สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(3 พ.ค. 48) ชุมชนทางช้างเผือกของเราดูเหมือนจะใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อย เมื่อเบท วิลล์แมนจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กค้นพบดาราจักรบริวารของทางช้างเผือกอีกดาราจักรหนึ่ง นับเป็นดาราจักรบริวารที่สิบสามของทางช้างเผือกที่เคยค้นพบ ดาราจักรเพื่อนบ้านใหม่นี้มีชื่อว่า ดาราจักรหมีใหญ่ ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวที่พบ เป็นดาราจักรแคระ อยู่ห่างเพียง 350,000 ปีแสง มีความกว้าง ...

แคสซีนีพบบรรยากาศของเอนซีลาดัส

(20 เม.ย. 48) ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ที่มีบรรยากาศปกคลุมอยู่ไม่ใช่มีเพียงดวงจันทร์ไททันเท่านั้น ล่าสุดยานแคสซีนีขององค์การนาซาพบว่าดวงจันทร์เอนซีลาดัสก็มีบรรยากาศด้วยเหมือนกัน เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะที่ยานแคสซีนีเฉียดเข้าใกล้ดวงจันทร์เอนซีลาดัสของดาวเสาร์ด้วยระยะห่าง 1,167 กิโลเมตร แมกนีโตมิเตอร์บนยานได้พบความผิดปรกติบางอย่าง ...

กำเนิดช่องว่างแถบแวนอัลเลน

(26 มี.ค. 48) แถบแวนอัลเลนเกิดขึ้นเพราะโลกมีสนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กมีสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งคือเบี่ยงเบนทิศทางของอนุภาคประจุไฟฟ้าได้ เมื่ออนุภาคพลังงานสูงจากอวกาศซึ่งเป็นอิเล็กตรอนหรือนิวเคลียสของธาตุต่างๆ เข้ามาใกล้โลกจึงถูกสนามแม่เหล็กเบี่ยงออกไม่ให้พุ่งเข้าสู่โลกได้ แต่จะถูกกักไว้ภายในสนามแม่เหล็กนี้ อนุภาคที่ถูกกักไว้จะวิ่งตีเกลียวไปตามเส้นแรงแม่เหล็กกลับไปกลับมาระหว่างขั้วเหนือและขั้วใต้ตลอด ...

ไขความลับหลุมอุกกาบาตแบริงเจอร์

(18 มี.ค. 48) ในอดีต เมื่อครั้งที่โลกอายุยังน้อย ระบบสุริยะยังปั่นป่วนกว่าในยุคปัจจุบันมาก มีเศษสะเก็ดดาวปลิวว่อนไปทั่วระบบสุริยะ สะเก็ดดาวบางลูกอาจมีโอกาสชนโลก ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะทะลุชั้นบรรยากาศมาถึงพื้นกลายเป็นอุกกาบาต สร้างผลกระทบต่อโลกทั้งทางธรณีวิทยาและชีววิทยา จะมากน้อยเท่า ...

ดาวสะเทือนบอกอายุ

(19 ก.พ. 48) ดาวโพรซิออน เป็นดาวที่สว่างเป็นอันดับแปดบนท้องฟ้า สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหมาเล็ก เป็นหนึ่งดาวสว่างสามดวงที่ประกอบกันเปนสามเหลี่ยมฤดูหนาว จึงเป็นรู้จักกันดีของนักดาราศาสตร์และนักดูดาวทั่วไป แต่ถึงอย่างนั้น ข้อมูลทางด้านอายุและช่วงวิวัฒนาการของดาวดวงนี้ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด เนื่องจากข้อมูลที่ ...

ทฤษฎีใหม่อธิบายต้นกำเนิดของเซดนา

(16 ก.พ. 48) เมื่อปลายปีที่แล้ว ได้มีการพบสมาชิกดวงใหม่ของระบบสุริยะดวงหนึ่ง ชื่อว่า เซดนา เป็นข่าวครึกโครมถึงขนาดที่บางคนเชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบในระบบสุริยะ แม้ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่อยากจะจัดให้เซดนาเป็นเพียงวัตถุไคเปอร์แล้วก็ตาม แต่ความน่าพิศวงของดาวดวงนี้ไม่ได้ลดลงไปเลย ...

วิจัยฝุ่นหาดาวเคราะห์

(16 ก.พ. 48) การค้นหาระบบสุริยะของดาวดวงอื่น ยังคงเป็นเรื่องตื่นเต้นและท้าทายอยู่เสมอ นักดาราศาสตร์ได้สำรวจดาวฤกษ์ใกล้เคียงจำนวนมากเพื่อหาหลักฐานดาวเคราะห์หรือบริวารที่อาจโคจรรอบดาวฤกษ์เหล่านั้น วิธีค้นหาที่เป็นวิธีพื้นฐานที่สุดวิธีหนึ่ง คือการตรวจสอบการแกว่งไกวของดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจาก ...

ไฮเกนส์เผยความลับไททัน

(25 ม.ค. 48) หลังจากที่ยานไฮเกนส์ซึ่งเป็นยานลูกของยานแคสซีนีได้ปลดตัวเองพุ่งลงจอดบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์เต็มในการวิเคราะห์ข้อมูล และล่าสุดได้เปิดเผยเปิดเผยผลการวิเคราะห์เบื้องต้นอันน่า ...

ผลกระทบจากสึนามิ ไม่ใช่แค่มหาสมุทรอินเดีย แต่เป็นโลกทั้งใบ

(11 ม.ค. 48) เหตุการณ์แผ่นดินไหวใต้สมุทรเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าใส่ชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ยังความสูญเสียมาสู่ชีวิตทรัพย์สินและระบบนิเวศอย่างเหลือคณานับ นักวิทยาศาสตร์พบว่าผลกระทบในครั้งนี้ไม่เพียงแต่มีผลเฉพาะในมหาสมุทรอินเดียเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อโลกทั้ง ...

รัสเซียพร้อมสำรวจบริวารดาวอังคาร

(9 ม.ค. 48) เป็นเวลากว่าทศวรรษครึ่งมาแล้วที่รัสเซียห่างเหินไปจากวงการสำรวจอวกาศเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ แต่รัสเซียกำลังจะกลับมาสู่วงการอีกครั้งด้วยภารกิจใหม่ในการสำรวจบริวารของดาวอังคาร ในที่ประชุมสภาการบินอวกาศนานาชาติที่โคลัมเบียเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตัวแทนจากรัสเซียได้แจ้งว่ารัสเซียกำลังจะเริ่มโครงการใหม่ส่งยานอวกาศไปลงจอดบน ...

อนาคตฮับเบิล อยู่หรือไป

(8 ม.ค. 48) แทบทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุกับโครงการอวกาศถึงขั้นต้องเสียชีวิตของนักบินอวกาศไป องค์การนาซามักมีอาการขยาดไประยะหนึ่งเสมอ แต่สำหรับครั้งล่าสุดดูเหมือนจะขยาดหนักกว่าทุกครั้ง นับจากที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับยานขนส่งอวกาศโคลัมเบีย เมื่อ ...

ดาราจักรหรือหลุมดำ? ไก่หรือไข่?

(22 ธ.ค. 47) ดาราจักร เป็นที่อยู่ของดาวฤกษ์น้อยใหญ่จำนวนมากมหาศาล นักดาราศาสตร์พบว่าใจกลางของดาราจักรขนาดใหญ่แทบทุกดาราจักรมีหลุมดำยักษ์อยู่ รวมถึงดาราจักรทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่ด้วย ดาราจักรที่มีหลุมดำยักษ์อยู่มักเป็นชนิดก้นหอยซึ่งมีดุมกลางปูดโปน ยิ่งดุมดาราจักรใหญ่ขึ้นเท่าใด หลุมดำที่อยู่ข้างในก็ยิ่งหนักขึ้นเท่านั้น แม้นักดาราศาสตร์จะทราบความสัมพันธ์นี้มานานแล้ว แต่สิ่งที่ยังไม่ทราบก็คือ ...

วัตถุไคเปอร์คู่

(6 ธ.ค. 47) วัตถุบนท้องฟ้าไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์น้อย หรือดาราจักรที่มีอยู่มากมาย หากสำรวจให้ละเอียดลึกซึ้งแล้ว จะพบว่ามีจำนวนมากที่มิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว หากแต่อยู่เป็นคู่ บางครั้งอยู่กันเป็นกลุ่มสามสหาย สี่สหาย หรือบางครั้งก็เกาะกันเป็นกระจุก แต่ที่พบมากที่สุดก็คืออยู่เป็นคู่ เช่นดาวคู่ ดาวคู่เป็นดาวฤกษ์สองดวงที่อยู่คู่กันจริง ๆ ในอวกาศ ความจริงดาวแต่ละดวงที่เราเห็นบนท้องฟ้านั้นส่วนใหญ่เป็นดาวคู่ แต่เนื่องจากอยู่ไกลมากจึงมองเห็นเหมือน ...

กล้องสปิตเซอร์เผยผลงานชุดแรก

(30 พ.ย. 47) ในการประชุมทางวิทยาศาสตร์ของกล้องสปิตเซอร์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา องค์การนาซาได้เปิดเผยภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เป็นครั้งแรก กล้องสปิตเซอร์เป็นโทรทรรศน์อวกาศเช่นเดียวกับกล้องฮับเบิล แต่ทำงานในย่านความยาวคลื่นอินฟราเรดโดยเฉพาะ ...

ความคืบหน้าจากแคสซีนี

(18 พ.ย. 47) นับตั้งแต่ยานแคสซีนี-ไฮเกนส์ ยานสำรวจของนาซาและอีซาได้เดินทางไปถึงดาวเสาร์โดยเข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ยานได้ส่งภาพและข้อมูลอันมีค่ามากมายกลับมายังโลก เปิดเผยความเร้นลับของดาวเคราะห์ดวงนี้ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการแถลงข่าวการค้นพบของแคสซีนีอย่างเป็นทางการในที่ประชุมของสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันที่ลุยส์วีลล์ มลรัฐเคนทักกี ตัวอย่างของการค้นพบเด่น ๆ ได้แก่ ...

ดวงอาทิตย์ "ขาลง"

(21 ต.ค. 47) ใครที่เคยดูดวงอาทิตย์ผ่านแผ่นกรองแสงจะพบว่าดวงอาทิตย์ที่ดูเหมือนดาวเคราะห์สีขาวนั้น มิได้เกลี้ยงเกลาบริสุทธิ์เสียทีเดียว แต่พื้นผิวประปรายไปด้วยจุดสีดำน้อยใหญ่อยู่ทั่วไป จุดนั้นเรียกว่า จุดมืดดวงอาทิตย์ เป็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กเข้มข้นกว่าบริเวณอื่นมาก แม้จะดูมีสีคล้ำ แต่ยังมี ...

หลักฐานสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารรอบใหม่ มีลุ้น

(14 ต.ค. 47) เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การอวกาศยุโรปรายงานว่า ยานมาร์สเอกซ์เพรสขององค์การได้ตรวจพบหลักฐานบางอย่างที่ทำให้ความหวังที่จะพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารเริ่มสดใสขึ้นอีกเล็กน้อย สิ่งมีชีวิตที่หวังนี้ไม่ใช่มนุษย์ดาวอังคารหนวดยาวเป็นปลาหมึกแบบนิยายวิทยาศาสตร์สมัยเก่า แต่คาดว่าน่าจะเป็น ...

ความคืบหน้าจากเจเนซีส

(14 ต.ค. 47) หลังจากที่ยานเจเนซีส ยานสำรวจลมสุริยะขององค์การนาซา กลับมาถึงโลกแบบผิดความคาดหมายด้วยการโหม่งโลกเพราะร่มไม่กางเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมานั้น องค์การนาซาได้ตั้งห้องปฏิบัติการเฉพาะกิจเพื่อกู้ชิ้นส่วนของตัวดักจับอนุภาคของลมสุริยะ โดยหวังว่าจะมีตัวดักจับบางตัวยังไม่เสียหายพอจะศึกษาอะไรได้บ้าง เพื่อที่ ...

เรื่องเซดนา ยังไม่จบ

(28 ก.ย. 47) เมื่อปลายปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์ได้พบวัตถุขนาดใหญ่ดวงหนึ่งนอกวงโคจรพลูโต มีชื่อว่า 2003 VB12 และมีชื่อสามัญว่า เซดนา สร้างความตื่นเต้นจนเป็นข่าวพาดหัวว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบ และทิ้งคำถามสำคัญฝากนักดาราศาสตร์เอาไว้ว่า เซดนามาจากไหน เซดนามีวงโคจรรีมาก อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ตั้งแต่ 75-985 หน่วยดาราศาสตร์ มีขนาดใหญ่มาก และอยู่พ้นขอบเขตของดงวัตถุไคเปอร์ จึงไม่อาจจัดให้เซดนาเป็น ...

ฝุ่นจากดวงจันทร์ไอโอ

(23 ก.ย. 47) ดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดี เป็นวัตถุที่ร้อนแรงและอึกทึกที่สุดในระบบสุริยะรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวของดวงจันทร์ดวงนี้เต็มไปด้วยภูเขาไฟที่กำลังปะทุตลอดเวลา แต่ละลูกพ่นเถ้าภูเขาไฟขึ้นไปสูงกว่า 400 กิโลเมตร เถ้ากำมะถันที่ถูกพ่นขึ้นไปจะเยือกแข็งเบื้องบนแล้วค่อยตกลงสู่พื้นอย่างช้า ๆ เหมือนหิมะ ปกคลุมให้พื้นผิวส่วนใหญ่ของไอโอมี ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น