารเบื้องหลังดวงจันทร์ก็แตกต่างกัน (ดูภาพประกอบ) เวลาคาดหมายของบางจังหวัดแสดงในตาราง
หมายเหตุ:
คำนวณสำหรับอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัด(จาก Occult 3.6 โดย D. Herald) จังหวัดอื่น ๆ สามารถคาดคะเนเวลาได้จากจังหวัดใกล้เคียงที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน
ช่วงที่ดวงจันทร์เริ่มบังดาวอังคารคาดว่าสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่าแต่จะชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ทัศนูปกรณ์ช่วย อย่างกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ที่มีฐานยึดและขาตั้งที่มั่นคง
เนื่องจากดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมันอยู่ใกล้มากพอที่เราจะเห็นเป็นดวงกลมได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง แตกต่างจากดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลมากจนเป็นจุดสว่าง ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวอังคารขึ้นในวันที่ 10 พฤษภาคม ช่วงที่ดาวอังคารกำลังหายไปที่ขอบด้านมืดของดวงจันทร์ กล้องจะสามารถส่องเห็นดวงจันทร์ใช้เวลาประมาณ 12-13 วินาที นับตั้งแต่จังหวะที่ขอบดวงจันทร์เริ่มแตะขอบดาวอังคาร จนกระทั่งดวงจันทร์ค่อย ๆ บังดาวอังคารจนมิดหมดทั้งดวง ส่วนการสังเกตด้วยตาเปล่าหรือกล้องสองตาน่าจะพบว่าดาวอังคารหรี่แสงลงแล้วหายลับไปเบื้องหลังด้านมืดของดวงจันทร์
ช่วงสิ้นสุดปรากฏการณ์เมื่อดาวอังคารโผล่ออกมาจากด้านสว่างของดวงจันทร์ตาเปล่าจะสังเกตได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์ที่สะท้อนแสงอาทิตย์ทำให้ดวงจันทร์สว่างจนแทบจะกลบแสงของดาวอังคารไปเสียหมด อุปสรรคอีกประการหนึ่งก็คือดวงจันทร์กับดาวอังคารจะเคลื่อนลงต่ำเข้าใกล้ขอบฟ้ามาก
นอกจากประเทศไทยแล้วบางประเทศในเอเชียก็มีโอกาสสังเกตปรากฏการณ์ในวันนี้ได้ด้วยเช่นกัน อาทิ ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ เนปาล พม่า กัมพูชา ดินแดนทิเบต เกาะน้อยใหญ่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาวและเวียดนาม รวมไปถึงตะวันตกของมาเลเซียและอินโดนีเซีย
สำหรับประเทศไทยดวงจันทร์บังดาวอังคารครั้งต่อไปจะเกิดในวันที่ 17 เมษายน 2564 ซึ่งเห็นได้ทั่วประเทศอีกเช่นเดียวกัน แต่ก่อนหน้านั้นเราจะมีโอกาสเห็นดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดีได้ในเช้ามืดวันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 (อยู่ใกล้ขอบฟ้ามากจนอาจสังเกตได้ยาก) และดวงจันทร์บังดาวศุกร์ในค่ำวันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม 2553
หมายเหตุ:เลือกเฉพาะที่เห็นในพื้นที่ประเทศไทยและเกิดขึ้นในเวลากลางคืน
วันที่
แต่ละพื้นที่ของประเทศไทยเห็นปรากฏการณ์ได้ไม่พร้อมกัน
สถานที่ | เริ่มบัง | สิ้นสุด | ||
---|---|---|---|---|
เวลา | มุมเงย | เวลา | มุมเงย | |
กรุงเทพฯ | 21:56.0 | 23° | 22:42.5 | 12° |
ขอนแก่น | 21:59.1 | 21° | 22:33.9 | 13° |
เชียงใหม่ | 21:54.5 | 26° | 22:30.8 | 18° |
นครราชสีมา | 21:57.7 | 22° | 22:38.5 | 12° |
นครศรีธรรมราช | 21:57.5 | 22° | 22:52.7 | 9° |
ประจวบคีรีขันธ์ | 21:55.8 | 23° | 22:47.0 | 11° |
ภูเก็ต | 21:56.9 | 23° | 22:54.1 | 10° |
ระยอง | 21:56.9 | 22° | 22:44.3 | 11° |
สงขลา | 21:58.6 | 20° | 22:54.3 | 7° |
อุดรธานี | 21:59.6 | 21° | 22:31.0 | 14° |
อุบลราชธานี | 22:00.9 | 18° | 22:35.3 | 11° |
หมายเหตุ:
คำนวณสำหรับอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัด
ช่วงที่ดวงจันทร์เริ่มบังดาวอังคารคาดว่าสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่า
เนื่องจากดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ช่วงสิ้นสุดปรากฏการณ์เมื่อดาวอังคารโผล่ออกมาจากด้านสว่างของดวงจันทร์
นอกจากประเทศไทยแล้ว
สำหรับประเทศไทย
วันที่ | ภูมิภาคที่มองเห็น |
---|---|
16 | ทั่วประเทศ |
10 | ทั่วประเทศ |
17 | ทั่วประเทศ |
21 | เกือบทั่วประเทศ |
หมายเหตุ: