สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จีนพัฒนาจรวดใช้ซ้ำ เตรียมสู้ธุรกิจขนส่งอวกาศ

จีนพัฒนาจรวดใช้ซ้ำ เตรียมสู้ธุรกิจขนส่งอวกาศ

16 พ.ค. 2561
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของจีนก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนประสบความสำเร็จทั้งการส่งมนุษย์ขึ้นสู่วงโคจร มีสถานีอวกาศเป็นของตนเอง ส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ด้วย

ล่าสุด จีนได้เปิดเผยแผนที่จะพัฒนาจรวดขนส่งชุดใหม่ที่จะมีศักยภาพพอที่จะเดินทางไปดวงจันทร์และอาจรวมถึงดาวอังคาร หนึ่งในจรวดขับดันที่ใช้ในชุดนี้คือ จรวดลองมาร์ช ซึ่งคาดว่าจะขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกได้ในราวปี 2564 เทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจของจรวดรุ่นนี้คือ จรวดท่อนล่างจะใช้ซ้ำได้ โดยหลังจากที่ปลดออกจากจรวดท่อนบนแล้ว จะหันเหกลับมาลงจอดบนแท่นแบบตั้งขึ้น ทำนองเดียวกับจรวดฟัลคอน ของสเปซเอกซ์ แต่จรวดลองมาร์ช ใช้เทคโนโลยีต่างไปจากที่สเปซเอกซ์ใช้

จรวดลองมาร์ช เป็นจรวดที่มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งสัมภาระเข้าสู่วงโคจรที่อยู่ในแนวขั้วโลก มีระวางบรรทุกประมาณ 3,000-4,000 กิโลกรัม คาดว่าจรวดท่อนล่างของลองมาร์ช จะพัฒนามาจากจรวดท่อนล่างของลองมาร์ช ซึ่งมีเครื่องยนต์ วายเอฟ-100 พลังขับดัน 1,200 กิโลนิวตันสองเครื่อง ใช้ออกซิเจนเหลวกับน้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิง 

คาดว่าจรวดลำแรกของจีนที่ใช้ซ้ำได้จะพร้อมขึ้นสู่อวกาศได้ในปี 2568

ข่าวที่คล้ายกัน:

    จรวดลองมาร์ช 5 ขณะขึ้นจากแท่นปล่อยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559

    จรวดลองมาร์ช 5 ขณะขึ้นจากแท่นปล่อยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 (จาก Xinhua/Li Gang.)

    จรวดลองมาร์ช 5 ขณะเลื่อนเข้าสู่แท่นปล่อยที่เหวินชางในปี 2559

    จรวดลองมาร์ช 5 ขณะเลื่อนเข้าสู่แท่นปล่อยที่เหวินชางในปี 2559 (จาก Su Dong/China Daily)

    ที่มา: