(30 ธ.ค. 46) โลกมีสนามแม่เเหล็กห่อหุ้มทั่วทั้งดวงหนาเหนือพื้นผิวขึ้นไปหลายหมื่นกิโลเมตร สนามแม่เหล็กโลกมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งหมดบนโลก เพราะทำหน้าที่เหมือนเกราะคุ้มกันอันตรายจากพายุสุริยะที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ แต่ไม่นานมานี้นักดาราศาสตร์พบช่องโหว่ของสนามแม่เหล็ก เปิดทางให้อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์พัดลอดเข้ามาได้
...
(30 ธ.ค. 46) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม นาซาได้ปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเซอร์ทิฟ (SIRTF--Space Infrared Telescope Facility) ขึ้นสู่อวกาศ กล้องนี้นับเป็นหนึ่งในสี่ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศชั้นนำของโลก ซึ่งรู้จักกันในนามของ หอดูดาวเอก (Great Observatory) อีกสามกล้องที่เหลือคือ
...
(27 ธ.ค. 46) เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่นักดาราศาสตร์ค้นพบแถบไคเปอร์ แถบไคเปอร์เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ อยู่บริเวณขอบนอกเลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ประกอบด้วยวัตถุจำพวกดาวเคราะห์น้อยที่มีน้ำแข็งมากคล้ายหัวดาวหาง ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้พบวัตถุแถบไคเปอร์มาแล้วกว่า 700 ดวง และพบว่าขอบเขตของแถบไคเปอร์ด้านนอกอยู่ที่ประมาณ
...
(27 ธ.ค. 46) เมื่อ 6 เดือนก่อน นาซาได้เสนอแผนที่จะปลดระวางกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในปี 2553 โดยไม่คำนึงว่ากล้องจะยังคงทำงานได้อยู่หรือไม่ก็ตาม เพื่อเปิดโอกาสให้กล้องรุ่นใหม่ คือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ซึ่งได้รับการวางตัวให้เป็นทายาทของฮับเบิลมาทำงานแทนในปี 2554 ด้วยแผนนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 200 ล้านดอลลาร์ต่อปี
...
(27 ธ.ค. 46) บนพื้นผิวดาวอังคาร มีภูมิลักษณ์แตกต่างกันหลายแบบ เช่น หุบผาชัน ภูเขาไฟ และร่องธารหลากหลายรูปแบบ ภูมิลักษณ์ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ริ้วคลื่น ซึ่งพบได้ทั่วไปบนดาวอังคาร โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ราบต่ำและบริเวณก้นหลุมอุกกาบาต เมื่อไม่นานมานี้ เคลวิน วิลเลียมส์ จากพิพิธภัณฑ์อากาศอวกาศแห่งชาติสมิทโซเนียนได้สังเกตภาพของริ้ว
...
(2 ธ.ค. 46) นักดาราศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรปได้พบเห็นแสงที่แผ่ออกมาจากวัตถุในช่วงสุดท้ายก่อนถูกดูดเข้าไปในหลุมดำยักษ์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ขณะที่นักสำรวจจากคณะสำรวจแกนดาราจักรทางช้างเผือกจากนานาชาติที่หอดูดาวพารานัลในชิลีสำรวจหลุมดำที่ใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก ได้ตรวจพบการลุกจ้าที่ส่องสว่างในย่านรังสีอินฟราเรดจาก
...
(1 ธ.ค. 46) ยานวอยเอเจอร์ 1 ของนาซา กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้ง ตามรายงานจากคณะนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์กล่าวว่า ขณะนี้มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่ายานได้เดินทางไปถึงขอบเขตของลมสุริยะแล้ว นั่นหมายถึงยานกำลังจะเข้าสู่อาณาเขตของอวกาศระหว่างดาวอย่างแท้จริง สิ่งบอกเหตุว่ายานได้พ้นเขตระบบสุริยะคือความเร็วของลมสุริยะรอบยานได้ลดลงอย่าง
...
(30 พ.ย. 46) นักดาราศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรปได้พบแหล่งกำเนิดดาวแห่งหนึ่ง เป็นแหล่งกำเนิดดาวดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา การค้นพบนี้เกิดขึ้นขณะที่นักดาราศาสตร์กำลังศึกษากระจุกดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไป 5,400 ล้านปีแสงกระจุกหนึ่งในกลุ่มดาวแมวป่า ขณะนั้นได้พบแสงประหลาดสีแดงอยู่เบื้องหลัง เมื่อพยายามเทียบสเปกตรัมของแสงนี้กับวัตถุชนิดอื่นแต่ไม่พบว่าใกล้เคียงกับ
...
(29 พ.ย. 46) คณะนักดาราศาสตร์จากนานาชาติคณะหนึ่งที่ประกอบด้วยนักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ และออสเตรเลีย ได้ค้นพบดาราจักรใหม่ดาราจักรหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดาราจักรใหม่นี้ไม่ได้อยู่ไกลโพ้นจนเพิ่งมาพบด้วยกล้องรุ่นใหม่กำลังสูง แต่เป็นดาราจักรข้าง ๆ บ้านเรานี้เอง
...
(25 ต.ค. 46) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2546 ได้มีดาวเคราะห์น้อยขนาดจิ๋วดวงหนึ่งเฉียดผ่านโลกไปในระยะเผาขนที่ระยะห่างออกไปเพียง 78,000 กิโลเมตร หรือเพียงหนึ่งในห้าของรัศมีวงโคจรดวงจันทร์เท่านั้น แต่กว่าที่ชาวโลกจะรู้ตัวเวลาก็ล่วงเลยไปแล้วหนึ่งวันรอเบิร์ต เอ. แคช จาก โครงการค้นหาวัตถุใกล้โลกหอดูดาวโลเวลล์หรือ โลเนียส (LONEOS--Lowell Observatory Near-Earth Object Search) ค้น
...
(25 ต.ค. 46) เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาราจักรเพื่อนบ้านใหม่ที่ถูกลืมมาเป็นเวลานาน เป็นดาราจักรที่อยู่ใกล้ดาราจักรทางช้างเผือกมากที่สุด ใกล้กว่าดาราจักรเมฆมาเจลันใหญ่หลายเท่า ดาราจักรนี้มีชื่อว่า ดาราจักรแคระคนยิงธนู ด้วยเหตุที่ดาราจักรนี้อยู่ด้านหลังใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก จึงถูกฝุ่นแก๊สที่หนาทึบบดบังไป จึง
...
(22 ต.ค. 46) เมื่อปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์เยอรมันคณะหนึ่งได้ค้นพบดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งรอบดาวเอปไซลอนอินเดียนแดง (Epsilon Indri) มีชื่อว่า ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงบี และได้ตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อทราบว่าดาวดวงนั้นเป็นดาวแคระน้ำตาลที่อยู่ใกล้โลกที่สุดเท่าที่เคยพบมา แต่ในขณะนั้นเขายังไม่ทราบว่า แท้จริงดาวแคระน้ำตาลดวงนี้มีความลับที่น่าตื่นเต้นมากกว่านั้นอีก
...
(22 ต.ค. 46) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2541 ได้เกิดคลื่นพลังงานรุนแรงในอวกาศพัดผ่านโลกไป ดาวเทียมที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลกตรวจพบระดับของรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาสูงมาก นักเล่นวิทยุสมัครเล่นถึงกับติดต่อสื่อสารกันไม่ได้ ปรากฏการณ์ในครั้งนั้นอาจถือว่าเป็นเรื่องปรกติ เพราะแทบทุกครั้งที่เกิดพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์มายังโลกก็จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่สำหรับครั้งนั้นต้องถือว่าไม่ปรกติ เพราะคลื่นพลังงานครั้งนั้นไม่
...
(27 ก.ย. 46) ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศที่ร่อนลงดาวเคราะห์ได้มาหลายสิบปีแล้ว ยานที่ร่อนลงบนดาวเคราะห์น้อยก็ทำได้แล้ว แต่การควบคุมให้ยานอวกาศร่อนลงจอดบนดาวหางนั้นยังไม่เคยมี แต่
...
(13 ก.ย. 46) ระหว่างวันที่ 13 ถึง 26 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากทั่วโลกได้รวมกันที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ในการประชุมสามัญของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ซึ่งจัดขึ้นทุก 3 ปี สาระการประชุมครอบคลุมทุกด้านในดาราศาสตร์ ประเด็นหนึ่งที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือเรื่องที่เกี่ยวกับสสารมืด ซึ่งเป็นสิ่งลึกลับที่คาดว่า
...
(13 ก.ย. 46) เมื่อหลายปีก่อน ยานสำรวจดาวอังคารของนาซาชื่อมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ได้เกิดอุบัติเหตุสูญหายไปขณะเดินทางไปดาวอังคาร บัดนี้ทายาทของมาร์สโพลาร์แลนเดอร์กำลังจะคืนชีพกลับมา ในชื่อของ ฟีนิกซ์ ยานฟีนิกซ์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแอริโซนา เป็นยานสำรวจดาวอังคารในโครงการมาร์สสเกาต์ ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศออกมาแล้วว่ายานฟีนิกซ์
...
(13 ก.ย. 46) เมือต้นเดือนมีนาคม ขณะที่นักดาราศาสตร์กำลังสำรวจวัตถุประเภทวัตถุนอกวงโคจรดาวเนปจูน (TNO--Trans-Neptunian Object) ด้วยกล้องโทรทรรศน์ยักษ์สามกล้องของเครือข่ายวีแอลที (VLT--Very Large Telescope) คณะได้สามารถถ่ายติดภาพของดาวหางฮัลเลย์ได้ ขณะนั้น ดาวหางฮัลเลย์อยู่ห่างเกือบเท่ากับดาวเนปจูน หรือประมาณ 4,000 ล้านกิโลเมตรจากโลก มีอันดับความ
...
(28 ส.ค. 46) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา กล้องเควสต์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัวใหม่ของนาซา ได้พบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ที่มีขนาดถึง 250 เมตรและโคจรใกล้กับวงโคจรโลก หลังจากการค้นพบครั้งแรกไม่นาน การสำรวจเพิ่มเติมโดยหอดูดาวอีกสามแห่งและโดยศูนย์ดาวเคราะห์น้อยก็ยืนยันการค้นพบนี้ และตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยนี้ว่า 2003 NL7 แม้ว่า 2003 NL7 จะจัดอยู่ในจำพวกดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก แต่แน่ใจได้ว่า
...
(28 ส.ค. 46) ที่ประชุมดาวอังคารนานาชาติครั้งที่หกในพาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา วิลเลียม เฟลด์แมน จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสลามอส หัวหน้านักสำรวจประจำสเปกโทรมิเตอร์นิวตรอนของยานมาร์สโอดิสซี ได้แสดงแผนที่ที่แสดงแหล่งน้ำบนดาวอังคารใหม่ที่ได้จากยานมาร์สโอดิสซีย์และแผนที่แสดงความสูงที่ได้จากมาตรวัดสูงของยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ เมื่อเปรียบเทียบ
...
(28 ส.ค. 46) การค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นในช่วงที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์มักพุ่งเป้าไปยังดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ โดยเชื่อว่าดาวประเภทดวงอาทิตย์เป็นดาวที่น่าจะมีดาวเคราะห์มากกว่าชนิดอื่น ๆ แต่ต่อจากนี้นักดาราศาสตร์อาจต้องเปลี่ยนเป้าหมายเสียใหม่ นักล่าดาวเคราะห์ชื่อ เดบรา ฟิสเชอร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกับ เจฟฟ์ วาเลนตี จากสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศได้วัดสเปกตรัมเพื่อ
...