สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(26 ม.ค. 53) เพียงไม่ถึงเดือนหลังจากที่ดาวเทียมไวส์ (WISE--Wide-field Infrared Survey Explorer) ของนาซาขึ้นสู่อวกาศ ก็ประเดิมพบดาวเคราะห์น้อยมืดดวงแรกได้แล้ว ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า 2010 เอบี 78 (2010 AB78) ค้นพบเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 ดาวเทียมไวส์โคจรรอบโลกด้วยคาบรอบละหนึ่งวันครึ่ง ขณะที่โคจรจะกวาดสายตาไปทั่วท้องฟ้าเพื่อค้นหาดาวเคราะห์น้อย ...

ต้นกำเนิดของบรรยากาศดวงจันทร์

(10 ม.ค. 53) หลายทศวรรษมาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ดวงจันทร์ที่เคยคิดว่าไม่มีบรรยากาศนั้น แท้จริงมีบรรยากาศที่บางเบามากปกคลุมอยู่ แต่ต้นกำเนิดของบรรยากาศดวงจันทร์ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าไอออนที่เป็นส่วนประกอบหลักของบรรยากาศของดวงจันทร์กำเนิดขึ้นจากพื้นผิวที่มีอันตรกิริยากับ ...

เคปเลอร์ค้นพบดาวเคราะห์ใหม่ 5 ดวง

(10 ม.ค. 53) ดาวเคราะห์ทั้งห้าดวงนี้ได้ชื่อว่า เคปเลอร์ 4 บี, 5 บี, 6 บี, 7 บี และ 8 บี ทั้งหมดมีขนาดใหญ่กว่าโลก จัดเป็นประเภทที่เรียกว่า "พฤหัสร้อน" เนื่องจากมีมวลและอุณหภูมิสูงมาก มีขนาดตั้งแต่ใกล้เคียงกับดาวเนปจูนจนถึงใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี มีคาบโคจรรอบดาวฤกษ์ ...

น้ำบนดาวศุกร์หายไปไหน

(30 ม.ค. 52) บางคนชอบเปรียบเทียบดาวศุกร์ไว้ว่า เป็นน้องสาวของโลก เพราะมีอะไรคล้ายกันหลายอย่าง ทั้งมีขนาดใกล้เคียงกัน กำเนิดขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกัน นักดาราศาสตร์จึงเชื่อว่าทั้งโลกและดาวศุกร์ล้วนแต่เป็นดาวเคราะห์ชุ่มน้ำมาตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว ...

แสงวาบรังสีแกมมาใหม่ ตาเปล่าก็เห็น

(24 เม.ย. 51) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 เวลา 6:12 น. ตามเวลาสากล ดาวเทียมสวิฟต์ ได้ตรวจพบแสงวาบรังสีแกมมาแห่งหนึ่งที่มีทิศทางมาจากกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ หลังจากมีการแจ้งข่าวให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลกได้ทราบแล้ว ...

พบมหาสมุทรแห่งใหม่บนไททัน อยู่ใต้ดิน

(22 เม.ย. 51) ยานแคสซีนีขององค์การนาซาได้พบหลักฐานว่าที่ดวงจันทร์ไททัน ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ อาจมีมหาสมุทรใต้พิภพที่เป็นน้ำกับแอมโมเนียปะปนกันอยู่ ...

แหล่งค้นหาสิ่งมีชีวิตแห่งใหม่บนดาวอังคาร

(21 เม.ย. 51) คณะนักดาราศาสตร์นำโดย มิกกี ออสเทอร์ลู จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ค้นพบแหล่งตะกอนของเกลือคลอไรด์หลายแห่งบนดาวอังคาร จากการใช้ข้อมูลจากระบบเทมีส (THEMIS--Thermal Emission Imaging System) บนยานมาร์สโอดิสซีของนาซา ...

วัฏจักรสุริยะคืนชีพ

(4 เม.ย. 51) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ประกาศว่า วัฏจักรสุริยะรอบที่ 24 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว โดยมีการปรากฏของจุดมืดคู่แรกที่มีขั้วแม่เหล็บสลับกับจุดในวัฏจักรก่อนเป็นสัญญาณสำคัญ ...

พบดาวฤกษ์สลับขั้วแม่เหล็ก

(3 มี.ค. 51) เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน ดวงอาทิตย์ของเราเพิ่งมีการสลับขั้วแม่เหล็กไป อันถือเป็นการเริ่มต้นของวัฏจักรสุริยะใหม่ แต่อย่าคิดว่าดาวฤกษ์ที่สลับขั้วแม่เหล็กได้มีแต่ดวงอาทิตย์เท่านั้น ดาวดวงอื่นก็สลับได้ด้วย คณะนักดาราศาสตร์จากนานาชาติที่ประกอบด้วย เอฟเจนยา ชโคลนิค จากมหาวิทยาลัยฮาวายรายงานว่าได้พบดาวเทาคน
...

โจทย์ใหม่จากเมสเซนเจอร์

(27 ก.พ. 51) การไปเยือนดาวพุธของยานเมสเซนเจอร์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้ให้ภาพของดาวพุธต่างไปจากที่นักดาราศาสตร์เคยเข้าใจอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่คิดว่าดาวพุธมีลักษณะคล้ายดวงจันทร์ของเราหลายอย่าง แต่ข้อมูลจากเมสเซนเจอร์กลับบอกอีกอย่างหนึ่ง ...

วัดระยะดาวจากแสงสะท้อน

(27 ก.พ. 51) ด้วยการอาศัยหลักการสะท้อนแสง นักดาราศาสตร์สามารถใช้กล้องอีเอสโอวัดระยะทางของดาวแปรแสงชนิดซีฟิดได้อย่างแม่นยำอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน 
ดาวฤกษ์แบบซีฟิด เป็นดาวแปรแสงที่มีสมบัติเฉพาะตัว นักดาราศาสตร์ใช้ดาวชนิดนี้เป็นเครื่องมือแทนไม้บรรทัดวัดระยะทางของดาวและดาราจักรมาเป็นเวลานาน ...

ดาวนิวตรอนแบบใหม่ หนักเท่าหลุมดำ

(22 ก.พ. 51) ดาวนิวตรอน และหลุมดำ เป็นแกนของดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัยแล้วเหมือนกัน แต่เป็นมวยต่างรุ่นต่างน้ำหนัก โดยมีเส้นแบ่งอยู่ที่ 1.4 มวลดวงอาทิตย์ ไม่มีดาวนิวตรอนดวงใดที่มีมวลมากกว่านี้ แต่การค้นพบดาวนิวตรอนใหม่สองดวงอาจทำให้นักดาราศาสตร์ต้องปรับแก้เส้นแบ่งนี้เสียใหม่ ...

ดีปอิมแพกต์ภาคพิสดาร

(22 ก.พ. 51) ...

อายุของไอสวิคคี 18

(5 ก.พ. 51) ดาราจักร ไอสวิคคี 18 (I Zwicky 18) เป็นหนึ่งใน 30,000 ดาราจักรที่นักดาราศาสตร์ชาวสวิส ฟริตซ์ สวิคคี เรียบเรียงไว้เป็นบัญชีในทศวรรษ 1930 ดาราจักรนี้เป็นชนิดที่เรียกว่า ดาราจักรไร้รูปแบบ (irregular galaxy) นั่นคือมีรูปร่างแปลกประหลาดไม่ซ้ำกัน ...

ยูลีสซีสผ่านขั้วดวงอาทิตย์

(3 ก.พ. 51) เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 เป็นวันสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ เพราะเป็นวันที่ยานเมสเซนเจอร์เข้าใกล้ดาวพุธเป็นครั้งแรก ในขณะเดียวกันก็เป็นวันสำคัญของนักดาราศาสตร์สุริยะด้วย เพราะถัดไปไม่ไกล ยานยูลีสซีสก็กำลังเคลื่อนที่ผ่านขั้วเหนือของดวงอาทิตย์พอดี ...

วัฏจักรสุริยะใหม่เริ่มต้น

(3 ก.พ. 51) เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้พบจุดมืดบนดวงอาทิตย์ที่มีขั้วแม่เหล็กสลับกับวัฏจักรที่ผ่านมา นับเป็นการเริ่มต้นวัฏจักรใหม่อย่างเป็นทางการ การเกิดกัมมันตภาพต่าง ๆ บนดวงอาทิตย์ เช่น จุดมืด การลุกจ้า มีความถี่และความรุนแรงเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นวัฏจักรโดยมีคาบ 11 ปี วัฏจักรที่ผ่านมาคือวัฏจักรที่ 23 ซึ่งมีช่วงที่กัมมันตภาพ ...

วัฏจักรสุริยะรอบใหม่เริ่มต้น?

(25 ธ.ค. 50) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ตรวจพบสัญญาณอย่างหนึ่งจากภาพถ่ายดวงอาทิตย์ที่ถ่ายโดยหอดูดาวโซโฮ สัญญาณที่ว่านี้ไม่ใช่พายุสุริยะหรือการปะทุรุนแรงที่จะเป็นภัยต่อโลก มันเป็นเพียงสนามแม่เหล็กบนผิวดวงอาทิตย์ที่กระจุกกันเป็นปมขนาดเขื่องปมหนึ่งที่ไม่มีอันตรายอะไร แต่นี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า วัฏจักรสุริยะ 
...

รังสีคอสมิกอาจเป็นอันตรายน้อยกว่าที่คิด

(23 ธ.ค. 50) รังสีคอสมิก เป็นปัญหาใหญ่สำหรับนักบินอวกาศที่ต้องเดินทางหรือการใช้ชีวิตในอวกาศเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นรังสีคอสมิกเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และมีอำนาจทะลุทะลวงชุดอวกาศและยานอวกาศได้ แต่จากการคำนวณและการทดลองใหม่พบว่า อันตรายจากรังสีคอสมิกอาจมีเพียงครึ่งหนึ่งของที่นาซา 
...

ดาวเคราะห์น้อย(อาจ)ชนดาวอังคาร

(23 ธ.ค. 50) จับตาดูดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี (2007 WD5) ให้ดี ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสพุ่งชนดาวอังคารในต้นปี 2551 นี้ การคำนวณวงโคจรโดยสำนักงานวัตถุใกล้โลกขององค์การนาซาแสดงว่า ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดประมาณ 50 เมตรนี้จะเฉียดเข้าใกล้ดาวอังคารที่สุดในวันที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17:55 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยระยะใกล้ที่สุดห่างจากดาวอังคาร 48,000 กิโลเมตร 


...

ซูเปอร์โนวาดีดดาว

(29 พ.ย. 50) นักดาราศาสตร์ได้ใช้หอดูดาวรังสีเอกซ์จันทราค้นพบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ดาวดวงนี้กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงที่สุดดวงหนึ่งบนท้องฟ้า ชื่อของดาวดวงนี้คือ ดาวอาร์เอกซ์ เจ 0822-4300 (RX J0822-4300) เป็นดาวนิวตรอนที่เกิดจากซูเปอร์โนวา ท้ายเรือเอ (Puppis A) ซึ่งระเบิดขึ้นเมื่อราว 3,700 ปีก่อน การสำรวจโดยหอดูดาวจันทราสามครั้งพบว่าตำแหน่งดาวเปลี่ยน 
...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น