สเปซเอกซ์ เป็นบริษัทเอกชนที่มีบทบาทโดดเด่นในทางการขนส่งอวกาศ บริษัทประสบความสำเร็จอย่างมากจากการสร้างจรวดฟัลคอนและยานดรากอน นอกจากนี้ก็กำลังสร้างยานสำหรับลงดวงจันทร์ให้แก่โครงการอาร์เทมิสอีกด้วย ผลงานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของสเปซเอกซ์ก็คือ สตาร์ลิงก์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยเครือข่ายของฝูงดาวเทียม
เครือข่ายสตาร์ลิงก์ใช้ดาวเทียมขนาดเล็กนับหมื่นดวงโคจรรอบโลกในระดับต่ำ สร้างเครือข่ายการสื่อสารที่รวดเร็วและครอบคลุมได้ทุกตารางนิ้วบนพื้นโลก
เครือข่ายสตาร์ลิงก์มีประโยชน์อย่างมากในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตแต่ในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาอย่างหนักต่อวงการดาราศาสตร์ และนับวันก็ดูจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ
ผลกระทบที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือฝูงดาวเทียมสตาร์ลิงก์สร้างแสงรบกวนอย่างหนักในภาพถ่ายท้องฟ้า ภาพถ่ายท้องฟ้าทุกวันนี้จำนวนหนึ่งต้องแปดเปื้อนไปด้วยเส้นสีขาวที่เกิดจากดาวเทียมสตาร์ลิงก์
ขีดแสงสีขาวในภาพถ่ายท้องฟ้าไม่ใช่ปัญหาเดียวที่พบเมื่อปีที่แล้วพบว่าฝูงดาวเทียมสตาร์ลิงก์ส่งสัญญาณรบกวนออกมาจนวงการอื่นเดือดร้อน ช่วงความถี่วิทยุที่ใช้ในการสื่อสารของสตาร์ลิงก์คือ 10.7 - 12.7 กิกะเฮิรตซ์ แต่กลับพบว่าดาวเทียมสตาร์ลิงก์ส่งคลื่นไปรบกวนในย่าน 150.05-to-153 เมกะเฮิรตซ์ซึ่งใช้ในดาราศาสตร์วิทยุ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในดาราศาสตร์ที่สำรวจอวกาศในย่านความถี่วิทยุ
ปัญหาคลื่นรบกวนนี้เริ่มมีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในปี2566 เมื่อสเปซเอกซ์ส่งดาวเทียมรุ่นที่สองที่มีชื่อว่า v2mini และ v2mini Direct-to-Cell ซึ่งดาวเทียมรุ่นนี้ส่งคลื่นรบกวนมากกว่ารุ่นก่อนถึง 32 เท่า
ตัวแทนจากเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุโลฟาร์ (LOFAR -- LOw Frequency ARray) ซึ่งเป็นเครือข่ายของยุโรป ประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุกว่า 20,000 กล้องกระจายไปใน 52 สถานี กล่าวว่า "คลื่นรบกวนจากสตาร์ลิงก์มีความเข้มข้นมากกว่าสัญญาณจากแหล่งกำเนิดสัญญาณทางดาราศาสตร์ที่จางที่สุดถึงสิบล้านเท่า"
"ความแตกต่างนี้เทียบได้กับดาวฤกษ์ที่ริบหรี่ที่สุดที่สายตามนุษย์มองเห็นกับดวงจันทร์เต็มดวง"
ในเรื่องนี้ทางสเปซเอกซ์เจ้าของเครือข่ายสตาร์ลิงก์ได้แถลงว่ากำลังดำเนินการแก้ไขอยู่แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
ขณะนี้(กันยายน 2567) มีดาวเทียมของสตาร์ลิงก์ประมาณ 6,398 ดวงโคจรอยู่บนฟ้า และจะมีเพิ่มขึ้นราวสัปดาห์ละ 40 ดวง ปัญหานี้จึงมีแต่รุนแรงขึ้น
สเปซเอกซ์ไม่ใช่เพียงบริษัทเดียวที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยฝูงดาวเทียมวันเว็บก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยฝูงดาวเทียม 634 ดวง แอมะซอนก็มีโครงการในลักษณะเดียวกันด้วยดาวเทียม 3,000 ดวง ส่วนสเปซเซลคอนสเตลเลชันของจีนก็มีโครงการคล้ายกันที่ใช้ดาวเทียมมากถึง 15,000 ดวง
สิ่งที่น่าหนักใจที่สุดก็คือขณะนี้ยังไม่มีกฎระเบียบใดที่จะควบคุมการรบกวนของสัญญาณจากฝูงดาวเทียม ซึ่งนักดาราศาสตร์ต่างกังวลและเร่งให้มีมาตรการที่จะควบคุมการรบกวนดังกล่าวโดยเร็ว
เครือข่ายสตาร์ลิงก์ใช้ดาวเทียมขนาดเล็กนับหมื่นดวง
เครือข่ายสตาร์ลิงก์มีประโยชน์อย่างมากในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
ผลกระทบที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ
ขีดแสงสีขาวในภาพถ่ายท้องฟ้าไม่ใช่ปัญหาเดียวที่พบ
ปัญหาคลื่นรบกวนนี้เริ่มมีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในปี
ตัวแทนจากเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุ
"ความแตกต่างนี้เทียบได้กับดาวฤกษ์ที่ริบหรี่ที่สุดที่สายตามนุษย์มองเห็นกับดวงจันทร์เต็มดวง"
ในเรื่องนี้ทางสเปซเอกซ์เจ้าของเครือข่ายสตาร์ลิงก์ได้แถลงว่ากำลังดำเนินการแก้ไขอยู่
ขณะนี้
สเปซเอกซ์ไม่ใช่เพียงบริษัทเดียวที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยฝูงดาวเทียม
สิ่งที่น่าหนักใจที่สุดก็คือ