สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฉางเอ๋อพบชั้นพื้นผิวหลายชั้นบนดวงจันทร์

ฉางเอ๋อพบชั้นพื้นผิวหลายชั้นบนดวงจันทร์

9 พ.ค. 2558
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2556 ยานฉางเอ๋อ ของจีน ได้ลงจอดที่เหนือทะเลฝนบนดวงจันทร์ได้อย่างสวยงามและนุ่มนวล หลังจากนั้นยานได้ปล่อยรถสำรวจหกล้อขนาดเล็กชื่อ อวี้ทู่ ออกไปวิ่งบนพื้นผิวของดวงจันทร์
ตามแผนการที่วางไว้ อวี้ทู่มีอายุงานประมาณ เดือนเศษ และจะต้องวิ่งเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร แต่เมื่อถึงการปฏิบัติจริง รถอวี้ทู่ได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับกลไกของยาน ทำให้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่หลังจากที่เดินทางออกไปได้เพียง 114 เมตรเท่านั้น
แม้รถจะวิ่งต่อไปไม่ได้ แต่ก็ยังปฏิบัติหน้าที่บางอย่างได้แม้ต้องอยู่กับที่ หลงเซียว จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โลกแห่งชาติจีน ได้เขียนรายงานตีพิมพ์ในวารสารไซนซ์ ฉบับวันที่ 13 มีนาคม 2558 ว่า เรดาร์ส่องทะลุพื้นผิวของอวี้ทู่ซึ่งทำงานที่ความถี่ 500 เมกะเฮิตซ์ สำรวจพื้นผิวได้ลึกถึง 12 เมตร และที่ความถี่ 60 เมกะเฮิร์ตซ์ที่แสดงโครงสร้างใต้ผิวได้ลึกถึง 400 เมตร
เป็นที่รู้กันดีว่าพื้นที่บริเวณทะเลฝนของดวงจันทร์เป็นพื้นที่ที่เกิดจากลาวาท่วมทับซ้อนเหลื่อมกัน คณะของหลงเซียวพบชั้นหินใต้รถไม่ต่ำกว่า ชั้น ชั้นที่ลึกที่สุดมีอายุเก่าแก่ถึง 3.3 พันล้านปี ส่วนชั้นที่เหนือขึ้นมามีอายุน้อยกว่ามาก 
แต่ที่สองชั้นบนสุดที่เรดาร์ของอวี้ทู่ตรวจพบดูเหมือนกับว่าประกอบด้วยเศษหินที่กระเด็นออกมาจากหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่หลุมหนึ่งใกล้เคียง มีความหนารวมเฉลี่ย เมตร จากการประเมินโดยดูจากจำนวนหลุมอุกกาบาตขนาดเล็กที่รายล้อมหลุมนี้ นักวิจัยคาดว่าหลุมนี้เกิดขึ้นเมื่อ 27-80 ล้านปีก่อน 
"ประวัติศาสตร์ทางภูมิประเทศของดวงจันทร์มีความซับซ้อนกว่าที่นักดาราศาสตร์คาดคิดไว้มาก" คณะของหลงเซียวสรุปทิ้งท้าย

รถอวี้ทู่ <wbr>ขณะจอดบนดวงจันทร์<br />

รถอวี้ทู่ ขณะจอดบนดวงจันทร์
(จาก Chinese Academy of Sciences)

เส้นทางเดินของรถอวี้ทู่ก่อนที่จะหยุดนิ่ง รวมระยะทางทั้งสิ้น 114 เมตร

เส้นทางเดินของรถอวี้ทู่ก่อนที่จะหยุดนิ่ง รวมระยะทางทั้งสิ้น 114 เมตร (จาก Science / Y. Xiao & others)

ตำแหน่งที่ยานฉางเอ๋อ 3 และรถอวี้ทู่ ลงจอดบนดวงจันทร์ อยู่ทางตอนเหนือของทะเลฝน ภาพถ่ายจากยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์

ตำแหน่งที่ยานฉางเอ๋อ 3 และรถอวี้ทู่ ลงจอดบนดวงจันทร์ อยู่ทางตอนเหนือของทะเลฝน ภาพถ่ายจากยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (จาก NASA / Arizona State University)

ที่มา: