- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
4 มี.ค. 60
นักดาราศาสตร์พบว่า
22 ก.พ. 60
ดะอิซุเกะ ซุซุกิ จากศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด ได้ศึกษาประเภทของดาวเคราะห์ต่างระบบทั้งหมดที่เคยค้นพบในเชิงสถิติ พบว่าดาวเคราะห์ประเภทที่น่าจะมีมากที่สุดในเอกภพน่าจะเป็นดาวเคราะห์น้ำแข็งแบบดาวเนปจูน
19 ก.พ. 60
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนะโงะยะ ได้ศึกษาวงปีของต้นสนโบราณ พบหลักฐานว่าเมื่อ 5480 ปีก่อนคริสต์ศักราช บรรยากาศของโลกมีปริมาณของคาร์บอน-14 เข้มข้นกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นผลจากอันตรกิริยารุนแรงบางอย่างบนดวงอาทิตย์
17 ก.พ. 60
นักวิทยาศาสตร์เริ่มอภิปรายถึงแนวคิดที่จะให้มีภารกิจซ่อมบำรุงกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลอีกครั้งโดยใช้ยานดรีมเชสเซอร์ เพื่อเป็นการประกันว่าหากการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ล้มเหลว ก็ยังมีกล้องฮับเบิลคงปฏิบัติงานอยู่
17 ก.พ. 60
องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียม 104 ดวงจากจรวดพีเอสแอลวี เป็นการปล่อยดาวเทียมในคราวเดียวจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยทำได้ ก่อนหน้านี้เจ้าของสถิติการปล่อยดาวเทียมจำนวนมากที่สุดในคราวเดียวคือรอสคอสมอสของรัสเซีย ปล่อยได้ 37 ดวง
5 ก.พ. 60
30 มกราคม 2560 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยต่อคำสั่งห้ามการเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาจากคนใน 7 ประเทศตามนโยบายของนายดอนัลด์ ทรัมป์ เนื่องจากขัดต่อแนวนโยบายของสหพันธ์ที่เน้นการร่วมมือในระดับสากลโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา การเมือง หรือภาษา ทั้งนี้ไอเอยูมีสมาชิกที่เป็นนักดาราศาสตร์จากประเทศทั้งเจ็ดที่ถูกห้ามเข้าสหรัฐอยู่ถึง 47 คน
5 ก.พ. 60
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยานนิวเฮอไรซอนส์ได้จุดจรวดปรับทิศทางเป็นเวลาสั้น ๆ เพื่อเบนทิศทางในการเข้าหา 2014 เอ็มยู 69 (2014 MU69) วัตถุไคเปอร์ซึ่งเป็นเป้าหมายดวงถัดไปของยาน ยานมีกำหนดไปถึงวัตถุดวงนี้ในวันที่ 1 มกราคม 2562
28 ม.ค. 60
จีนกำหนดเดือนจะปล่อยภารกิจฉางเอ๋อ 5 เป็นเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ภารกิจนี้จะมีการเก็บตัวอย่างจากพื้นผิวดวงจันทร์แล้วนำมากลับมายังโลก
28 ม.ค. 60
วันที่ 27 มกราคม ที่ผ่านมา เป็นวาระครบรอบ 50 ปีของโศกนาฏกรรมอะพอลโล 1 เมื่อ 50 ปีก่อน ระหว่างการฝึกซ้อมภารกิจอะพอลโล 1 ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นในห้องนักบิน ทำให้นักบินทั้งสาม ได้แก่ เวอร์จิล กริซซอม, เอดเวิร์ด ไวต์ และ รอเจอร์ แชฟฟี เสียชีวิตทั้งหมด
28 ธ.ค. 59
จีนประกาศที่จะเป็นประเทศแรกที่ส่งยานอวกาศไปลงจอดบนดวงจันทร์ที่ด้านไกล
24 ธ.ค. 59
อเล็กซานเดอร์ มูสติลล์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลุนด์ ได้สร้างแบบจำลองการกำเนิดระบบสุริยะด้วยคอมพิวเตอร์ พบว่ามีความเป็นไปได้ที่ดาวเคราะห์หมายเลขเก้า เคยเป็นดาวเคราะห์ของระบบสุริยะอื่นมาก่อน แต่ถูกดวงอาทิตย์ดึงเอามาเป็นบริวารของตัวเองขณะที่เคลื่อนที่เข้าใกล้ดาวดวงอื่นในยุคต้นของระบบสุริยะ
14 ธ.ค. 59
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอร์วิก
14 ธ.ค. 59
หอสังเกตการณ์ไลโกทั้งที่วอชิงตันและลุยเซียนาได้กลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมาหลังจากปิดปรับปรุง ไลโกที่ปรับปรุงใหม่มีความไวมากขึ้นกว่าเดิม 25 เปอร์เซ็นต์
13 ธ.ค. 59
ช่วงสัปดาห์ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีกัมมันตภาพต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2554 นักดาราศาสตร์พบระดับของกัมมันตภาพสุริยะกำลังลดลงเร็วกว่าที่คาดไว้
28 ต.ค. 59
27 ตุลาคม 2559 ยานนิวเฮอไรซอนส์ได้ส่งข้อมูลการสำรวจดาวพลูโตและบริวารชุดสุดท้ายกลับมายังโลก เป็นการเสร็จสิ้นการส่งข้อมูลกลับที่ยาวนานถึง 15 เดือน
19 ต.ค. 59
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2559 ได้มีการค้นพบอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่ กัมโปเดลเซียโล ทางตอนเหนือของประเทศอาร์เจนตินา มีน้ำหนักถึง 30 ตัน นับเป็นอุกกาบาตที่หนักเป็นอันดับสองของอุกกาบาตทั้งหมดที่เคยพบบนโลก
18 ต.ค. 59
มูลนิธิวิจัยเซาเปาโลจากบราซิล เข้าร่วมโครงการกล้องจีเอ็มที ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เมตร มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2564
24 ก.ย. 59
นักดาราศาสตร์จากศูนย์วิจัยเอมส์ ได้เสนอทฤษฎีการกำเนิดของดวงจันทร์เนรีดใหม่ โดยกล่าวว่า เนรีดไม่ได้มีต้นกำเนิดมาพร้อมกับดาวเนปจูน แต่เป็นวัตถุจากที่อื่นที่ผ่านเข้ามาแล้วถูกดาวเนปจูนคว้าจับเอาไว้เป็นบริวาร ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าดวงจันทร์ไทรตัน ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูนก็มีต้นกำเนิดในลักษณะนี้มาก่อนแล้ว