สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(13 ต.ค. 48) เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา ยานแคสซีนีได้เปิดเผยภาพชุดใหม่ที่ถ่ายระหว่างการเฉียดเข้าใกล้ดวงจันทร์ไฮเพียเรียนเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา เนื่องจากยานแคสซีนีสามารถเข้าใกล้ได้ถึง 500 กิโลเมตรซึ่งใกล้ที่สุดเท่าที่เคยทำได้ ภาพในชุดนี้จึงให้ความละเอียดสูงมาก ...

ดาวเคราะห์ดวงที่สิบก็มีบริวาร

(8 ต.ค. 48) ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แทบจะไม่มีใครที่ไม่ได้ยินชื่อ 2003 ยูบี 313 (2003 UB313) ในฐานะสมาชิกใหม่ของระบบสุริยะ และอาจถือว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบ คราวนี้วัตถุนี้จะต้องเด่นยิ่งขึ้นเมื่อมีข้อมูลใหม่ระบุว่า 2003 ยูบี 313 มีบริวารด้วย ...

ดาวเคราะห์ของดาวยักษ์

(8 ต.ค. 48) นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเป็นครั้งแรกเมื่อราวสิบปีก่อน ดวงแรกเป็นดาวเคราะห์ของดาว 51 ม้าบิน (51 Pegasi) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์มวลต่ำแบบเดียวกับดวงอาทิตย์ และหลังจากนั้นก็พบเพิ่มขึ้นเรื่อยมา ในช่วงแรกนักดาราศาสตร์สังเกตว่า ดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวารมักเป็นดาวที่มีธาตุหนักมาก เช่น ดาว 51 ม้าบินมีสัดส่วนโลหะ 60 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ...

ช่วงต่ำสุดแน่หรือ?

(4 ต.ค. 48) บนพื้นผิวของดวงอาทิตย์มีกัมมันตภาพ (activity) ต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น จุดมืด (sunspot) การลุกจ้า (flare) เปลวสุริยะ (prominence) ซึ่งจะเกิดขึ้นมากน้อยเปลี่ยนแปลงไปเป็นคาบ ๆ ละ 11 ปี หรือจะเรียกว่าเป็นฤดูกาลบนดวงอาทิตย์ก็ได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์ศึกษามาเป็นเวลานานและนักดูดาวทั่วไปก็สามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เช่นกัน ...

ลายพาดกลอนบนดวงจันทร์เอนเซลาดัส

(27 ก.ย. 48) เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 ยานแคสซีนีของนาซาได้เฉียดเข้าใกล้ดวงจันทร์เอนเซลาดัสด้วยระยะห่าง 175 กิโลเมตรจากพื้นผิว และได้ถ่ายภาพจำนวนหนึ่งไว้ นักดาราศาสตร์พบสิ่งน่าสนใจเป็นพิเศษในภาพจากแคสซีนีในครั้งนี้ เพราะพบรอยแตกหลายรอย ยาวประมาณ 130 กิโลเมตร ห่างกันราว 40 กิโลเมตร และเป็นแนวเกือบขนานกัน ต่อมานักดาราศาสตร์เรียกรอยเหล่านี้ว่า ...

ต่อลมหายใจให้กล้องฮับเบิล

(25 ก.ย. 48) และแล้ว ในที่สุดกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลผู้ชราก็ต้องทำงานโดยเหลือไจโรเพียงสองตัวเท่านั้น ไจโรเป็นอุปกรณ์สำคัญของกล้องฮับเบิล มีหน้าที่ควบคุมการวางทิศและควบคุมระดับความสูงของวงโคจรด้วย การทำงานควบคุมนี้จะสมบูรณ์ได้ต้องมีไจโร 3 ตัว ในกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลมีไจโร 6 ตัว ใช้งาน 3 ตัวและสำรอง 3 ตัว แต่ปัจจุบันนี้ไจโรเสียไปแล้ว 2 ตัว เหลือเพียง 4 ตัวที่ใช้งานได้ ...

ดาวแคระน้ำตาลหนึ่งแสนล้านดวง

(25 ก.ย. 48) นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวแคระน้ำตาลเป็นครั้งแรกเมื่อราวสิบปีก่อน นับจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการพบดวงใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าดาวแคราะน้ำตาลอาจมีจำนวนใกล้เคียงกับดาวฤกษ์ธรรมดาอย่างดวงอาทิตย์เลยทีเดียว ...

โฉมใหม่ทางช้างเผือก

(29 ส.ค. 48) เป็นที่ทราบกันมานานว่า ดาราจักรทางช้างเผือกที่โลกและดวงอาทิตย์อาศัยอยู่นี้ มีรูปร่างเป็นจานแบนและขดแบบก้นหอย ซึ่งเป็นโครงสร้างแบบหนึ่งในหลายแบบของดาราจักร เรียกว่าดาราจักรชนิดก้นหอย ดังภาพวาดที่เห็นกันทั่วไป แต่นักดาราศาสตร์จำนวนไม่น้อยได้เคยตั้งสมมุติฐานว่าดาราจักรของเราน่าจะมีโครงสร้างเป็นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน ซึ่งคล้ายกับแบบก้นหอย แต่บริเวณใกล้ใจกลางดาราจักรจะมีสิ่งที่คล้ายคานเป็น ...

ดาวหางดวงที่ 1,000 ของโซโฮ

(22 ส.ค. 48) หอสังเกตการณ์โซโฮ (SOHO--Solar and Heliospheric Observatory) ได้ค้นพบดาวหางดวงที่ 1,000 แล้ว โซโฮเป็นดาวเทียมสำรวจดวงอาทิตย์ มีตำแหน่งประจำอยู่ในอวกาศและหันหน้ากล้องเข้าสู่ดวงอาทิตย์ตลอดเวลาโดยมีแผ่นอุปกรณ์บังดวงอาทิตย์ไว้ จึงมีโอกาสเห็นดาวหางดวงเล็ก ๆ ที่เฉียดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์หรือแม้แต่ดวงที่พุ่งชนดวงอาทิตย์โดยที่คนบนโลก ...

การลุกจ้าชนิดใหม่ ทั้งแรงทั้งเร็ว

(22 ส.ค. 48) อยากไปย่ำบนดวงจันทร์ใช่ไหม อ่านข่าวนี้ดูก่อน เหตุเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคาปี 2548 นี้ ขณะนั้นเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ยังคงมีกัมมันตภาพ (activity) ออกมาเช่นทุกวัน มีทั้งการลุกจ้า (flare) และจุดมืด (sunspot) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติ แต่เมื่อวันที่ 20 ได้มีจุดมืดจุดหนึ่ง ซึ่งนักดาราศาสตร์ตั้งชื่อด้วยหมายเลขว่า 720 ได้แสดงความ ...

ดาวเคราะห์หินในระบบสุริยะอื่นดวงแรก

(18 ส.ค. 48) การค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น เป็นเหมือนกับการตื่นทองสำหรับนักดาราศาสตร์ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นแล้วกว่า 150 ดวง แต่ละดวงมีมวลตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าของโลก ซึ่งจัดว่าเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ทั้งสิ้น นั่นหมายความว่าสภาพแวดล้อมย่อมต่างจากโลกเป็นอย่างมากด้วย ดาวเคราะห์ที่นักดาราศาสตร์รอคอยค้นพบเป็นพิเศษคือ ...

พบยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์

(12 ก.ค. 48) เมื่อเดือนธันวาคม 2542 ยานสำรวจดาวอังคารลำหนึ่งของนาซาชื่อ มาร์สโพลาร์แลนเดอร์ ได้เดินทางไปถึงดาวอังคารและเตรียมการลงจอด แต่สัญญาณก็ขาดหายไปตลอดกาล ภารกิจมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ล้มเหลว หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ได้ไปสำรวจดาวอังคารโดยสำรวจอยู่บนวงโคจร ทางนาซาได้พยายามให้ยานนี้ถ่ายภาพจุดที่ยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ลงจอดโดย ...

ขนาดที่แท้จริงของแอนดรอเมดา

(12 ก.ค. 48) ดาราจักรแอนดรอเมดา หรือ เอ็ม 31 เป็นดาราจักรชนิดก้นหอยที่อยู่ใกล้ดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด จึงเป็นดาราจักรที่ชื่อคุ้นหูที่สุด และก็น่าจะเป็นที่รู้จักของนักดาราศาสตร์มากที่สุดด้วย แต่การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้กลับบอกว่า บางทีนักดาราศาสตร์อาจรู้จักแอนดรอเมดาน้อยไป สก็อตต์ แชปแมน นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและคณะได้ ...

ซูเปอร์โนวาในเอ็ม 51

(12 ก.ค. 48) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา วอล์ฟกอง คลอเอร์ นักล่าซูเปอร์โนวาสมัครเล่นชาวเยอรมัน ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาดวงหนึ่งด้วยกล้องซีซีดีติดบนกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงขนาด 8 นิ้ว ซูเปอร์โนวาดวงนี้อยู่ห่างจากใจกลางดาราจักร 78 พิลิปดา ต่อมาได้รับชื่อว่า 2005 ซีเอส (2005cs) จากการสำรวจสเปกตรัมโดย ...

ทะเลสาบบนไททัน... ยังไม่แน่

(15 มิ.ย. 48) ดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์มีลักษณะพิเศษกว่าบริวารดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ เพราะมีบรรยากาศหนาแน่น แต่บรรยากาศของไททันประกอบด้วยมีเทนเป็นหลัก นักดาราศาสตร์เคยสันนิษฐานไว้ว่ามีเทนเหล่านั้นน่าจะเป็นไอระเหยจากทะเลสาบขนาดใหญ่ที่อุดมไปด้วยไฮโดรคาร์อน ดังนั้นเมื่อยานแคสซีนีเดินทางไปถึงดาวเสาร์และเริ่มสำรวจดวงจันทร์ไททัน นักดาราศาสตร์จึงหวังว่าจะได้เห็นภาพของแหล่งทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลวบนไททันให้ ...

ภาพดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นภาพแรก

(9 มิ.ย. 48) เมื่อราวเดือนเมษายนปี 2547 มีข่าวน่าตื่นเต้นว่า นักดาราศาสตร์ได้ถ่ายภาพของดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวดวงอื่นได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เป็นผลงานของคณะนักดาราศาสตร์นานาชาติ นำโดย เกล เชาวิน จากหอดูดาวอีโซ หรือหอดูดาวยุโรปซีกโลกใต้ด้วยกล้องวีแอลทีที่มีระบบอะแดปทีฟออปติก ...

ดาวที่มีฮีเลียมมากที่สุด

(25 พ.ค. 48) โอเมกาคนครึ่งม้ามีความน่าสนใจหลายอย่าง ไม่เพียงแต่ถ่ายรูปขึ้นเท่านั้น หากยังเป็นกระจุกดาวทรงกลมที่อยู่ใกล้ที่สุด อายุมากที่สุดบนท้องฟ้า และมีดาวสมาชิกมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอกภพนั่นคือมีมากกว่า 1 ล้านดวง นอกจากนี้ยังมีความสำคัญสำหรับนักฟิสิกส์ดาวฤกษ์อีกด้วย โดยทั่วไปดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมเดียวกันเกิดขึ้นมาพร้อมกันจากกลุ่มก๊าซก้อนเดียวกัน และเนื่องจากกระจุกดาวทรงกลมเป็นกระจุกดาวโบราณ มีอายุมาก ดาวในกระจุกจึงเป็นดาวรุ่นชรา มีสีแดง แต่ในกรณีของกระจุกดาวโอเมกาคนครึ่งม้า มีบางสิ่ง ...

ดวงจันทร์ใหม่ของดาวเสาร์ เจอยกโหล

(25 พ.ค. 48) ทุกครั้งที่มีการค้นพบดวงจันทร์ดวงใหม่ในระบบสุริยะ ก็มักเป็นข่าวหน้าตื่นเต้นเสมอ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากมีการพบดวงจันทร์ใหม่ทีเดียว 12 ดวง? การค้นพบดวงจันทร์แบบเหมาโหลนี้ เป็นของ เดวิด จีวิตต์ กับแจน เคลย์นา จากมหาวิทยาลัยฮาวาย และ สกอตต์ เชปพาร์ด จากสถาบันคาร์เนกีวอชิงตัน ความจริงการค้นพบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมปีกลายแล้ว แต่ต้องสำรวจติดตามกัน ...

แสงวาบรังสีแกมมาจากดาวนิวตรอนชนกัน

(25 พ.ค. 48) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 เวลา 4 นาฬิกาตามเวลาสากล ดาวเทียมสวิฟต์ของนาซาได้ตรวจพบแสงวาบรังสีแกมมาครั้งหนึ่ง มีชื่อว่า GRB050509b แสงวาบนี้เปล่งรังสีออกมาเป็นเวลาเพียง 30 มิลลิวินาที (3 ใน 100 วินาที) เท่านั้น แม้เป็นเวลาสั้น ๆ แต่ก็เพียงพอที่จะคลายปมปริศนาต้นกำเนิดอันลึกลับของตนเองได้ แสงวาบรังสีแกมมาเป็นวัตถุและเหตุการณ์ลึกลับอย่างหนึ่ง เพราะนักดาราศาสตร์ยัง ...

เตรียมรับมือฝุ่นดวงจันทร์และดาวอังคาร

(5 พ.ค. 48) ในปี 2515 ขณะที่อยู่ระหว่างการปฏิบัติภารกิจอะพอลโล 17 แฮร์ริสัน ชมิดท์ นักบินได้พูดคุยกับ จีน เชอร์แนน ผู้บังคับการขณะอยู่ในยานลูนาร์มอดูลถึงกลิ่นแปลก ๆ คล้ายดินปืนภายในยาน ภายหลังทราบว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นฝุ่นดวงจันทร์ เพราะทั้งคู่เพิ่งกลับมาจากเดินสำรวจบนดวงจันทร์บริเวณ หุบเขาทอรัส-ลิตโทรว์ ซึ่งอยู่ใกล้กับทะเลแห่งความเงียบสงบ ฝุ่นบนดวงจันทร์ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น