(21 พ.ย. 49) ยิ่งกล้องโทรทรรศน์พัฒนาไปมากขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งค้นพบดาวใหม่มากขึ้นเท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบระบบดาวหลายดวงเพิ่มขึ้นอีก 20 แห่ง ดาวที่พบใหม่นี้ไม่ใช่ดาวที่อยู่ไกลโพ้น แต่เป็นดาวเพื่อนบ้านของดวงทิตย์นี้เอง เหตุที่เพิ่งค้นพบเนื่องจากเป็นดาวที่แสงจางมากจนไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน
...
(18 พ.ย. 49) เป็นที่เชื่อกันมาอย่างนมนานว่า ดวงอาทิตย์ โลก สิ่งมีชีวิตบนโลกรวมถึงเนื้อหนังของเราทั้งหมด ล้วนเกิดมาจากเถ้าธุลีที่หลงเหลือจากการระเบิดซูเปอร์โนวา แต่การค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อไม่นานมานี้กลับพบว่า ซูเปอร์โนวาไม่ใช่แหล่งกำเนิดฝุ่นส่วนใหญ่ในเอกภพ หากแต่เป็นดาวดวงเล็กที่มีจุด
...
(15 พ.ย. 49) เปล่า นาซาไม่ได้ส่งเครื่องเสียงไปให้ใครฟังเพลงในอวกาศ สเตอริโอในที่นี้คือยานอวกาศแฝดคู่ของนาซา ชื่อสเตอริโอ (STEREO) ย่อมาจาก Solar Terrestrial Relations Observatory ดาวเทียมคู่นี้ทำหน้าที่ศึกษาการปะทุบนดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์เรียกการปะทุบนดวงอาทิตย์ว่า การลุกจ้า (flare) เป็นการระเบิดพลังมหาศาล สามารถอัดมวลสารของ
...
(15 พ.ย. 49) นักวิทยาศาสตร์นำโดย เควิน ลูห์แมน จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต ได้ค้นพบระบบสุริยะใหม่อีกแห่งหนึ่งแล้ว เป็นระบบสุริยะที่แปลกไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ระบบนี้ มีดาวแม่เป็นดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ มีบริวารเป็นดาวเคราะห์กับ
...
(10 ต.ค. 49) นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นอีกแล้ว แต่ดาวเคราะห์ที่พบใหม่นี้ไม่เหมือนกับดาวเคราะห์ดวงไหน ๆ ที่เคยค้นพบมาก่อน อาจต้องจัดไว้เป็นดาวเคราะห์ประเภทใหม่เลยทีเดียว ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นบริวารของดาว เอดีเอส 16402 บี (ADS 16402B) ซึ่งเป็นสมาชิกของระบบดาวคู่คู่หนึ่งชื่อว่า เอดีเอส 16402 ในกลุ่มดาวกิ้งก่า อยู่ห่างจากโลก 450 ปีแสง มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา ดาวทั้งสองดวงอยู่.
...
(7 ต.ค. 49) หอดูดาวเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตันขององค์การอวกาศยุโรปและหอดูดาวจันทราของนาซา พบหลักฐานที่ช่วยชี้ต้นกำเนิดของดาวระเบิดที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์เคยบันทึกไว้ได้
...
(20 ก.ย. 49) บนโลก เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ยอดอ่อนของต้นไม้ในป่าผลัดใบจะบานสะพรั่ง แต่ที่ดาวอังคาร เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ รอยกระดำกระด่างรูปร่างแปลกผุดสะพรั่งขึ้นบริเวณขั้วใต้แทน นักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นรอยจุดคล้ำร่างแปลกนี้มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นรอยอะไร รอยคล้ำนี้ บางจุดรูปร่างเหมือนพัด
...
(16 ก.ย. 49) ในที่สุด วัตถุที่นำมาซึ่งปัญหาและความขัดแย้ง ก็ได้ชื่อสามัญอย่างเป็นทางการแล้ว และเป็นชื่อที่ดูจะเหมาะสมแก่บทบาทของตนที่สุด อีริส ชื่อของเทพีแห่งความขัดแย้งของกรีก ได้รับการนำมาตั้งเป็นชื่อสามัญของ 2003 ยูบี 313 (2003 UB313) วัตถุดวงนี้ค้นพบเมื่อเดือนมกราคม 2548 โดยไมเคิล บราวน์, ชาด ทรูจิลโล, และเดวิด แอล. ราบิโนวิตซ์ จาก
...
(16 ก.ย. 49) เมื่อเช้ามืดของวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา ยานสมาร์ต-1 ขององค์การอีซา ได้พุ่งเข้าชนดวงจันทร์ แรงปะทะส่งแสงวาบขึ้น เป็นการจุดพลุฉลองปิดภารกิจที่สมบูรณ์แบบที่ยาวนานมาถึงหนึ่งปีครึ่งอย่างสวยงาม การชนเกิดขึ้นเมื่อเวลา 12:42:22 ตามเวลาประเทศไทย เมื่อสัญญาณจากยานที่ส่งมายังศูนย์ปฏิบัติการอวกาศยุโรปของอีซา
...
(21 ส.ค. 49) ดาวพลูโตจะถือเป็นดาวเคราะห์ได้หรือไม่ หรือจะถูกลดชั้นไปเป็นวัตถุไคเปอร์ ข้อถกเถียงที่ดำเนินมาอย่างยาวนานนี้กำลังจะได้ข้อยุติในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ เมื่อกำลังจะมีการให้คำจำกัดความของคำว่าดาวเคราะห์กันใหม่ การกำหนดคำจำกัดความของคำว่าดาวเคราะห์เริ่มเป็นประเด็นร้อนในวงการดาราศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องหลายปี เดิมทีก่อนที่จะมีการค้นพบ
...
(18 ส.ค. 49) เจมส์ แวน อัลเลน วัย 91 ปี ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมาที่ไอโอวาซิตี มลรัฐไอโอวาด้วยอาการหัวใจล้มเหลว เจมส์ แวน อัลเลน มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาโครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะในช่วงต้นของสงครามชิงความเป็นจ้าวอวกาศกับสหภาพโซเวียต อัลเลน เกิดในเมานต์เพลซันต์ มลรัฐไอโอวา เขาจบการศึกษาจาก
...
(18 ส.ค. 49) นักดาราศาสตร์ได้ตั้งข้อสงสัยมาเป็นเวลานานแล้วว่าบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์อาจมีแหล่งของเหลวที่มีมีเทนหรืออีเทนเหลวอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่หนาวเย็นเช่นบริเวณใกล้ขั้วดาว ภาพถ่ายล่าสุดของดวงจันทร์ไททันเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้ทำให้ทฤษฎีดังกล่าวน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ภาพชุดนี้ถ่ายโดยอุปกรณ์ชื่อเรดาร์ของยานแคสซีนี แสดง
...
(31 ก.ค. 49) เมื่อยานแคสซีนีได้เดินทางไปถึงดาวเสาร์อันเป็นจุดหมายปลายทางเมื่อต้นปีที่แล้ว ยานได้ปล่อยยานลูกลำหนึ่งชื่อ ยานไฮเกนส์ ลงไปบนดวงจันทร์ไททันซึ่งเป็นบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ เพื่อสำรวจบริวารดวงนี้ในระยะใกล้ชิด ภารกิจหลักของยานไฮเกนส์คือตรวจวัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในบรรยากาศของไททันในขณะที่ยานตกลงสู่พื้นผิวโดยมีร่มชะลอความเร็ว พร้อมกันนั้นก็ส่ง
...
(30 ก.ค. 49) ใคร ๆ ก็มักบอกว่า ยิ่งใหญ่ยิ่งดี นักวิทยาศาสตร์ก็ชอบดาวเทียมดวงใหญ่ เพราะยิ่งใหญ่ก็มักมีความสามารถมาก แต่ดาวเทียมดวงจิ๋วชื่อ คอรอต (COROT) ของยุโรปกำลังจะพิสูจน์ว่าดาวเทียมเล็กก็อาจเก่งไม่แพ้ดาวเทียมใหญ่ได้ คอรอตเป็นดาวเทียมประเภทกล้องโทรทรรศน์อวกาศ มีความไวอย่างสุดยอด มีความสามารถในการตรวจ
...
(22 มิ.ย. 49) เมื่อหนึ่งสหัสวรรษที่แล้ว
บรรพบุรุษของเราได้มีโอกาสเห็นดาวดวงหนึ่งทางท้องฟ้าซีกใต้ที่สว่างที่สุดในประวัติศาสตร์ มีความสว่างถึงประมาณหนึ่งในสี่ของพระจันทร์เต็มดวง มีบันทึกถึงเหตุการณ์ช่วงนั้นจากบันทึกของชาวเอเชีย ตะวันออกกลาง และยุโรป
...
(19 มิ.ย. 49) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 มีหลุมอุกกาบาตหลุมใหม่เกิดขึ้นดวงจันทร์อีกหนึ่งหลุม อุกกาบาตชนดวงจันทร์เกิดหลุมขึ้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นที่รู้กันทั่วไปอยู่แล้วจากภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์ที่พรุนไปด้วยหลุมน้อยใหญ่ทั่วทั้งดวง แต่ที่ต้องเป็นข่าวเพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกภาพไว้
...
(10 มิ.ย. 49) ในอวกาศมีปรากฏการณ์ที่รุนแรงประเภทการระเบิดการปะทุหลายแบบ การระเบิดสองชนิดที่รุนแรงมากและเป็นที่สนใจของนักดาราศาสตร์เป็นพิเศษคือ ซูเปอร์โนวา และแสงวาบรังสีแกมมา (gamma-ray burst) ซูเปอร์โนวา เป็นสิ่งที่มีการศึกษามานานแล้ว นักดาราศาสตร์ทราบต้นกำเนิดเป็นอย่างดี ...
(6 มิ.ย. 49) นับตั้งแต่ดาวเทียมโซโฮ ซึ่งเป็นหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ได้ขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2538 ยานได้นำความลับมากมายจากดวงอาทิตย์มาสู่วงการวิทยาศาสตร์สุริยะ จนถึงวันนี้ โซโฮได้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญให้แก่รายงานวิจัยกว่า 2,400 ฉบับโดยนักดาราศาสตร์กว่า 2,300 คน
...
(2 มิ.ย. 49) นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ของดาวฤกษ์ดวงอื่นอีกแล้ว คราวนี้พบทีเดียวสามดวง และยังมีมวลประมาณดาวเนปจูนเท่านั้น ดาวเคราะห์ที่พบใหม่นี้เป็นบริวารของดาว เอชดี 69830 เป็นดาวฤกษ์ดวงเล็กที่อยู่ห่างจากโลกเพียง 41 ปีแสงในกลุ่มดาวท้ายเรือ
...
(9 พ.ค. 49) ระบบสุริยะเรามีสมาชิกประเภทใหม่อีกประเภทหนึ่งแล้ว จะว่าดาวเคราะห์น้อยก็ไม่ใช่ จะว่าดาวหางก็ไม่เชิง เฮนรี ไซห์ และเดวิด จีวิตต์ จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ค้นพบและเผยแพร่ลงในวารสารไซนซ์เอกซ์เพรสส์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคมว่า ดาวเคราะห์น้อยชื่อ 118401 หรือ 1999 อาร์อี 70 (1999 RE70) ปล่อยหางออกมาเหมือนดาวหาง ...