สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(4 พ.ค. 47) เมื่อปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์พบดาราจักรใหม่ 6 ดาราจักรในกระจุกดาราจักรเตาหลอม ดาราจักรทั้งหกนี้มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีขนาดเล็กมาก จึงได้รับการจัดประเภทเป็นชนิดใหม่ เรียกกันว่าดาราจักรแคระแน่นยวดยิ่ง หรือยูซีดี (UCD--Ultra-Compact Dwarf) ...

พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ด้วยแว่นขยาย

(26 เม.ย. 47) เครื่องมือของนักดาราศาสตร์ไม่ได้มีแค่กล้องโทรทรรศน์หรือกล้องดูดาวเท่านั้น บางครั้งก็มีแว่นขยายด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้นักดาราศาสตร์ใช้แว่นขยายค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะของเราอยู่ไกลออกไปนับหมื่นปีแสง การค้นพบครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างนักสำรวจสองคณะคือ คณะสำรวจไมโครเลนซิงทางดาราศาสตร์ (Moa-Microlensing Observations in Astrophysics) และคณะสำรวจเลนส์ความโน้มถ่วงเชิงแสง (Ogle-Optical Gravitational Lensing Experiment) ร่วมกับ ...

ความลับของสตราดีวารี

(25 เม.ย. 47) สตราดีวารี เป็นชื่อที่นักดนตรีรู้จักกันดีว่าเป็นชื่อยี่ห้อไวโอลินที่ดีที่สุดในโลก เริ่มสร้างโดยอันโตนีโอ สตราดีวารี ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 1644-1737 แม้จะผ่านมาเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่เคล็ดลับในการสร้างเครื่องดนตรีที่ให้เสียงสุดยอดของสตราดีวารียังเป็นปริศนาจนถึงปัจจุบัน มีทฤษฎีเกิดขึ้นหลายทฤษฎีเพื่อพยายามไขความลับนี้ บ้างก็แสนพิลึกกึกกือ ...

บริวารของเซดนา

(21 เม.ย. 47) ข่าวการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่ดังที่สุดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเห็นจะไม่มีข่าวใดเกินข่าวการค้นพบดาวเซดนา ความน่าสนใจของเซดนาอยู่ที่ความแปลกหลายอย่างตั้งแต่ขนาด สี และวงโคจร นอกจากนี้ในวันที่ประกาศการค้นพบบริวารดวงอาทิตย์ดวงใหม่นี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ไมค์ บราวน์จากสถาบันเทคโนโลยี ...

พบมีเทนบนดาวอังคาร

(7 เม.ย. 47) ได้เวลามาถกเถียงเรื่องสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารอีกครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อนักดาราศาสตร์พบมีเทน (CH4) บนบรรยากาศอันเบาบางของดาวอังคารเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์คณะหนึ่งนำโดย ไมเคิล เจ. มัมมา จากนาซา/ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด ได้ใช้กล้องไอทีเอฟของนาซาที่ตั้งอยู่ในฮาวายร่วมกับกล้องโทรทรรศน์เจมิไนใต้ในชิลีที่มีขนา 8.1 เมตรและพบสเปกตรัมของมีเทนในบรรยากาศดาวอังคารเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ...

ดาราจักรที่อยู่ไกลที่สุด

(30 มี.ค. 47) บางครั้งดาราศาสตร์ก็ดูเหมือนการแข่งกรีฑา ที่มีข่าวการสร้างสถิติใหม่ออกมาอยู่เนือง ๆ เช่น ใหญ่ที่สุด ใกล้ที่สุด หนักที่สุด คราวนี้เป็นเรื่องของดาราจักรที่อยู่ไกลที่สุด เมื่อปี 2538 และ 2543 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ถ่ายภาพกระจุกดาราจักรเอเบลล์ 2218 ในกลุ่มดาวมังกร ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 13 พันล้านปีแสง พบดาราจักรจำนวนมาก นอกจากดาราจักรแล้วยังมีเส้นโค้งหลายเส้นกระจัดกระจายอยู่ภายในกระจุก เส้นโค้ง ...

ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลกอีกแล้ว

(29 มี.ค. 47) เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งเฉียดโลกไป เป็นดาวเคราะห์น้อยที่เฉียดโลกใกล้ที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า 2004 FH ค้นพบโดยโครงการวิจัยดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหรือลีเนียร์ (LINEAR--Lincorn Near-Earth Asteroid Research) ของเอ็มไอทีเมื่อวันที่ 16 มีนาคม โดยใช้กล้องค้นหาอัตโนมัติในนิวเม็กซิโก หลังจาก ...

บริวารดวงอาทิตย์ดวงใหม่

(26 มี.ค. 47) นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่ง นำโดย ดร. ไมค์ บราวน์ จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ร่วมกับ ดร.ชาด ทรูจิลโล จากหอดูดาวเจมิไนในฮาวาย และเดวิด ราบิโนวิตซ์ จากมหาวิทยาลัยเยล พบวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ดวงใหม่ดวงหนึ่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2546 ด้วยกล้อง ...

เป้าหมายดาวเคราะห์น้อยของโรเซตตา

(14 มี.ค. 47) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม คณะทำงานของยานโรเซตตาได้ตัดสินใจเลือกเป้าหมายการสำรวจของยานเป็นที่แน่นอนแล้ว โรเซตตาเป็นยานสำรวจดาวหางขององค์การอวกาศยุโรปหรืออีซา เป้าหมายหลักที่กำหนดไว้คือ ดาวหางชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโค ยานนี้ได้รับการออกแบบมาให้สำรวจดาวเคราะห์น้อยบางดวงระหว่างการเดินทางได้ด้วย แต่การเลือกเป้าหมายของแถมนี้จะกระทำได้หลังจากที่ยานได้ขึ้น ...

แก๊สเรือนกระจกส่งผลกระทบต่อดาวเทียม

(3 มี.ค. 47) นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการวิจัยนาวีสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่าบรรยากาศโลกชั้นบนสุดของโลกกำลังเย็นลงและหดลง อันเป็นผลมาจากระดับของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทั้งดีและเสียต่อดาวเทียมและการบินอวกาศ รายงานฉบับนี้กล่าวว่า ความหนาแน่นเฉลี่ยของบรรยากาศโลกชั้นบนสุดเหนือพื้นโลก 90 กิโลเมตรขึ้นไปที่เรียกว่า เทอร์มอส ...

ยานอวกาศพลังงานนิวเคลียร์

(27 ก.พ. 47) พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของยานอวกาศสำรวจระบบสุริยะ และการหาแหล่งพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ของภารกิจสำรวจระบบสุริยะชั้นนอก โดยเฉพาะดาวเคราะห์วงนอก เนื่องจากที่ระยะห่างมาก ๆ แสงอาทิตย์จะอ่อนลงไปมาก ทำให้การใช้แผงเซลล์สุริยะไม่ได้ผล ยานอวกาศในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาใช้พลังงานจากเครื่องอาร์ทีจี หรือเครื่องกำหนดไฟฟ้าพลังความร้อนจากไอโซโทป ...

ดาวเคราะห์แม่เหล็กในระบบสุริยะอื่น

(26 ก.พ. 47) การศึกษาระบบสุริยะอื่นนอกเหนือจากระบบสุริยะของเราได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว ล่าสุดนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียและสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา สามารถตรวจพบสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นได้เป็นครั้งแรก การค้นพบนี้เกิดจากการใช้กล้องโทรทรรศน์แคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย ขนาด 3.6 เมตรใน ...

ดาวที่สว่างที่สุดและหนักที่สุด

(21 ก.พ. 47) นักดาราศาสตร์ได้พบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อาจเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ก่อนหน้านี้ดาวที่ครองแชมป์สว่างที่สุดคือ ดาวปืนพก (Pistol Star) มีความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ 5-6 ล้านเท่า แต่แชมเปี้ยนใหม่นี้มีความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 40 ล้านเท่า และใหญ่กว่าถึง 150 เท่า ดาวดวงนี้ชื่อว่า แอลบีวี 1806-20 ห่างจากโลก 45,000 ปีแสง อยู่อีกฟากหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก และ ...

ไขปัญหาซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอ

(14 ก.พ. 47) ซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอ เป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีประโยชน์ต่อวงการดาราศาสตร์อย่างมาก นักดาราศาสตร์ได้ใช้ซูเปอร์โนวาชนิดนี้เป็นดวงไฟมาตรฐานในการหาระยะทางของดาราจักรที่อยู่ห่างไกลหลายพันล้านปีแสง ทำให้ทราบอัตราขยายและการเปลี่ยนแปลงอัตราขยายของเอกภพ เมื่อ 6 ปีก่อน ซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอนี้ก็มีบทบาทสำคัญในการค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายด้วยอัตราเร่ง ไม่ใช่อัตรา ...

หนูอังคาร

(11 ก.พ. 47) ความโน้มถ่วงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ การใช้ชีวิตภายใต้ภาวะไร้น้ำหนักจะทำให้ร่างกายมีอาการผิดปรกติหลายอย่าง เช่น กล้ามเนื้อลีบ กระดูกพรุน และเสียความสามารถในการทรงตัว ซึ่งนักบินอวกาศหลายคนได้เคยประสบมาแล้ว จากความก้าวหน้าของการบินอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ว่าร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมโดยเฉพาะมนุษย์มีการตอบสนองอย่างไรกับภาวะไร้น้ำ ...

สนามแม่เหล็กโลกใกล้วิปริต?

(7 ก.พ. 47) เป็นที่ทราบกันมาเป็นเวลานานว่า ขั้วเหนือของแกนหมุนของโลกกับขั้วเหนือของสนามแม่เหล็กโลกไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน ขั้วเหนือของแกนหมุนอยู่ที่ละติจูด 90 องศา บนแผ่นน้ำแข็งของมหาสมุทรอาร์กติก ส่วนขั้วเหนือแม่เหล็กโลกอยู่ในเขตของประเทศแคนาดา เจมส์ รอสส์ สำรวจตำแหน่งของขั้วเหนือแม่เหล็กโลกเป็นครั้งแรกในปี 1831 ในการสำรวจครั้งต่อมาในปี 1904 โดย โรอาลด์ อามุนด์เซน พบว่า ...

ดาราจักรชนกันอาจช่วยสร้างดาวเคราะห์

(30 ม.ค. 47) หอดูดาวรังสีเอกซ์จันทราของนาซาได้พบธาตุนีออน แมกนีเซียม และซิลิกอนจำนวนมากในดาราจักรหนวดแมลง เชื่อว่าในอนาคตเมื่อแหล่งธาตุหนักนี้เย็นลง จะกลายเป็นวัตถุดิบสำหรับสร้างดาวเคราะห์ต่อไป จูเซปปีนา ฟับบีอาโน จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียนรายงานต่อที่ประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า การที่ดาราจักรหนวดแมลงมีธาตุหนักจำนวนมากจะต้องเกิดจากซูเปอร์โนวาจำนวนมาก ...

ภาพนิวเคลียสดาวหางจากยานสตาร์ดัสต์

(29 ม.ค. 47) เมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมา ยานสตาร์ดัสต์ขององค์การนาซาได้เข้าพุ่งฝ่าเข้าไปในส่วนหัวของดาวหางวีลด์ 2 ตามภารกิจเก็บฝุ่นจากหัวดาวหางเพื่อนำกลับมายังโลกเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ ระหว่างการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ ตัวยานสตาร์ดัสต์ถูกชนโดยฝุ่นจากดาวหางไม่ต่ำกว่า 6 ครั้ง แต่ละครั้งมีความเร็วยิ่งกว่าลูกกระสุนปืน ดังนั้นยานจึงต้องมีจรวดถึง 16 อันคอย ...

ปีใหม่นี้ไม่มีของแถม

(25 ม.ค. 47) ในช่วงวินาทีรอยต่อของปีช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ผู้คนกำลังตื่นเต้นสนุกสนานอยู่กับงานเลี้ยงฉลองและนับถอยหลังขึ้นปีใหม่ มองดูนาฬิกาบอกเวลาเข้าสู่ปีใหม่วินาทีต่อวินาที 57.. 58.. 59.. 00 ปี 2547 เริ่มต้นขึ้นนับแต่บัดนั้น ลำดับของเวลาที่แสดงนี้ดูเหมือนปรกติ แต่สำหรับนักดาราศาสตร์ นี่คือความไม่ปรกติ และเป็นความไม่ปรกติที่เกิดต่อเนื่องกันมาหลายปีแล้ว ...

เลนส์ความโน้มถ่วงที่แรงที่สุด

(25 ม.ค. 47) คณะนักดาราศาสตร์นำโดย นะโอะอิชะ อินะดะ และ มะซะมุเนะ โอะงุริ จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้สำรวจท้องฟ้าจากฐานข้อมูลท้องฟ้าดิจิทัลสโลนหรือเอสดีเอสเอส ซึ่งมีข้อมูลเควซาร์ถึงกว่า 30,000 ดวง ได้พบ SDSS J1004+4112 ในกลุ่มดาวสิงโตเล็ก จากการใช้กล้องซุบะรุที่ยอดเขามานาเคอาในฮาวาย พบว่าภาพของเควซาร์นี้แยกออกเป็นสี่ภาพห่างกันถึง 14.62 พิลิปดา เป็นตัวเลขที่ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น