สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(20 มี.ค. 57) เมื่อกว่า 400 ปีก่อน กาลิเลโอได้หันกล้องส่องทางไกลเล็ก ๆ ขึ้นสู่ท้องฟ้า ภายในเวลาไม่กี่คืน เขาได้ค้นพบความเร้นลับของท้องฟ้ามากกว่าที่นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาในยุคก่อนหน้าทั้งหมดเคยล่วงรู้
นับจากนั้นมา นักดารา ...

เคปเลอร์พบดาวเคราะห์ทีเดียว 715 ดวง

(17 มี.ค. 57) การค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ทุกครั้งที่นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ขึ้นมาดวงหนึ่ง ก็จะเป็นข่าวใหญ่ให้พาดหัวทุกครั้งไป แล้วถ้าเป็นการค้นพบดาวเคราะห์คราวเดียว 715 ดวงล่ะ? นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเคปเลอร์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ...

ฮับเบิลพบดาวเคราะห์น้อยแตกสลาย

(17 มี.ค. 57) เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้บันทึกภาพของดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกเหตุการณ์ลักษณะนี้ได้ ก่อนหน้านี้ นักดาราศาสตร์เคยเห็นการแตกสลายของวัตถุท้องฟ้ามาแล้วหลายครั้ง แต่วัตถุเหล่านั้นคือ ...

ดาวเคราะห์จอมส่าย

(27 ก.พ. 57) กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ได้ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงหนึ่ง ที่มีฤดูกาลผันผวนอย่างสุดโต่ง จนหากดาวเคราะห์ดวงนี้มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ก็คงจะต้องใช้ชีวิตอย่างสับสนกับฤดูกาลอย่างมาก เพราะไม่รู้ว่าวันไหนจะร้อนหรือจะหนาว ...

เฟทอนก็มีหาง

(30 ม.ค. 57) เมื่อถึงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี นักดูดาวทั่วโลกจะเตรียมออกไปสู่ลานกว้างและมืดมิด เพื่อเฝ้าชมฝนดาวดาวตกคนคู่ ฝนดาวตกคนคู่มีชื่อเสียงมาจากการที่ให้เส้นดาวตกที่สว่าง เร็ว และเป็นฝนดาวตกที่ตกชุกในอันดับต้น ๆ ...

พบดาวฤกษ์ที่อายุขัยยาวนานที่สุด

(30 ม.ค. 57) ดาวฤกษ์ทุกดวงมีอายุขัยมากน้อยต่างกัน บางดวงอายุสั้น บางดวงอายุยืน ดวงอาทิตย์ของเรามีอายุประมาณ 4.6 พันล้านปี จะส่องสว่างไปอีกราว 7.8 พันล้านปีก่อนที่จะกลายเป็นดาวแคระขาว นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวฤกษ์แสงจางดวงหนึ่งทางตอนใต้ของกลุ่มดาวนายพรานที่คาดว่าจะมีอายุขัย ...

พบน้ำบนซีรีส

(23 ม.ค. 57) ซีรีส ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ และเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุด เป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวที่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก เมื่อไม่นานมานี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล ได้ค้นพบหลักฐานของน้ำบนซีรีส นับเป็นการพบน้ำบนดาวเคราะห์แคระ ...

ดาวเคราะห์น้อยก็มีหางได้

(12 พ.ย. 56) ใครบอกว่าดาวหางเท่านั้นที่จะมีหางได้ ไม่เสมอไป เพราะนักดาราศาสตร์พบว่าดาวเคราะห์น้อยก็มีหางได้เหมือนกัน ดูอย่าง พี/2013 พี 5 (P/2013 P5) นั่นประไร วัตถุดวงนี้เป็นดาว ...

ฮับเบิลและจันทราพบดาราจักรประหลาด หนาแน่นผิดปกติ

(29 ต.ค. 56) นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล หอสังเกตการณ์จันทรา และกล้องภาคพื้นดินอีกจำนวนหนึ่ง ได้ค้นพบดาราจักรแห่งใหม่แห่งหนึ่งที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในละแวกใกล้ ...

ปิดฉากภารกิจดีปอิมแพกต์

(29 ต.ค. 56) ดีปอิมแพกต์ ซึ่งเป็นภารกิจสำรวจดาวหางของนาซา ได้ปิดภารกิจลงแล้วเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ดำเนินมาเป็นเวลานานถึง 9 ปี ยานดีปอิมแพกต์ ขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อเดือนมกราคม 2548 มีภารกิจสำคัญคือการสำรวจพื้นผิวและองค์ประกอบ ...

แอ่งอีเดนพาทีราของดาวอังคารคือปล่องภูเขาไฟยักษ์โบราณ

(29 ต.ค. 56) การวิจัยใหม่ฉบับหนึ่งบ่งบอกว่า แอ่งบนดาวอังคารชื่อ อีเดนพาทีรา (Eden Patera) อาจเกิดขึ้นจากการปะทุครั้งใหญ่ในอดีต มิได้เกิดจากการพุ่งชนของวัตถุตามที่เคยเข้าใจกัน "นี่อาจเป็นภูเขาไฟยักษ์" โจเซฟ อาร์.มิคาลสกี จากสถาบันวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ในทูซอน ...

ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ใหม่ ไขปริศนาแสงสนธยา

(13 ก.ย. 56) ย้อนกลับไปในยุคทศวรรษที่ 60-70 นักบินอวกาศในโครงการอะพอลโลได้บันทึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์หนึ่งบนดวงจันทร์ว่า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกที่ขอบฟ้าของดวงจันทร์ประมาณ 10 วินาที จะมีเส้นสว่างจาง ๆ ขึ้นที่ขอบฟ้าเป็นแนว ...

พบดาวเคราะห์คาบสั้น หนึ่งปีนานแปดชั่วโมงครึ่ง

(31 ส.ค. 56) เคปเลอร์-78 บี ค้นพบโดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาจูเซตส์ในเคมบริดจ์ เป็นดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงโลก แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่ดาวที่น่าอยู่นัก เพราะดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้ดาวฤกษ์แม่มาก รัศมีวงโคจรเพียงประมาณสามเท่าของรัศมีดาวฤกษ์ หรือใกล้กว่า ...

เคปเลอร์กู่ไม่กลับ ปิดฉากภารกิจ

(29 ส.ค. 56) ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ไม่มียานอวกาศลำใดที่จะมีผลงานโดดเด่นไปกว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ซึ่งเป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นขององค์การ ...

วัตถุใกล้โลกดวงที่ 10,000

(29 ก.ค. 56) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556 นักวิทยาศาสตร์นาซาได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ ชื่อ 2013 เอ็มแซด 5 (2013 MZ5) ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์แพนสตารรส์-1 ซึ่งบริหารงานโดยมหาวิทยาลัยฮาวาย ...

พายุดาวศุกร์คึกจัด

(17 ก.ค. 56) ดาวศุกร์ เป็นดินแดนแห่งความหฤโหด หนึ่งในความโหดของดาวเคราะห์ดวงนี้ที่รู้จักกันดีก็คือ ลมพายุที่พัดคลั่งทั่วทั้งดาว ลมบนดาวศุกร์เคลื่อนที่วนรอบดาวครบรอบได้ภายในเวลาเพียงสี่วันของโลก ต่างจากอัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวที่หมุนอย่างเชื่องช้า ที่กว่าจะครบรอบต้องใช้เวลานานถึง 243 วัน ...

เอสดีโอศึกษาการสร้างดาวฤกษ์จากการปะทุบนดวงอาทิตย์

(26 มิ.ย. 56) วันที่ 7 มิถุนายน 2554 หรือเมื่อราวสองปีก่อน ได้เกิดการปะทุครั้งใหญ่บนดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ได้สาดพลาสมาร้อนปริมาณมหาศาลขึ้นสู่อวกาศ หลังจากนั้นพลาสมาบางส่วนได้ตกลงสู่ผิวดวงอาทิตย์ พร้อมกับสาดแสงอัลตรา ...

ดาวเคราะห์พิลึก เล็กเท่าโลก แต่แน่นกว่าเหล็กตัน

(27 พ.ค. 56) กล้องเคปเลอร์ ปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี 2552 มีเป้าหมายหลักคือค้นหาดาวเคราะห์บริวารของดาวฤกษ์ดวงอื่น หนึ่งในบรรดาดาวเคราะห์ที่แปลกประหลาดที่สุดที่เคปเลอร์เคยพบ คือดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงมาก บางดวงถึงกับมีความหนาแน่นกว่า ...

แมงกุดจี่ก็ดูดาวเป็น

(6 พ.ค. 56) มีสัตว์เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่พบว่ารู้จักใช้ดาวในการนำทาง เช่น นก แมวน้ำ และมนุษย์ นี่เป็นครั้งแรกที่พบว่าแมลงใช้ประโยชน์จากดวงดาวด้วย และเป็นครั้งแรกที่พบว่าสัตว์ใช้ทางช้างเผือกในการบอกทิศทาง จากการทดลองในภาคสนาม นัก ...

ดาวแคระน้ำตาลข้างบ้าน

(25 เม.ย. 56) เมื่อปี พ.ศ. 2552 องค์การนาซาได้ปล่อยดาวเทียมไวส์ นักดาราศาสตร์คาดหวังว่าดาวเทียมลำนี้จะพบดาวแคระน้ำตาลจำนวนมาก เนื่องจากเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ไวต่อแสงในย่านรังสีอินฟราเรด ดาวแคระน้ำตาลส่งแสงริบหรี่มาก จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีดาวแคระน้ำตาลจำนวนมากที่เล็ดรอดสายตานักดาราศาสตร์ไป และหนึ่งในจำนวนนั้นอาจอยู่ไม่ไกลก็ได้ หรือแม้แต่ใกล้กว่าดาวฤกษ์ที่อยู่ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น