สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกสิงโตบนดวงจันทร์

ฝนดาวตกสิงโตบนดวงจันทร์

1 ธ.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์สมัครเล่นในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกได้พบสิ่งที่เชื่อว่าเป็นการพุ่งชนดวงจันทร์ของสะเก็ดดาวจากฝนดาวตกสิงโต เป็นครั้งแรกที่มีการพบเห็นโดยตรงว่าดวงจันทร์ถูกวัตถุพุ่งชน 

คนแรกที่พบการพุ่งชนคือ ไบรอัน คัดนิก จากฮูสตัน ได้สังเกตแสงวาบขึ้นที่ด้านมืดของดวงจันทร์เมื่อเวลา 4.46 น. ของวันที่ 18 พฤศจิกายน ตามเวลาสากล แสงวาบนี้ยังได้รับการยืนยันจากเดวิด ดันแฮมในแมรีแลนด์ ซึ่งสามารถบันทึกภาพไว้ได้ในกล้องวิดีโอ จากภาพในวิดีโอของเขาพบว่าแสงวาบนี้มีอันดับความสว่างถึง 

เปโดร วาลเดส ซาดา นักดูดาวจากมอนเทอร์เรย์ เม็กซิโก ได้รายงานว่าเห็นแสงวาบบนดวงจันทร์สองครั้งเมื่อเวลา 5.14 และ 5.15 น. ตามเวลาสากลโดยสามารถบันทึกภาพด้วยกล้องวิดีโอเอาไว้ได้ ซึ่งได้รับการยืนยันจากวิดีโอของดันแฮมเช่นเดียวกัน 

ดันแฮมเชื่อว่าแสงวาบทั้งสามนั้นเกิดจากการพุ่งชนของสะเก็ดดาวจากฝนดาวตกสิงโต เพราะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับช่วงสูงสุดของฝนดาวตกบนดวงจันทร์ ซึ่งล่าช้ากว่าช่วงสูงสุดบนโลกประมาณ ชั่วโมง 

ก่อนหน้านี้ได้มีการค้นพบสิ่งที่เชื่อว่าเป็นผลจากการพุ่งชนของฝนดาวตกสิงโตบนดวงจันทร์มาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2541 เมื่อนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบอสตันได้พบว่าดวงจันทร์มีหางโซเดียมเกิดขึ้นเป็นเวลาสั้น ๆ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการพุ่งชนของสะเก็ดดาวจากฝนดาวตกสิงโต แล้วถูกลมสุริยะพัดออกไปด้านหลัง 

จุดสีขาวตรงกลางเยื้องไปทางซ้ายเกิดขึ้นที่ด้านมืดของดวงจันทร์ในขณะที่เกิดฝนดาวตกสิงโต อาจเป็นภาพของการพุ่งชนของสะเก็ดดาวจากฝนดาวตกชุดนี้

จุดสีขาวตรงกลางเยื้องไปทางซ้ายเกิดขึ้นที่ด้านมืดของดวงจันทร์ในขณะที่เกิดฝนดาวตกสิงโต อาจเป็นภาพของการพุ่งชนของสะเก็ดดาวจากฝนดาวตกชุดนี้

ที่มา: