- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
10 ก.ค. 58
นักวิทยาศาสตร์นานาชาติคณะหนึ่งพบว่า หลุมดำยักษ์ที่ใจกลางดาราจักร ซีไอดี-947 (CID-947) ซึ่งอยู่ห่างจากทางช้างเผือก 220 ล้านปีแสง มีอัตราการเติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตของตัวดาราจักรเองมาก การค้นพบนี้ขัดแย้งกับความเข้าใจทั่วไปว่าทั้งดาราจักรและหลุมดำที่ใจกลางควรมีอัตราการเติบโตไล่เลี่ยกัน
23 มิ.ย. 58
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล ได้ตรวจสอบอุกกาบาต 6 ก้อนที่เชื่อว่ามาจากดาวอังคาร พบว่ามีสายของแก๊สมีเทนอยู่ในเนื้ออุกกาบาตทุกก้อน
12 พ.ค. 58
ยานแมสเซนเจอร์พบว่า สนามแม่เหล็กของดาวพุธมีอายุเก่าแก่มาก เกิดขึ้นมาไม่น้อยกว่า 3.7 พันล้านปีแล้ว
9 เม.ย. 58
อินเดียได้เข้าร่วมโครงการกล้องโทรทรรศน์ทีเอ็มทีแล้ว นับเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย ถัดจากจีนและญี่ปุ่น
9 เม.ย. 58
เป็นเวลานานมาแล้วที่นักดาราศาสตร์พบว่าดาวฤกษ์อายุมากในดาราจักรทางช้างเผือก มีปริมาณลิเทียมน้อยกว่าที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์แสดงไว้ ในการสำรวจกระจุกดาวทรงกลม เอ็ม 54 ซึ่งเป็นบริวารของดาราจักรแคระคนยิงธนูด้วยการใช้กล้องวีแอลที พบว่า ปริมาณของลิเทียมของดาวฤกษ์ในกระจุกดาวนี้ก็อยู่ในระดับเดียวกับที่พบในกระจุกดาวทรงกลมของดาราจักรทางช้างเผือก นั่นแสดงว่าปริศนาลิเทียมไม่ได้เกิดเฉพาะในทางช้างเผือกเท่านั้น
9 เม.ย. 58
ข้อมูลจากยานเกรลของนาซา บ่งชี้ว่า ทะเลพายุ (Oceanus Procellarum) ซึ่งเป็นแอ่งขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ ตรงตำแหน่งที่เป็น "หัวกระต่าย" เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟและลาวา ไม่ได้เกิดจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย
26 มี.ค. 58
18 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 50 ปีของการย่ำอวกาศ การย่ำอวกาศครั้งแรกเกิดขึ้นโดย อะเล็กซี เลโอนอฟ จากสหภาพโซเวียต ในภารกิจของยานวอสฮอด 2 ในวันเดียวกันของปี 2508
1 มี.ค. 58
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนานกิงและมหาวิทยาลัยอิลินอยส์ ได้สำรวจคลื่นไหวสะเทือนของโลก และพบว่า แกนเหล็กแข็งซึ่งเป็นแกนชั้นในสุดของโลก ยังแบ่งออกเป็นสองชั้นที่มีทิศทางการเรียงของผลึกเหล็กต่างกัน ผลึกเหล็กในแกนเหล็กแข็งชั้นนอกเรียงกันในแนวเหนือใต้ แต่ผลึกในแกนเหล็กแข็งชั้นในกลับเรียงกันในแนวเส้นศูนย์สูตร
23 ม.ค. 58
14 มกราคม 2558 นักบินอวกาศทั้งหกคนที่อยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติต้องรุดไปยังโมดูลลี้ภัยของรัสเซีย เมื่อมีสัญญาณเตือนแอมโมเนียรั่วดังขึ้น แต่ต่อมาพบว่าเป็นสัญญาณเตือนผิดพลาดจากความดันที่เปลี่ยนแปลง
10 ม.ค. 58
นักดาราศาสตร์พบว่า ดวงจันทร์ยุโรปาของดาวพฤหัสบดี มีธรณีแปรสัญฐานด้วย นับเป็นแห่งแรกนอกจากโลกที่มีปรากฏการณ์แบบนี้
6 พ.ย. 57
เฉินเยว่ จากหอดูดาวคาร์เนกีในแคลิฟอร์เนีย ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากเอสดีเอสเอส พบว่า ความยาวคลื่นที่หลากหลายที่พบในเควซาร์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจากความแตกต่างของมุมที่แก๊สไหลเข้าสู่หลุมดำยักษ์กลางดาราจักร
2 พ.ย. 57
นักดาราศาสตร์พบว่าดาวโฟมัลออตมีดาวฤกษ์สหายอีกดวงหนึ่ง ชื่อดาวโฟมัลออตซี (Fomalhaut C) เป็นดาวแคระแดง อันดับความสว่าง 12.6 อยู่ห่างจากดาวประธานถึง 2.5 ปีแสง และบนท้องฟ้าปรากฏอยู่ห่างกันถึง 5.7 องศา
9 ส.ค. 57
กล้องโทรทรรศน์สปิตเซอร์ของนาซา ได้รับการอนุมัติให้ต่ออายุภารกิจไปอีกสองปี จากเดิมที่จะต้องยุติภารกิจในเดือนพฤษภาคมปีนี้
30 ก.ค. 57
จนถึง 28 กรกฎาคม 2557 รถออปพอร์ทูนิตีของนาซาได้แล่นบนพื้นผิวดาวอังคารมาแล้ว 40.25 กิโลเมตร นับเป็นรถที่เคยแล่นนอกโลกที่แล่นได้ไกลที่สุด เจ้าของสถิติเดิมคือ รถลูโนฮอด 2 ของสหภาพโซเวียต ที่เคยแล่นบนดวงจันทร์ได้ 39 กิโลเมตร
16 ก.ค. 57
นักดาราศาสตร์ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแคสซีนีพบว่า น้ำในมหาสมุทรใต้พิภพของดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ อาจเค็มจัดใกล้เคียงกับทะเลเดดซีบนโลก
16 มิ.ย. 57
วิลเลียม แบรดฟิลด์ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวนิวซีแลนด์และนักล่าดาวหางมือฉมังของโลก เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมาด้วยวัย 86 ปี แบรดฟิลด์ค้นพบดาวหางมาแล้ว 18 ดวง
4 มิ.ย. 57
ภาพดาวพฤหัสบดีล่าสุดจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล พบว่าจุดแดงยักษ์ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของดาวเคราะห์ดวงนี้ได้หดลงเหลือเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 16,000 กิโลเมตร ในขณะที่การวัดขนาดเมื่อราวสองร้อยปีมีขนาดถึง 41,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีรูปร่างกลมมากขึ้นอีกด้วย
20 ก.พ. 57
นิตยสาร "สปอร์ตอิลัสเตรต" ฉบับวางแผงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 มีภาพปกเป็น เคต อัปตัน ในชุดบิกินีที่อยู่ในภาวะไร้แรงโน้มถ่วงบนเครื่องบินซีโร-จี
14 ก.พ. 57
นักดาราศาสตร์ค้นพบดาราจักรแห่งใหม่ มีชื่อว่า เอเบลล์ 2744 วาย 1 (Abell 2744 Y1) มีการเลื่อนของสเปกตรัมไปทางแดงสูงถึง 8 เป็นดาราจักรแห่งแรกที่พบว่ามีการเลื่อนไปทางแดงสูงกว่า 7 นับเป็นดาราจักรที่ไกลที่สุดแห่งหนึ่งเท่าที่รู้จัก