สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(28 ธ.ค. 54) เมื่อเอ่ยถึง "ปืนฉมวก" หลายคนอาจนึกถึงฉากการล่าปลาวาฬที่แสนทารุณ เหยื่อผู้โชคร้ายถูกยิงกลางหลัง ยกขึ้นเรือชำแหละ เลือดท่วมชะโลมทะเล แต่ในอนาคตอีกไม่นาน นักดาราศาสตร์อาจเอาปืนฉมวกติดไปกับยานอวกาศด้วย เขาไม่ได้เอาไปยิงปลาวาฬอวกาศ แต่เอาไปยิงดาวหางเพื่อเก็บตัว ...

เคปเลอร์ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกครั้งแรก

(28 ธ.ค. 54) กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ของนาซา ได้บรรลุเป้าหมายสำคัญของภารกิจด้วยการค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกโคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรก ดาวเคราะห์ที่พบ มีชื่อว่า เคปเลอร์-20 อี (Kepler-20e) และ เคปเลอร์-20 เอฟ (Kepler-20f) แม้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้อยู่เกินกว่าที่จะทำให้มีน้ำใน ...

พบดาวเคราะห์จอมอึด โดนดาวกลืนแล้วยังรอด

(28 ธ.ค. 54) นักดาราศาสตร์คณะหนึ่ง นำโดย สตีฟ คาวาเลอร์ จากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้สำรวจการกระเพื่อมของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งชื่อ เคไอซี 05807616 (KIC 05807616) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์อายุมากที่ผ่านพ้นช่วงของการเป็นดาวยักษ์แดงมาได้สองปี และได้พบสิ่งที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน นั่นคือดาวเคราะห์ที่รอดพ้นจากการถูกดาวฤกษ์กลืน ดาวยักษ์แดงคือดาวฤกษ์ที่พองขึ้นจนมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมนับพันเท่า ...

ดาวแคระน้ำตาลประเภทวาย เย็นสบายเหมือนบนโลก

(8 ต.ค. 54) นักดาราศาสตร์ใช้กล้องไวส์สำรวจดวงดาวต่าง ๆ ในย่านแสงอินฟราเรด และพบดาวแคระน้ำตาลประเภทใหม่ที่อุณหภูมิต่ำที่สุด กล้องไวส์เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่เหมาะสำหรับสำรวจดาวแคระน้ำตาลมาก ดาวแคระน้ำตาลพวกนี้เมื่อมองในย่าน ...

พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ ดำยิ่งกว่าถ่าน

(28 ก.ย. 54) นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงใหม่ที่แปลกไม่เหมือนกับดาวเคราะห์ดวงใดที่เราเคยรู้จัก ดาวเคราะห์ดวงนี้ชื่อ เทรส-2 บี (TrES-2b) เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี เป็นบริวารของดาว จีเอสซี 03549-02811 อยู่ห่างจากโลก 750 ปีแสงในทิศทางของกลุ่ม ...

ดาวเคราะห์เพชร

(1 ก.ย. 54) เขาว่าเพชรเม็ดงามคู่กับหญิงสวย แต่ลองถ้าเป็นเพชรเม็ดใหญ่เท่าดาวเนปจูนล่ะ? ก็คงต้องคู่กับนักดาราศาสตร์ เพชรเม็ดขนาดนี้มีอยู่จริง และอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกเรานี้เอง ไม่ใกล้ไม่ไกลแค่ 4,000 ปีแสง ในทิศทางของกลุ่มดาวงู ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นบริวารของพัลซาร์ ...

กาลครั้งหนึ่ง โลกมีดวงจันทร์สองดวง

(31 ส.ค. 54) ลองนึกดูว่า หากโลกเรามีดวงจันทร์สองดวง แทนที่จะเป็นดวงเดียวอย่างในปัจจุบัน ท้องฟ้ายามค่ำคืนคงดูแปลกพิลึกและแตกต่างไปจากท้องฟ้าที่เราคุ้นเคยไปอย่างสิ้นเชิง นักดาราศาสตร์พบว่า สภาพดังกล่าวอาจเคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว แต่บรรพบุรุษของเราคงไม่มีโอกาสได้เห็นดวงจันทร์สองดวงบนท้องฟ้า เพราะภายในเวลาไม่กี่สิบ ...

ดวงจันทร์เอนเซลาดัสพ่นน้ำลงสู่ดาวเสาร์

(31 ส.ค. 54) กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชลขององค์การอวกาศยุโรปหรืออีเอสเอ ได้ตรวจพบว่าดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์พ่นน้ำออกมาสู่วงแหวนของดาวเสาร์ การค้นพบนี้ได้ตอบคำถามที่ยืนยาวนานถึง 14 ปีว่าน้ำบนดาวเสาร์มาจากไหน หลังจากที่มีการค้นพบว่าบรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ดวงจันทร์ ...

บริวารใหม่ของพลูโต

(2 ส.ค. 54) นักดาราศาสตร์ค้นพบบริวารดวงใหม่ของดาวพลูโตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งดวงจากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ก่อนหน้านี้ดาวพลูโตมีบริวารที่รู้จักเพียงสามดวง ได้แก่ คารอน นิกซ์ และ ไฮดรา นิกซ์กับไฮดราค้นพบในปี 2548 โดยกล้องฮับเบิลเช่นกัน คารอนถูกค้นพบในปี 2521 บริวารดวงใหม่ ...

พบเควซาร์ที่ไกลที่สุด

(28 ก.ค. 54) นักดาราศาสตร์นานาชาติคณะหนึ่ง ได้พบหลุมดำยักษ์ที่อยู่ไกลจากโลกมากที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบกันมา หลุมดำที่พบนี้อยู่รูปของเควซาร์ที่ส่องสว่างจากแก๊สที่ไหลพรั่งพรูลงสู่หลุมดำ เควซาร์นี้มีชื่อว่า ยูลาส เจ 1120+0640 (ULAS J1120+0641) ค้นพบโดยโครงการสำรวจอวกาศห้วงลึกอินฟราเรดยูเคิร์ต (UKIRT Infrared Deep Sky Survey) และจากการเสริมทัพโดย ...

วัดวันบนเนปจูน

(6 ก.ค. 54) ดาวเนปจูนถูกค้นพบมาตั้งแต่ปี 1846 แต่ตลอดเวลากว่าศตวรรษที่ผ่านมา สมบัติพื้นฐานอย่างหนึ่งของดาวฤกษ์ดวงนี้กลับวัดได้ยากเย็นยิ่ง ที่ได้มาได้เพียงตัวเลขหยาบ ๆ เท่านั้น นั่นคือคาบการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์ จนเมื่อไม่นานมานี้เองที่นักดาราศาสตร์สามารถวัดคาบการหมุ ...

ซูเปอร์โนวาแบบใหม่ สว่างกว่าแบบอื่น 10 เท่า

(6 ก.ค. 54) นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาชนิดใหม่ ที่มีความสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไปถึง 10 เท่า ย้อนหลังไปเมื่อปี 2550 รอเบิร์ด ควิมบี จากมหาวิทยาลัยเทกซัส ณ ออสติน ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาดวงหนึ่ง มีความส่องสว่างกว่าดวงอาทิตย์ถึงหนึ่งแสนล้านเท่า และส่องสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไป 10 เท่า ต่อมาได้ชื่อว่า 2005 เอพี (2005AP) ไม่เพียงแต่ความสว่างที่ผิดปกติแล้ว เมื่อศึกษาสเปก ...

ดาวแปลกพวกสีน้ำเงินในใจกลางทางช้างเผือก

(14 มิ.ย. 54) นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลค้นพบดาวแปลกพวกสีน้ำเงินอยู่บริเวณใจกลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นครั้งแรก ดาวฤกษ์ประเภทที่เรียกว่า "ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน" (blue straggler) มีชื่อพิลึกเช่นนี้เนื่องจากสมบัติที่ทำให้ดูเหมือนอายุน้อย ต่างจากดาวดวงอื่น ๆ ที่กำเนิดมาพร้อม ...

พบดาวเคราะห์อิสระ ไม่โคจรรอบดาวฤกษ์

(29 พ.ค. 54) นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดีประเภทใหม่ลอยเคว้งคว้างอยู่ในอวกาศโดยไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงใด เชื่อว่าดาวเคราะห์ประเภทนี้อาจมีมากกว่าดาวฤกษ์ถึงสองเท่า "แม้ว่าดาวเคราะห์อิสระเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์คาดคิดมานานแล้วว่ามีอยู่จริง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาค้น ...

ส่งเรือน้อยลอยทะเลไททัน

(20 พ.ค. 54) นักวิทยาศาสตร์เคยส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของดาวเคราะห์มามากหมายหลายดวงด้วยภารกิจหลากรูปแบบ ไม่ว่าเป็นวิธีโคจรรอบ พุ่งเฉียด ลงจอด พุ่งชน ยิงลูกตุ้มเข้าใส่ ส่งหัววัดกางร่มชูชีพลงไป ส่งรถลงไปวิ่ง คราวนี้ลองส่งเรือไปแล่นบ้าง ...

พิสูจน์ดาวเคราะห์ยักษ์โคจรกลับด้าน

(19 พ.ค. 54) นักวิทยาศาสตร์เริ่มพบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2538 จนถึงขณะนี้มีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่พบแล้วกว่า 500 ดวง แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักดาราศาสตร์เริ่มพบว่าระบบสุริยะบางแห่งมีลักษณะบางอย่างที่แทบไม่น่าจะเป็นไม่ได้ นั่นคือ ทิศการหมุนของดาวฤกษ์กับทิศการโคจรของดาวเคราะห์บริวารประเภทพฤหัสร้อน ...

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ยืนยันสาเหตุการเกิดแสงวาบรังสีแกมมาสั้น

(18 พ.ค. 54) การสร้างแบบจำลองเหตุการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ได้แสดงถึงช่วงเสี้ยววินาทีของการกำเนิดแสงวาบรังสีแกมมาสั้น ซึ่งเป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในเอกภพได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แสงวาบรังสีแกมมา หรือจีอาร์บี (GRB--Gamma-Ray Burst) เป็นการปะทุที่สว่างและรุนแรงมากที่สุดในเอกภพ การเกิดแสงวาบแต่ละครั้งกินเวลาเพียงไม่กี่วินาทีแต่ ...

ฝนตกที่ไททัน

(4 เม.ย. 54) ในที่สุด ยานแคสซีนีได้ค้นพบหลักฐานชิ้นแรกที่ยืนยันว่า มีฝนบนดวงจันทร์ไททันทันของดาวเสาร์จริง ๆ ฝนที่พบนี้ไม่ใช่น้ำ แต่เป็นมีเทน ตกอยู่บริเวณเขตศูนย์สูตรของดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ เมื่อปลาย ...

สำรวจฝุ่นดาวเคราะห์น้อย อิโตะกะวะ

(19 มี.ค. 54) ยานฮะยะบุซะ ได้เดินทางกลับมาสู่โลกเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว หลังจากที่ปฏิบัติภารกิจอันยาวนานถึง 7 ปี พร้อมกับสมบัติอันล้ำค่าที่เก็บมาจากอวกาศ นั่นคือ ตัวอย่างหินจากดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ ดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ หรือชื่อเต็มว่า 25143 อิโตะกะวะ (25143 Itokawa) เป็นดาวเคราะห์น้อยในกลุ่ม ...

ภาพใหม่ของดาวบีตาขาตั้งภาพ

(19 มี.ค. 54) ดาวบีตาขาตั้งภาพ (Beta Pictoris) อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 63.4 ปีแสง ในกลุ่มดาวขาตั้งภาพ อายุ 12 ล้านปี เป็นดาวฤกษ์ดวงแรกที่นักวิทยาศาสตร์ถ่ายภาพจานฝุ่นรอบดาวได้โดยตรง และยังพบว่ามีดาวเคราะห์เป็นบริวารหนึ่งดวงโคจรรอบดาวที่ระยะ 8-15 หน่วยดาราศาสตร์ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น