- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
3 พ.ค. 59
29 เมษายน 2559 เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี ซึ่งเป็นเครื่องเร่งอนุภาค และเป็นเครื่องจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต้องหยุดชะงักลงกระทันหัน เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเกิดจากเพียงพอนตัวหนึ่งเข้าไปแทะสายเคเบิล
30 มี.ค. 59
วิทยาลัยมิซุซะวะในประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้านดาราศาสตร์ที่เร็วที่สุดในโลก มีชื่อว่า อะเตรุอิ เป็นคอมพิวเตอร์ในรุ่นเครย์ เอกซ์ซี 30 ที่มีพลังในการประมวลผลถึง 1.058 พีตาฟล็อป
18 มี.ค. 59
เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา คลังเพลตภาพถ่ายของหอดูดาววิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเก็บภาพอันทรงคุณค่าที่ถ่ายไว้ตลอดกว่าหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา ถูกน้ำท่วมจากอุบัติเหตุของท่อประปาแตก ส่งผลให้เพลตภาพประมาณ 61,000 แผ่นต้องแช่น้ำโคลนและเสี่ยงต่อความเสียหาย
1 มี.ค. 59
รอสคอสมอส องค์การอวกาศของรัสเซีย ประกาศให้ปี ค.ศ. 2016 นี้เป็น "ปีแห่งยูริกาการิน" เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปีที่ยูริ กาการิน ได้เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลก และถือเป็นการเฉลิมฉลองที่จะมีการปล่อยจรวดจากวอสตอคนีคอสโมโดมเป็นครั้งแรก
30 ธ.ค. 58
นักดาราศาสตร์นำโดย ชาดวิก ทรูจิลโล และ สก็อต เชปเพิร์ด ค้นพบวัตถุดวงใหม่ ชื่อ วี 774104 (V774104) อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 90 หน่วยดาราศาสตร์ เป็นวัตถุในระบบสุริยะที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ คาดว่าวัตถุนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 500-800 กิโลเมตร
25 พ.ย. 58
วิศวกรของนาซา ได้เริ่มติดตั้งกระจกปฐมภูมิบานแรกให้แก่กล้องโทรทรรศน์เจมส์เว็บบ์แล้ว คาดว่าการติดตั้งจะเสร็จสิ้นในต้นปีหน้า
20 พ.ย. 58
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 ยานอวกาศสวิฟต์ของนาซา ได้ค้นพบแสงวาบรังสีแกมมาแห่งใหม่ ชื่อ จีอาร์บี 151027 บี (GRB 151027B) นับเป็นแสงวาบรังสีแกมมาดวงที่ 1,000 ของยานลำนี้
19 พ.ย. 58
นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจดาราจักรมาร์คาเรียน 231 (Markarian 231) ซึ่งเป็นดาราจักรที่ใกล้ที่สุดที่มีเควซาร์ พบว่าดาราจักรนี้มีหลุมดำยักษ์ถึงสองหลุมโคจรรอบกันเองที่ใจกลาง
23 ต.ค. 58
ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเผยว่า จุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดีมีรูปร่างเปลี่ยนไปเร็วขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีขนาดเล็กลง กลมขึ้น สีเปลี่ยนเป็นทางส้มมากขึ้น และเริ่มปรากฏโครงสร้างแบบเส้นสายขึ้นที่กลางพายุด้วย
22 ต.ค. 58
จากการสำรวจบริเวณกำเนิดดาวบาร์นาร์ด 5 ด้วยการใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วีแอลเอพบว่าในบริเวณนี้ได้ให้กำเนิดดาวฤกษ์ก่อนเกิด (protostar) มาแล้วหนึ่งดวง และก้อนแก๊สบริเวณเดียวกันได้แตกออกเป็นส่วนและพร้อมจะสร้างดาวฤกษ์ดวงใหม่อีกสามดวง นอกจากนี้การศึกษาทางพลวัตของก้อนแก๊สบ่งชี้ว่าดาวหนึ่งในสี่ดวงนี้จะถูกเหวี่ยงออกจากระบบไป กลายเป็นระบบดาาวสามดวงแทน
17 ต.ค. 58
ทะคากิ คะจิตะ ชาวญี่ปุ่น และอาร์เทอร์ บี. แมกดอนัลด์ ชาวแคนาดา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2558 ร่วมกัน จากบทบาทในการเป็นผู้ค้นพบว่านิวทริโนจากดวงอาทิตย์กลายร่างได้ในระหว่างการเดินทาง
15 ต.ค. 58
เจฟฟ์ มาร์ซี นักวิทยาศาสตร์ นักล่าดาวเคราะห์ต่างระบบชั้นแนวหน้าของโลก ได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ เบิร์กลีย์ และตำแหน่งสำคัญทางดาราศาสตร์อีกหลายตำแหน่ง หลังจากที่ถูกเปิดโปงว่าตนได้ล่วงละเมิดทางเพศต่อนักศึกษาสาวหลายคนตลอดเวลานับสิบปีที่ผ่านมา
30 ก.ค. 58
มาร์คัส ลอหร์ จากมหาวิทยาลัยโอเพนพบว่า ระบบดาวสี่ดวงชื่อ 1 สวอสป์ เจ 093010.78+533859.5 (1SWASP J093010.78+533859.5) ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ที่ตนค้นพบเมื่อปี 2554 นั้น แท้จริงเป็นระบบดาวห้าดวง คาดว่าระบบดาวนี้มีอายุราว 9-10 พันล้านปี
12 ก.ค. 58
การประท้วงคัดค้านโครงการกล้องทีเอ็มทีที่ภูเขามานาเคอา ทำให้ทางการต้องปิดเส้นทางสู่หอดูดาวห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องและคนงานก่อสร้างผ่าน คำสั่งนี้ส่งผลให้นักดูดาวสมัครเล่นที่แสวงหาที่มืดมิดเพื่อการสังเกตท้องฟ้า และธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนมากต้องได้รับความเดือดร้อน คำสั่งปิดเส้นทางนี้เป็นการปิดอย่างไม่มีกำหนด และมีแนวโน้มจะเป็นการปิดถาวร
10 ก.ค. 58
นักวิทยาศาสตร์นานาชาติคณะหนึ่งพบว่า หลุมดำยักษ์ที่ใจกลางดาราจักร ซีไอดี-947 (CID-947) ซึ่งอยู่ห่างจากทางช้างเผือก 220 ล้านปีแสง มีอัตราการเติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตของตัวดาราจักรเองมาก การค้นพบนี้ขัดแย้งกับความเข้าใจทั่วไปว่าทั้งดาราจักรและหลุมดำที่ใจกลางควรมีอัตราการเติบโตไล่เลี่ยกัน
23 มิ.ย. 58
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล ได้ตรวจสอบอุกกาบาต 6 ก้อนที่เชื่อว่ามาจากดาวอังคาร พบว่ามีสายของแก๊สมีเทนอยู่ในเนื้ออุกกาบาตทุกก้อน
12 พ.ค. 58
ยานแมสเซนเจอร์พบว่า สนามแม่เหล็กของดาวพุธมีอายุเก่าแก่มาก เกิดขึ้นมาไม่น้อยกว่า 3.7 พันล้านปีแล้ว
9 เม.ย. 58
อินเดียได้เข้าร่วมโครงการกล้องโทรทรรศน์ทีเอ็มทีแล้ว นับเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย ถัดจากจีนและญี่ปุ่น
9 เม.ย. 58
เป็นเวลานานมาแล้วที่นักดาราศาสตร์พบว่าดาวฤกษ์อายุมากในดาราจักรทางช้างเผือก มีปริมาณลิเทียมน้อยกว่าที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์แสดงไว้ ในการสำรวจกระจุกดาวทรงกลม เอ็ม 54 ซึ่งเป็นบริวารของดาราจักรแคระคนยิงธนูด้วยการใช้กล้องวีแอลที พบว่า ปริมาณของลิเทียมของดาวฤกษ์ในกระจุกดาวนี้ก็อยู่ในระดับเดียวกับที่พบในกระจุกดาวทรงกลมของดาราจักรทางช้างเผือก นั่นแสดงว่าปริศนาลิเทียมไม่ได้เกิดเฉพาะในทางช้างเผือกเท่านั้น