สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(15 ก.ค. 53) หากในอนาคตจะมีทัวร์อวกาศพาลูกทัวร์ไปท่องเที่ยวตามดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นแล้ว ดาวเคราะห์ชื่อ เอชดี 209458 บี (HD209458b) คงไม่อยู่ในรายการเป้าหมายเป็นแน่ ไม่เพียงแต่เพราะเหตุที่ดาวเคราะห์นี้ร้อนจัดและมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยแก๊ส ...

วัตถุไคเปอร์บังดาวฤกษ์ เผยพื้นผิวขาวผิดปกติ

(23 มิ.ย. 53) คณะนักดาราศาสตร์จากหลายประเทศได้ร่วมสำรวจวัตถุไคเปอร์ชื่อ 55636 ด้วยวิธีใหม่ และได้พบว่าวัตถุดวงนี้สว่างกว่าวัตถุไคเปอร์ทั่วไป 55636 เดิมชื่อ 2002 TX300 โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยรัศมีวงโคจร 48 หน่วยดาราศาสตร์ วัตถุไคเปอร์ เป็นวัตถุในระบบสุริยะ คล้ายดาวพลูโต โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ใน ...

ฮะยะบุซะกลับบ้าน

(21 มิ.ย. 53) หลังจากรอนแรมไปในระบบสุริยะมานานถึงเจ็ดปี ในที่สุด ฮะยะบุซะ ยานสำรวจสัญชาติญี่ปุ่นก็กลับมาถึงโลกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา ยานฮะยะบุซะได้ปล่อยแคปซูลเมื่อเวลา 17:51 น. ตามเวลาประเทศไทย และ ...

แสงวาบลึกลับบนดาวพฤหัสบดี

(17 มิ.ย. 53) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2553 ได้เกิดเหตุบางอย่างขึ้นกับดาวพฤหัสบดี เกิดจุดสีขาวสว่างวาบขึ้นบนยอดเมฆจนมองเห็นได้แม้แต่จากกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กบนโลก เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้ได้ในกล้องวิดีโอโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นทั้งจากออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ ...

พบน้ำบนดาวเคราะห์น้อย

(11 พ.ค. 53) เชื่อกันว่า น้ำบนโลกน่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากวัตถุจำพวกดาวหางที่มาชนโลกในยุคตั้งต้นของระบบสุริยะ ดาวหางมีน้ำแข็งอยู่มาก เมื่อมาพุ่งชนก็เอาน้ำมาทิ้งไว้บนโลกด้วย การชนครั้งแล้วครั้งเล่าได้ทำให้โลกกลายเป็นดาวเคราะห์ที่ชุ่มฉ่ำดังเช่นปัจจุบัน แนวคิดนี้อาจต้องเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ดาวหางอาจ ...

ต้นกำเนิดซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอ ชักมีปัญหา

(10 พ.ค. 53) เป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่นักดาราศาสตร์ใช้ประโยชน์จากการสังเกตซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอ ซูเปอร์โนวาชนิดนี้มีสมบัติเฉพาะตัวนั่นคือ ทุกดวงมีความส่องสว่างสัมบูรณ์เท่ากัน ดังนั้นการวัดความสว่างของซูเปอร์โนวาชนิดนี้ที่อยู่ตามดาราจักรต่าง ๆ ทำให้นักดาราศาสตร์ทราบถึงระยะทาง รวมไปถึงความเร็ว ...

พบกระจกสะท้อนเลเซอร์ของโซเวียตบนดวงจันทร์

(10 พ.ค. 53) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2513 ยานลูนา 17 ของ สหภาพโซเวียตได้ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จ ในการสำรวจดวงจันทร์ ครั้งนั้น ยานได้ปล่อยรถสำรวจชื่อ ลูโนฮอด 1 ลงไปวิ่ง สำรวจดวงจันทร์ด้วย การติดต่อระหว่างยานกับโลกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2514 หลัง จากนั้นก็ไม่ ...

ฟ้าผ่าดาวเสาร์

(29 เม.ย. 53) ยานแคสซีนีของนาซา ได้ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพฟ้าแลบบนดาวเสาร์ได้เป็นครั้งแรก ไม่เพียงแต่ภาพถ่ายเท่านั้น ยังมีเสียงซาวด์แทร็กประกอบอีกด้วยภาพถ่ายฟ้าแลบครั้งนี้ถ่ายขึ้นในเดือนสิงหาคม 2552 ซึ่งอยู่ระหว่างที่เกิดพายุโหมกระหน่ำตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม และเป็น ...

วัตถุลึกลับบดบังดาวเอปไซลอนสารถี

(14 เม.ย. 53) ในบรรดาดาวฤกษ์ที่พิสดารที่สุดบนท้องฟ้า ดาวเอปไซลอนสารถี (Epsilon Aurigae) คงต้องอยู่ในอันดับต้น ๆ นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาดาวดวงนี้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1821 พบว่าทุก 27 ปี ดาวดวงนี้จะหรี่แสงลง 2.9 - 3.8 อันดับเป็นเวลา 640-730 วัน แม้ส่วนใหญ่จะคิดเห็นตรงกันว่าเป็นดาวแปรแสงประเภทดาวคู่อุปราคา นั่นคือประกอบ ...

ดวงจันทร์แพ็กแมน

(9 เม.ย. 53) ปล่อยให้ดวงจันทร์ดวงอื่นโดดเด่นมานาน และแล้วก็ถึงเวลาที่ดวงจันทร์ไมมาสจะได้เป็นข่าวใหญ่กับเขาบ้าง ในบรรดาดวงจันทร์ใหญ่ของดาวเสาร์ ดวงจันทร์ไมมาส ไม่เป็นที่น่าสนใจมากนัก ด้วยขนาดที่ค่อนข้างเล็กและไม่มีภูมิทัศน์ใดที่โดดเด่นสะดุดตา จึงมักถูกมองข้ามไปเสมอ แต่เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่าน ...

วัตถุไคเปอร์ที่เล็กที่สุด

(29 มี.ค. 53) ฮิลก์ ชลิชติง จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและคณะ ได้ค้นพบวัตถุไคเปอร์ดวงใหม่ เป็นวัตถุไคเปอร์ที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในย่านแสงที่ตามองเห็น วัตถุไคเปอร์ เป็นวัตถุที่โคจรอยู่ในแถบไคเปอร์ ซึ่งเป็นวงแหวนขนาดมหึมาล้อมรอบดวงอาทิตย์ มีรัศมีวงโคจรใหญ่กว่ารัศมีวงโคจรของดาว ...

พฤหัสเย็น ดาวเคราะห์ชนิดใหม่

(23 มี.ค. 53) เมื่อปี 2538 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น หรือดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรก ก่อนหน้าการค้นพบนั้น นักดาราศาสตร์คาดหวังว่า ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นน่าจะมีลักษณะไม่ต่างจากดาวเคราะห์ครอบครัวระบบสุริยะของเรามากนัก แต่การค้นพบก็ทำให้ต้องประหลาดใจไปตามกัน เพราะดาวเคราะห์ที่พบเป็นดาวเคราะห์แก๊สมีขนาดใหญ่กว่ามาก ซ้ำยังโคจรรอบดาวฤกษ์ในระยะใกล้มาก มีอุณหภูมิพื้นผิวเกิน 1,000 องศาเซลเซียส โคจร ...

ซูเปอร์ซูเปอร์โนวา

(23 มี.ค. 53) ทฤษฎีทางฟิสิกส์ดาวฤกษ์กล่าวว่า เมื่อดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์สิ้นอายุขัย จะเปลี่ยนจากดาวฤกษ์เป็นดาวแคระขาว
และดาวแคระขาวทุกดวงมีมวลไม่เกิน 1.4 เท่าของดวงอาทิตย์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ขีดจำกัดจันทรา หากดาวแคระขาวได้รับมวลสารจากที่อื่น เช่นดาวฤกษ์สหาย จนมีมวลมากขึ้นถึงขีดจำกัดจันทรา ดาวจะระเบิดขึ้นเป็นซูเปอร์โนวาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ...

จันทรายาน-1 พบน้ำบนขั้วเหนือของดวงจันทร์

(18 มี.ค. 53) ดวงจันทร์ของโลกคงไม่ใช่ดินแดนแห่งความแห้งแล้งอย่างที่เคยคิดกัน เมื่อข้อมูลจากยานสำรวจหลายลำยืนยันไปในทางเดียวกันว่า ดวงจันทร์มีน้ำอยู่จริง ล่าสุด ยานจันทรายาน-1 ของอินเดียก็ตรวจพบน้ำแข็งอยู่ในก้นหลุมอุกกาบาตกว่า 40 แห่ง อุปกรณ์ที่สำรวจน้ำในครั้งนี้คือ มินิ-ซาร์ (MiniSAR) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจจับเรดาร์ของนาซาที่ติด ...

ซูเปอร์โลกกลายเป็นซูเปอร์ไอโอ

(7 มี.ค. 53) เมื่อต้นปีที่แล้ว มีการพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงหนึ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะนักดาราศาสตร์พบว่าดาวเคราะห์ดวงนี้มีลักษณะใกล้เคียงโลกมากที่สุด ดาวเคราะห์นี้มีชื่อว่า คอรอต-7 บี (CoRoT-7b) แต่การศึกษาในระยะต่อมา เริ่มพบว่า ...

ลิเทียมในดาวฤกษ์ช่วยค้นดาวเคราะห์

(24 ก.พ. 53) นักดาราศาสตร์คณะหนึ่งได้ใช้สเปกโทรกราฟฮาร์ปของหอสังเกตการอีเอสโอสำรวจดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ 162 ดวง พบว่าในจำนวนนี้ มี 46 ดวงที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร เรื่องน่าสนใจคือ นักดาราศาสตร์พบว่าดาวกลุ่มนี้มีสัดส่วนของลิเทียมน้อยกว่าดาวฤกษ์ 116 ดวงที่เหลือที่ไม่มีดาวเคราะห์อยู่ถึงสิบเท่า รายงานนี้ตี ...

ฮับเบิลเผยโฉมพลูโต

(16 ก.พ. 53) ดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระที่อยู่ห่างไกล เคยถูกจัดเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์เก้าดวงของระบบสุริยะ ปัจจุบันก็ยังเป็นดาวเคราะห์แคระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด แต่ด้วยระยะทางที่ไกลแสนไกล ทำให้นักดาราศาสตร์รู้จักดาวพลูโตน้อยมาก ภาพถ่ายของดาวพลูโตที่ดีที่สุดยัง ...

เหมือนดาวหาง แต่ไม่ใช่ดาวหาง

(11 ก.พ. 53) กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจพบซากรูปร่างประหลาดในอวกาศ คาดว่าเป็นผลจากการชนประสานงากันระหว่างดาวเคราะห์น้อยสองดวง การชนกันของดาวเคราะห์น้อยเป็นปรากฏการณ์รุนแรงมาก ความเร็วเฉลี่ยของการชนอาจสูงกว่า 17,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือกว่า 5 เท่าของกระสุน ...

โคตรเพชรบนยูเรนัสและเนปจูน

(9 ก.พ. 53) ณ ห้องทดลองแห่งชาติลอเรนซ์ลิเวอร์มอร์ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองยิงเลเซอร์กำลังสูงไปยังเพชรขนาดกว้าง 2 มิลลิเมตร หนา 0.5 มิลลิเมตร การยิงนี้ทำให้ความร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 110,000 เคลวิน และมีความดันถึง 4,000 กิกะปาสคาลหรือ 40 ล้านเท่าของความดันปกติที่ผิวโลก ปฏิบัติการนี้เป็นผลงานของคณะนักวิทยาศาสตร์นำโดย โจน เอกเกิร์ต เป็นการทดลองเพื่อศึกษารายละเอียด ...

ไขปัญหาแกนีมีด-คัลลิสโต

(29 ม.ค. 53) โดยปกติแล้ว วัตถุในอวกาศที่มาจากสสารก้อนเดียวกัน อยู่ใกล้เคียงกัน มีขนาดไล่เลี่ยกัน ก็น่าจะมีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกัน เช่นดวงจันทร์แกนีมีดและดวงจันทร์คัลลิสโตของดาวพฤหัสบดี ที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน องค์ประกอบก็คล้ายกัน แต่ข้อมูลการสำรวจจากยานกาลิเลโอและยานวอยเอเจอร์แสดงว่า ดวงจันทร์ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น