สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(19 เม.ย. 49) เมื่อปีที่แล้ว ได้มีการค้นพบหนึ่งที่น่าจะเป็นข่าวดาราศาสตร์โด่งดังที่สุดในรอบปี นั่นคือการค้นพบวัตถุไคเปอร์ยักษ์ดวงใหม่ชื่อ 2003 ยูบี 313 วัตถุดวงนี้มีขนาดใหญ่มากจนอาจจะนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบของระบบสุริยะก็ได้ เพราะขนาดที่ประเมินไว้เบื้องต้นคือ ใหญ่กว่าดาวพลูโตราวหนึ่งในสาม การสำรวจในย่านอินฟราเรดต่อมาโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์และ ...

ภาพแรกจากวีนัสเอกซ์เพรส

(15 เม.ย. 49) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 ยานวีนัสเอกซ์เพรส ยานสำรวจดาวศุกร์ขององค์กรอีซา (องค์การอวกาศยุโรป) ได้ประสบผลสำเร็จในจุดจรวดชะลอนาน 50 นาทีจนเหลือความเร็วเพียง 1 กิโลเมตรต่อวินาที เพื่อปรับทิศทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวศุกร์ ...

เอนเซลาดัสก็มีทะเลใต้พื้นผิว

(22 มี.ค. 49) บริวารดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่วงการดาราสาสตร์จับตามองมากที่สุดในขณะนี้ เห็นจะไม่มีดวงไหนเกิน ดวงจันทร์เอนเซลาดัส ของดาวเสาร์ เนื่องจากขณะนี้ยานแคสซีนีกำลังโคจรรอบและสำรวจดาวเสาร์กับบริวารอยู่รวมถึงเอนเซลาดัสด้วย และข้อมูลเบื้องต้นจากแคสซีนีก็พบสิ่งน่าสนใจบน ...

เรื่องขี้ผงพิศวงของสตาร์ดัสต์

(21 มี.ค. 49) เมื่อวันที่ 15 มกราคม ยานสตาร์ดัสต์ ยานสำรวจและเก็บตัวอย่างดาวหางได้เดินทางกลับมายังโลกพร้อมทั้งตัวอย่างฝุ่นอันล้ำค่าจากดาวหางวีลด์ 2 การศึกษาองค์ประกอบตัวอย่างฝุ่นนี้ จะช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้เข้าใจต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวหาง และรวมถึงระบบ ...

ดาวเดี่ยวมีมากกว่าดาวคู่

(23 ก.พ. 49) นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1700 นักดาราศาสตร์ได้ทราบว่าดวงดาวบนท้องฟ้านั้นมีดาวที่เป็นดาวคู่หรือระบบดาวหลายดวงมากกว่าดาวเดี่ยว แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอัตราส่วนที่แท้จริงจะเป็นเท่าใด แต่นักดาราศาสตร์หลายคนอาศัยข้อมูลจากการสำรวจที่พบว่าดาวฤกษ์ขนาดดวงอาทิตย์และที่ใหญ่ ...

ดาวเคราะห์น้อยจากแถบไคเปอร์

(23 ก.พ. 49) ระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์น้อยอยู่เป็นจำนวนมาก จัดเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามลักษณะและวงโคจร มีดาวเคราะห์น้อยกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดาวเคราะห์น้อยทรอย (Trojan's Asteroids) มีวงโคจรแปลกกว่ากลุ่มอื่น เพราะอยู่ในวงโคจรเดียวกับดาวพฤหัสบดี เกาะกลุ่มกันอยู่สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งนำหน้าดาวพฤหัสบดีเป็นมุม 60 องศา อีกกลุ่มหนึ่งตามหลังอยู่ 60 องศา ปัจจุบันพบดาวเคราะห์น้อยทรอยแล้วหลายพันดวง ลักษณะวงโคจรพิเศษเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกนักเพราะ ...

นิวเฮอไรซอนส์ออกเดินทาง

(23 ม.ค. 49) หลังจากที่ต้องเลื่อนกำหนดมาสองวัน ในที่สุด ยานนิวเฮอไรซอนส์ของนาซาได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศเมื่อเวลา 2 นาฬิกาของวันที่ 20 มกราคม 2549 ตามเวลาในประเทศไทยที่แหลมแคนาเวอรัล ฟลอริดา ด้วยพลังขับดันของจรวดแอตลาส 5 เป้าหมายของยานลำนี้คือดาวพลูโต ดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวของระบบสุริยะที่ยังไม่มียานลำใดเคยไปสำรวจมาก่อน รวมถึงคารอน บริวารของดาวพลูโต ...

สตาร์ดัสต์กลับถึงบ้าน

(20 ม.ค. 49) หลังจากการเดินทางเป็นระยะทาง 4.63 พันล้านกิโลเมตร เป็นเวลา 7 ปีในอวกาศ ในที่สุด ยานสตาร์ดัสต์ของนาซาก็กลับถึงบ้านแล้ว เมื่อเวลา 2:12 น. ตามเวลามาตรฐานแปซิฟิก หรือ 17:12 น. ตามเวลาในประเทศไทย ยานสตาร์ดัสต์ได้ปล่อยแคปซูลที่บรรจุตัวอย่างชิ้นส่วนดาวหางออก แคปซูลหนัก 45.36 กิโลกรัมได้พุ่ง ...

วงแหวนและบริวารใหม่ของดาวยูเรนัส

(9 ม.ค. 49) ระบบสุริยะของเรามีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกแล้ว กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของนาซาค้นพบวงแหวนใหม่ของดาวยูเรนัส วงแหวนใหม่นี้อยู่ห่างจากวงแหวนวงเดิมที่รู้จักมากถึงสองเท่า จนถือได้ว่าเป็นระบบวงแหวนระบบที่สอง และยังพบดวงจันทร์ใหม่อีกสองดวงที่โคจรอยู่ในวงแหวนวงใหม่นี้ด้วย นอกจากนี้ จากการวเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ของวัตถุในระบบยูเรนัสมีการเปลี่ยนแปลง ...

ฮะยะบุซะสัมผัสดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ

(9 ม.ค. 49) เมื่อระหว่างวันที่ 20 ถึง 25 พฤศจิกายน ยานฮะยะบุซะ ยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยของญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการลงสัมผัสบนดาวเคราะห์น้อย 25143 อิโตะกะวะ แต่กำหนดเวลากลับโลกต้องเลื่อนออกไป ฮะยะบุซะ แปลว่า เหยี่ยว ออกเดินทางจากโลกไปตั้งแต่สองปีก่อนด้วยพลังขับดันของจรวดไอออน ตามกำหนดเดิมยานจะไปถึง ...

สปิตเซอร์พบระบบสุริยะใหม่

(6 ม.ค. 49) แถบดาวเคราะห์น้อยใช่ว่าจะมีแค่ในระบบสุริยะของเราเท่านั้น นักดาราศาสตร์เพิ่งพบดาวดวงหนึ่งที่มีสิ่งคล้ายแถบดาวเคราะห์น้อยล้อมรอบอยู่ด้วยเหมือนกัน ดาวดวงนี้มีชื่อว่า เอชดี 12039 อยู่ห่างจากโลก 137 ปีแสง ค้นพบโดยไมเคิล อาร์. เมเยอร์ ผู้อำนวยการโครงการสปิตเซอร์เลเกซี ซึ่งเป็นโครงการศึกษาการกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะอื่น โดยการสุ่มสำรวจดาวประเภทดวงอาทิตย์ที่อายุน้อยใน ...

พายุบนดวงจันทร์

(26 ธ.ค. 48) คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ดวงจันทร์เป็นวัตถุที่มีการสำรวจมากที่สุด เพราะเป็นบริวารเพียงหนึ่งเดียวของโลก และเป็นวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ใกล้โลกที่สุด เราจึงดูดวงจันทร์มาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคอวกาศ เรารู้จักสภาพทั่วไปดวงจันทร์ได้ดีขึ้นกว่าเก่า นักวิทยาศาสตร์พบว่า บนดวงจันทร์นั้น เงียบสงัด แล้งสนิท ร้อนจัด หนาวจัด ไม่มีชีวิต ไม่มีอากาศ และมี ...

ฮับเบิลวัดมวลของซิริอัสบี

(23 ธ.ค. 48) ไม่มีใครที่ไม่รู้จักดาวซิริอัส หรือดาวโจร ดาวซิริอัสเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ารองจากดวงอาทิตย์ อยู่ในกลุ่มดาวหมาใหญ่ และเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมฤดูหนาว นับเป็นบริเวณที่มีคนเฝ้ามองมากที่สุดบริเวณหนึ่งบนท้องฟ้า แต่อาจมีเพียงไม่กี่คนที่ทราบหรือจำได้ว่า ...

ดาวลมกรด

(21 ธ.ค. 48) นักดาราศาสตร์จากเยอรมนีได้พบดาวฤกษ์ประหลาดดวงหนึ่งที่มีความเร็วสูงมากจนเชื่อว่าอาจมีต้นกำเนิดต่างจากดาวทั่วไปในทางช้างเผือก ดาวดวงนี้ชื่อว่า เอชอี 0457-5439 อยู่ในบริเวณกลดของดาราจักรทางช้างเผือก ค้นพบโดย ดร. เรไมส์ สเตอร์นวาร์เทอ จากมหาวิทยาลัยแอร์ลันเกิน-เนือร์นแบร์ก เยอรมนี ด้วยกล้องโทรทรรศน์วีแอลทีของหอดูดาวซีกใต้ยุโรปขนาด 8.2 เมตรขณะที่กำลัง ...

ภูเขาไฟน้ำแข็งในเอนซีลาดัส

(14 ธ.ค. 48) เมื่อเดือนกรกฎาคม ยานแคสซีนีของนาซาได้สำรวจดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์ และพบรอยริ้วประหลาดหลายริ้วบริเวณซีกใต้ของดวงจันทร์ดวงนี้ ริ้วเหล่านี้ซึ่งนักดาราศาสตร์เรียกว่า "ลายพาดกลอน" คาดว่าเป็นรอยแตกที่เป็นปากทางที่พ่นสิ่งต่าง ๆ จากภายในดวงจันทร์ออกมา เหมือนเป็น ...

ดาวแคระน้ำตาลนักสร้างดาวเคราะห์

(21 พ.ย. 48) ดาวแคระน้ำตาล เป็นวัตถุคล้ายดาวฤกษ์ชนิดหนึ่ง เปล่งแสงสว่างและแผ่ความร้อนได้แบบดาวฤกษ์ แต่กระบวนการกำเนิดพลังงานของดาวแคระน้ำตาลไม่ได้เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นในดาวฤกษ์ เนื่องจากมีมวลและอุณหภูมิที่ใจกลางต่ำเกินไปเกินกว่าจะจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ จึงไม่อาจเป็น ...

ทะลวงไส้แอนดรอเมดา

(20 พ.ย. 48) ดาราจักรที่อยู่ใกล้กันหรือที่อยู่กันเป็นระบบที่มีดาราจักรบริวาร มักมีอันตรกิริยาต่อกัน เช่นดาราจักรทางช้างเผือกกับดาราจักรเมฆแมเจนเลนเล็กและเมฆแมเจนเลนก็มีอันตรกิริยาต่อกันจนมีผลต่อรูปร่างและโครงสร้างของแต่ละฝ่าย ส่วนดาราจักรแอนดรอเมดาและดาราจักรบริวารเอ็ม 32 นั้น นักดาราศาสตร์เชื่อว่าน่าจะเป็นระบบที่ ...

ระยะทางของแอนดรอเมดา

(15 พ.ย. 48) ดาราจักรแอนดรอเมดา เป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดและสว่างที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น นักดาราศาสตร์ใช้ประโยชน์จากดาราจักรนี้ในการศึกษาเอกภพในหลายด้าน ด้านหนึ่งคือใช้ในการเทียบมาตรฐานของวิธีการวัดระยะทางของดาราจักร ดังนั้นการทราบระยะทางของดาราจักรนี้ช่วยการวัดระยะทางของดาราจักรอื่นให้แม่นยำขึ้นด้วย ในอดีต นักดาราศาสตร์วัด ...

บริวารใหม่ของดาวพลูโต

(15 พ.ย. 48) ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในระบบสุริยะ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2473 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4.8 พันล้านกิโลเมตร ในบริเวณใจกลางของแถบไคเปอร์ ซึ่งเป็นดงของวัตถุเนื้อน้ำแข็งปนหินที่อยู่พ้นวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในปี พ.ศ. 2521 นักดาราศาสตร์ค้นพบบริวารของดาวพลูโตหนึ่งดวง ชื่อ. ...

ยังไม่พบมาร์สโพลาร์แลนเดอร์

(15 พ.ย. 48) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2542 ยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ ยานสำรวจดาวอังคารของนาซาเดินทางไปถึงดาวอังคารและเข้าสู่บรรยากาศเพื่อลงจอด แต่ก่อนที่ยานจะสัมผัสพื้นดาวอังคาร การสื่อสารก็ขาดหายไป แล้วยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ก็หายสาบสูญไปตลอดกาล หลังจากนั้น ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น